รศ.ดร.เชษฐ รัชดาพรรณาธิกุล ประธานชมรมนักวิจัยไทยเพื่อความสุขชุมชน (Thai Researchers in Community Happiness Association, TRICHA) เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจมาสเตอร์โพลล์(Master Poll) เรื่อง คำตอบจากแกนนำชุมชนถึงเวลาแล้วหรือยังที่คนไทยต้องรักสามัคคี OUR HOME OUR COUNTRY STRONGER TOGETHER : กรณีศึกษาตัวอย่างแกนนำชุมชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,057 ตัวอย่าง โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบใช้ความน่าจะเป็นทางสถิติจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลแกนนำชุมชนทั่วประเทศ รวบรวมโดย ชมรมนักวิจัยไทยเพื่อความสุขชุมชน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบใช้ความน่าจะเป็นทางสถิติจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลแกนนำชุมชนทั่วประเทศ ดำเนินโครงการในวันที่ 21-27 สิงหาคม 2558
ผลการสำรวจการรับรู้ต่อข้อความรณรงค์ของนายกรัฐมนตรี “OUR HOME OUR COUNTRY STRONGER?TOGETHER” พบว่า แกนนำชุมชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 72.8 ระบุเคยได้ยิน/เคยพบเห็นแล้ว ร้อยละ 27.2 ระบุยังไม่เคยได้ยิน/ยังไม่เคยพบเห็นมาก่อน/เพิ่งจะทราบ ทั้งนี้แกนนำชุมชนร้อยละ 91.5 ระบุว่าข้อความ OUR HOME OUR COUNTRY STRONGER?TOGETHER ทำให้รู้สึกภูมิใจที่เกิดเป็นคนไทย รองลงมาคือร้อยละ 87.9 ระบุทำให้รู้สึกว่าอยากมีส่วนร่วมในการทำเพื่อประเทศชาติ ร้อยละ 87.6 ระบุรู้สึกมีกำลังใจเข้มแข็งมากขึ้น ร้อยละ 85.1 รู้สึกมีความสุขที่คนไทยกลับมารวมพลังรักสามัคคีกันได้อีกครั้ง และร้อยละ 84.6 ระบุรู้สึกชื่นชมในความพยายามของรัฐบาลและ คสช.
นอกจากนี้ แกนนำชุมชนเกือบร้อยละร้อย หรือร้อยละ 99.7 ระบุค่อนข้างเห็นด้วย-เห็นด้วยว่าถึงเวลาแล้วที่คนไทยจะต้องร่วมแรงร่วมใจแสดงความรักสามัคคี และจับมือกันเดินไปข้างหน้าเพื่อประเทศของเรา ทั้งนี้มีเพียงร้อยละ 0.3 เท่านั้นที่ระบุไม่ค่อยเห็นด้วย-ไม่เห็นด้วย โดยพบว่า แกนนำชุมชนร้อยละ 95.3 ยังคงเชื่อมั่นว่าคนไทยทั้งประเทศจะสามารถร่วมแรงร่วมใจกันฝ่าฟันทุกอย่างไปได้ โดยให้เหตุผลว่า เพราะคนไทยไม่เคยทิ้งกัน คนไทยไม่แล้งน้ำใจดูแลห่วงใยกันเสมอ ตราบใดที่ยังมีชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ต้องผ่านไปได้ มีพระมหากษัตริย์เป็นศูนย์รวมใจให้คนไทย เชื่อมั่นว่า คสช.จะสามารถแก้ไขปัญหา และพาคนไทยผ่านพ้นไปได้ รัฐบาลชุดนี้ทำให้คนไทยรวมเป็นหนึ่งเดียว เหตุการณ์ที่ผ่านมาทำให้คนไทยรักกันมากขึ้น ในขณะที่ร้อยละ 4.7 ระบุไม่เชื่อมั่น โดยให้เหตุผลว่า บ้านเมืองยังวุ่นวายและแตกแยกอยู่ หลายกลุ่มมีความคิดเห็นไม่ตรงกัน ที่ผ่านมาแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเท่านั้น ประชาชนยังเดือดร้อนอยู่
ประเด็นสำคัญสุดท้ายคือ เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามถึงสิ่งที่อยากจะบอกกับต่างประเทศ/นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทย ซึ่งผลการสำรวจพบว่า แกนนำชุมชนร้อยละ 79.9 ระบุว่าอยากขอโทษและเสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แต่ประเทศไทยยังยินดีต้อนรับนักท่องเที่ยวทุกคน นอกจากนี้ร้อยละ 50.9 ระบุอยากบอกว่าประเทศไทยยังมีที่น่าท่องเที่ยวอีกมาก อยากให้มาเที่ยวประเทศไทย ร้อยละ 44.1 ระบุอยากให้เชื่อใจรัฐบาลไทยว่าจะสามารถควบคุมสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้ ขอให้เชื่อมั่นในคนไทยอีกครั้ง ร้อยละ 13.9 ระบุประเทศไทยยังคงเป็นประเทศที่มีความปลอดภัย ในขณะที่ร้อยละ 10.9 ระบุอยากให้เข้าใจและไม่ตื่นตระหนก ประเทศไทยกำลังดำเนินการแก้ไขปัญหาอยู่ ร้อยละ 7.6 ระบุประเทศไทยพร้อมที่จะปกป้องนักท่องเที่ยว อย่างไรก็ตามร้อยละ 5.4 ระบุอยากให้ชาวต่างชาติ หรือนักท่องเที่ยวระมัดระวังและดูแลตัวเอง พร้อมทั้งตรวจสอบสถานการณ์ด้วยคุณลักษณะทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
แกนนำชุมชนร้อยละ 88.2 เป็นเพศชาย ในขณะที่ร้อยละ 11.8 เป็นเพศหญิง ร้อยละ 6.1 มีอายุต่ำกว่า 40 ปี ร้อยละ 36.0 ระบุอายุ 40-49 ปี และร้อยละ 57.9 ระบุอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป ทั้งนี้เมื่อพิจารณาจำแนกตามระดับการศึกษาที่สำเร็จมาชั้นสูงสุดพบว่า ร้อยละ 38.1 สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น/ต่ำกว่า ร้อยละ 43.7 สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย/ป.ว.ช. ร้อยละ 6.1 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญา/ป.ว.ส. ร้อยละ 12.1 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป ตามลำดับ
แกนนำชุมร้อยละ 75.3 มีอาชีพประจำคือเกษตรกร ร้อยละ 13.9 ระบุประกอบธุรกิจส่วนตัว/ค้าขาย ในขณะที่ร้อยละ 10.8 ระบุมีอาชีพอื่นๆ อาทิ รับจ้าง ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ และไม่ได้ประกอบอาชีพใดๆ ทั้งนี้เมื่อพิจารณารายได้ต่อเดือนของครอบครัวพบว่า แกนนำชุมชนร้อยละ 20.6 ระบุมีรายได้ครอบครัวไม่เกิน 10,000 บาทต่อเดือน ร้อยละ 18.3 ระบุมีรายได้ครอบครัว 10,000–15,000 บาทต่อเดือน ร้อยละ 26.9 ระบุมีรายได้ 15,001-20,000 บาทต่อเดือน ในขณะที่แกนนำชุมชนร้อยละ 34.2 ระบุมีรายได้ครอบครัวมากกว่า 20,000 บาทต่อเดือน ตามลำดับ
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit