สถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินฯ ราชภัฏโคราช ร่วมประชุมพัฒนาอุทยานกลุ่มประเทศลุ่มน้ำโขงและผลักดันโคราชจีโอพาร์ค ให้เป็นที่ยอมรับระดับยูเนสโก

11 Aug 2015
เมื่อวันที่ 22-24 กรกฎาคม 2558 สถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินและทรัพยากรธรณีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประเทือง จินตสกุล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินฯ พร้อมด้วยบุคลากร ได้เดินทางเข้าร่วมประชุมสัมมนา เพื่อการพัฒนาอุทธยานธรณีในภูมิภาคเอเซียตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ ครั้งที่ 2ณ โรงแรมสีมาธานี อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา โดยมี นายสุพจน์ เจิมสวัสดิพงศ์ อธิบดีกรมทัรพยากรธรณี เป็นประธานเปิดการประชุม
สถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินฯ ราชภัฏโคราช ร่วมประชุมพัฒนาอุทยานกลุ่มประเทศลุ่มน้ำโขงและผลักดันโคราชจีโอพาร์ค ให้เป็นที่ยอมรับระดับยูเนสโก

กิจกรรมการประชุมประกอบด้วย การสัมมนาและแบ่งกลุ่มระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับที่มา หลักเกณฑ์ วิธีดำเนินการ ปัญหา และข้อเสนอแนะในการจัดตั้งอุทยานธรณีระดับโลก ซึ่งปัจจุบัน มีการจัดตั้งจำนวน 111 แห่ง ใน 32 ประเทศทั่วโลก โดยกลุ่มประเทศในลุ่มน้ำโขงมีแห่งเดียว คือ อุทยานธรณีที่ราบสูงคาสต์ดองวาน ประเทศเวียดนาม โดยมีวิทยากรหลักจาก สำนักงานเลขาธิการองค์การยูเนสโก ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส หัวหน้าโครงการพิเศษ ประจำองค์การยูเนสโก สำนักงานกรุงเทพ ผู้จัดการอุทยานธรณีมาร์เบิลอาร์ชเคฟ ณ ไอแลนด์เหนือ และวิทยากรภาคสนามจาก โครงการจัดตั้งอุทยานธรณีโคราช

สำหรับการจัดประชุมสัมมนาครั้งนี้ ได้มีผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 55 คน จาก 10 ประเทศทั่วโลก ประกอบด้วย ประเทศไทย พม่า ลาว เวียดนาม พม่า ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ กัมพูชา ไอเลนด์เหนือ และฝรั่งเศส จัดโดย คณะกรรมการความร่วมมือโปรแกรมจีโอซายน์แห่งอาเชียตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ หรือ CCOP ร่วมกับ ยูเนสโก และกรมทรัพยากรธรณี มีวัตถุประสงค์เพื่อปรึกษาหารือเกี่ยวกับการพัฒนาอุทยานธรณีในกลุ่มประเทศลุ่มน้ำโขง ในการจัดตั้งเป็นอุทยานธรณีระดับโลก

นอกจากนี้ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินฯ ได้นำเสนอให้กำหนดพื้นที่อุทยานธรณีโคราชที่เหมาะสม ควรมีพื้นที่ไม่น้อยกว่า 11 อำเภอ ตามที่ได้มีการประชุมคณะทำงานอุทยานธรณีจังหวัดนครราชสีมา เมื่อเดือนมิถุนายน 2558 ที่ผ่านมา แต่เมื่อผู้เชี่ยวชาญจากองค์การยูเนสโก ซึ่งเป็นผู้รับ และพิจารณาเบื้องต้นเกี่ยวกับเอกสารที่ขอสมัครจัดตั้งอุทยานธรณี ให้คำแนะนำ การจัดตั้งพื้นที่อุทยานธรณีโคราช ในระยะที่ 1 ควรครอบคลุมพื้นที่ 5 อำเภอ จาก 11 อำเภอ ที่กำหนดไว้ในครั้งแรก ได้แก่ อำเภอเมืองนครราชสีมา สูงเนิน ขามทะเลสอ สีคิ้ว และอำเภอเฉลิมพระเกียรติ เพื่อให้เห็นผลสำเร็จในการบริหารจัดการอุทยานธรณี ก่อนที่จะมีการขยายพื้นที่ในระยะต่อไป ส่วนการสมัครขึ้นอยู่กับความพร้อม ซึ่งอาจเป็นภายในปีนี้หรือปีต่อไป และด้วยเหตุผลนี้ จึงยอมรับ และนำข้อเสนอแนะจากผู้เชี่ยวชาญเข้าสู่ที่ประชุม ในการดำเนินงานของคณะทำงานอุทยานธรณีจังหวัดนครราชสีมา ในเดือนสิงหาคม 2558 ต่อไป

สถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินฯ ราชภัฏโคราช ร่วมประชุมพัฒนาอุทยานกลุ่มประเทศลุ่มน้ำโขงและผลักดันโคราชจีโอพาร์ค ให้เป็นที่ยอมรับระดับยูเนสโก สถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินฯ ราชภัฏโคราช ร่วมประชุมพัฒนาอุทยานกลุ่มประเทศลุ่มน้ำโขงและผลักดันโคราชจีโอพาร์ค ให้เป็นที่ยอมรับระดับยูเนสโก