ปฏิรูปกลไกของรัฐให้มีประสิทธิภาพ

26 Aug 2015
ในงาน”สปช. รายงานประชาชน:เปลี่ยนประเทศไทยกับสปช.” จัดโดยสภาปฏิรูปแห่งชาติ(สปช.) ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ สี่แยกราชประสงค์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดวิสัยทัศน์ยุทธศาสตร์การปฏิรูปประเทศ สรุปผลงานและส่งมอบวาระการปฏิรูป 37 ประเด็น และ 6 วาระพัฒนา แก่รัฐบาลตามภารกิจที่ได้รับมอบหมายตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) ปี 2557 หากสามารถปรับกลไกกระบวนการการร่างกฎหมายให้มีประสิทธิภาพได้แล้ว การปฏิรูปในด้านต่าง ๆ ที่จะต้องมีการแก้ไขกฎหมายมากมายหลายฉบับ ก็สามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็วเพื่อนำไปสู่การขับเคลื่อนที่ทำให้สามารถบรรลุเป้าหมายการปฏิรูปในแต่ละด้าน

การปรับกลไกภาครัฐ : การปฏิรูปก่อนเลือกตั้งก่อนปี 2560

ศาสตราจารย์พิเศษ กิติพงศ์ อุรพีพัฒนพงศ์ โฆษกคณะกรรมาธิการปฏิรูปเศรษฐกิจ การเงินและการคลัง?สภาปฏิรูปแห่งชาติ?(สปช.) กล่าวว่า ในช่วงนี้ประเทศไทยมีความจำเป็นต้องสร้างความโปร่งใสและประสิทธิภาพในการบริหารงานภาครัฐ ไม่ว่าการเปิดเผยข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้าง กลไกการจัดการระบบงบประมาณการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นและกระบวนการบังคับใช้กฎหมายของภาครัฐก็มีความสำคัญในการขับเคลื่อนการปฏิรูป จึงจำเป็นต้องมีการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องในส่วนนี้อย่างรีบด่วนก่อนการเลือกตั้ง ตัวอย่างเช่น หากประเทศไทยต้องมีการปฏิรูประบบโครงสร้างภาษี เพื่อให้ประเทศไทยสามารถแข่งขันได้ ลดความเหลื่อมล้ำ เพิ่มฐานภาษีการเก็บภาษี ๒ ระดับ คือ ภาษีระดับท้องถิ่นและระดับชาติ และการขึ้นทะเบียนผู้เสียภาษีกระบวนการยกร่างกฎหมายภาษีอากรของไทยก็จะสามารถพัฒนาโดยใช้ตัวอย่างกฎหมายของประเทศสิงคโปร์เป็นโครงร่างในการยกร่าง โดยมีเอกชนภาคต่าง ๆ เข้ามามีส่วนร่วมในคณะกรรมการยกร่างกฎหมายพร้อม ๆ กันไป พร้อมทั้งจัดทำการวิจัยและเขียนอธิบายกฎหมายประมวลรัษฎากรใหม่ก่อนเสนอเข้าสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ก็จะทำให้ประเทศไทยมีเชื้อเพลิง คือ เงินได้จากภาษีอากรที่เพิ่มขึ้น และมีกฎหมายที่มีความชัดเจนจากการเขียนหลักการเหตุผลและคำอธิบายในแต่ละมาตรา เพื่อมาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศไทยต่อไปได้

ก่อนการเลือกตั้งมีความจำเป็นที่จะต้องมีการปรับกลไกภาครัฐ (Public Sector Reform) กลไกแรกที่มีความสำคัญ คือ กระบวนการร่างกฎหมายที่ต้องพัฒนาให้มีส่วนร่วมของภาคประชาชน,มีการศึกษาผลกระทบและการประเมินผลของกฎหมายอย่างเป็นระบบ รวดเร็ว ทันสมัยต่อการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ สังคมอย่างมีประสิทธิภาพ, ที่สำคัญต้องเปลี่ยนบทบาทของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาและคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย โดยการปรับปรุงกฎหมายของหน่วยงานทั้งสองส่วน เช่น ให้คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายเป็นองค์กรในการศึกษาวิจัย จัดทำคำอธิบายทางกฎหมาย มีอำนาจเสนอร่างกฎหมาย (ในนามประชาชนหรือภาครัฐ) ส่วนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา รับผิดชอบการให้คำปรึกษาทางกฎหมายหมายแก่หน่วยงานราชการ ดูแลเทคนิคการร่างกฎหมาย การปรับปรุงกระบวนการร่างกฎหมายของหน่วยงานภาครัฐให้มีประสิทธิภาพ โดยรัฐต้องจัดงบประมาณและบุคคลากรให้เหมาะสม

หน้าที่ของพลเมืองไทยในฐานะผู้โดยสารต้องเป็นพลเมืองที่รู้หน้าที่ว่าตนเองมีหน้าที่ต้องเสียภาษีและรัฐก็จะนำภาษีมาใช้จ่ายเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ และให้สิทธิประโยชน์แก่ผู้เสียภาษี ในฐานะเป็นผู้มีสิทธิและหน้าที่ ไม่ใช้อ้างว่าตนเองมีสิทธิ์แต่เพียงอย่างเดียว ทั้งนี้ รัฐบาลต้องให้ความมั่นใจว่า ผู้มีรายได้ต่ำก็จะได้รับการดูแลจากรัฐบาลตามสิทธิ์ขั้นพื้นฐาน

ภายหลังการเลือกตั้ง (ภายในปี 2565) ประเทศไทยต้องมีกลไกการบริหารจัดการแบบรัฐบาลดิจิทัล การยุบเลิกหน่วยงานที่ไม่จำเป็น และภายใน 2565 เราจะเห็นรัฐบาลที่มีการบังคับใช้กฎหมายของหน่วยงานภาครัฐอย่างจริงจัง และไม่มีการเลิกปฏิบัติและการบริหารงานได้รับการยอมรับว่าการบริหารงานภาครัฐของประเทศไทย ได้มาตรฐานระดับสากล เมื่อเปรียบเทียบกับหน่วยงานภาครัฐทั่วโลก และเมื่อถึงปี 2575 ประเทศไทย เราจะมีระบบบริหารภาครัฐที่มีประสิทธิภาพใสสะอาดแล้วเป็นเครื่องมือในการสร้างความเติบโตของภาคธุรกิจเอกชนและประชาสังคม

การปฏิรูปประเทศไทยสู่อนาคต 2575 : เราจะบินขับเคลื่อนไปด้วยกัน

ดร.สีลาภรณ์ บัวสาย คณะกรรมาธิการสังเคราะห์ภาพรวมเพื่อขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) กล่าวว่า เป้าหมายการปฏิรูปสู่เป้าหมายการเป็นประเทศชั้นนำ ภายในปี 2575 เพื่อเพิ่มรายได้ต่อหัวให้มีรายได้เกิน 500,000 บาทต่อคนต่อปี มีการเพิ่ม GDP 6% ต่อปี โดยเมื่อวาระครบปีที่ 100 หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย ในปี พ.ศ. 2575 ประเทศไทยก็จะหลุดพ้นจากกับดักการเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง และมุ่งสู่สถานภาพของประเทศพัฒนาแล้ว โดยประเทศไทยจะเป็นศูนย์กลางการค้าและการลงทุนในภูมิภาคอาเซียน และผลสัมฤทธิ์การศึกษาของไทยอยู่ในระดับ 5 ของประเทศในเอเชีย การที่จะขับเคลื่อนโดยการปฏิรูปประเทศในรูปแบบเครื่องบินโดยสารที่พลเมือง ที่มีหลากหลายเชื้อชาติเป็นผู้โดยสาร โดยผู้โดยสารต้องปฏิบัติตามกฎกติกาจะต้องมีแผนที่การบินโดยการกำหนดยุทธศาสตร์ชาติ การมีนักบินที่ดี คือ ผู้นำทางการเมืองที่ดี การมีเครื่องยนต์ขับเคลื่อนใหม่ที่มีพลังสูงอันประกอบไปด้วยกติกาการแข่งขันที่เป็นธรรม การปฏิรูปเศรษฐกิจมหภาค การปฏิรูปเศรษฐกิจภาคการผลิต การสร้างสังคมผู้ประกอบการ วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม ซึ่งการขับเคลื่อนโดยเครื่องบินจะต้องสร้างสมดุลเพื่อลดความเหลื่อมล้ำโดยปีกเครื่องบินทั้ง 2 ข้าง ต้องมีความสมดุลกัน โดยเครื่องบินที่ขับเคลื่อนต้องมีเชื้อเพลิงที่ขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมาย แหล่งเชื้อเพลิงต้องมาจากพลังงานที่ยั่งยืนและถาวรมีงบประมาณและภาษีอากร เพื่อใช้ในการขับเคลื่อน และภายในลำตัวเครื่องบินต้องมีกระบวนการบริการภายใน คือกระบวนการบริหารจัดการภาครัฐที่ต้องให้ประชาชนหรือผู้โดยสารต้องปฏิบัติตามกฎหมายระเบียบ มีการมอบหมายการกระจายอำนาจให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีการบริการอย่างมีประสิทธิภาพ มีกลไกการตรวจสอบและการบำรุงรักษาซึ่งมีบุคลากรภาครัฐเป็นผู้ให้บริการ