ไอแคนจัดเวิร์คช้อปกับคณะกรรมการการสร้างป้ายชื่อโดเมน (Label Generation Panel) ภาษาไทยสร้างให้ไทยก้าวสู่การเป็นส่วนของระบบอินเทอร์เน็ตโลกที่มีความหลากหลายทางภาษา

24 Aug 2015
ไอแคน (The Internet Corporation for Assigned Names and Numbers - ICANN) องค์กรระดับนานาชาติที่มีหน้าที่หลักในการจัดสรรดูแลโดเมนและไอพีของระบบอินเทอร์เน็ตทั่วโลกกำหนดจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการขึ้นในกรุงเทพเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาเพื่อแนะนำโครงการ Internationalised Domain Name (IDN) หรือโครงการชื่อโดเมนในภาษาท้องถิ่นของไอแคน โดยร่วมกับสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) ซึ่งเป็นผู้ดำเนินโครงการนี้ในประเทศไทย ในการประชุมเชิงปฏิบัติการนี้จะมีผู้เชี่ยวชาญของไทยมากมายทั้งทางด้านนโยบาย เทคนิค และภาษาเข้าร่วม เพื่อก่อรูป คณะกรรมการการสร้างป้ายชื่อโดเมน (Label Generation Panel หรือ LGR) โดยมีเป้าหมายที่จะร่างระเบียบเพื่อจัดสรรและบริหารการจดทะเบียนโดเมนเนมเป็นภาษาท้องถิ่นในประเทศไทย

การใช้โดเมนเนมในภาษาท้องถิ่นจะทำให้ประชาชนทั่วโลก รวมทั้งคนไทย อีกเป็นจำนวนมากสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ แต่ในการนี้มีความจำเป็นที่ชุมชนในแต่ละประเทศจะช่วยกันพัฒนาให้ระบบอินเทอร์เน็ตนั้นสามารถรองรับตัวอักษรและระบบการเขียนที่ต่างกันไปได้ ดังนั้นการที่ชุมชนหรือองค์กรในแต่ละประเทศเข้ามามีส่วนร่วมกับไอแคนจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งยวด

มร. สามาด ฮุสเซน ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายโครงการชื่อโดเมนจากภาษาท้องถิ่น (Internationalised Domain Names (IDN) กล่าวว่า โครงการ IDN ก็คือการจัดตั้งโดเมนเนมที่ใช้ตัวอักษรในภาษาที่มีอยู่หลากหลายทั่วโลก ซึ่งต่างก็มีระบบการเขียนที่ไม่เหมือนกัน IDN จะเพิ่มสมรรถนะของระบบอินเทอร์เน็ตให้รองรับภาษาต่างๆไม่ว่าจะเป็นไทย, จีน, ฮินดี ฯลฯ และผลักดันให้ก้าวเข้าสู่ความหลากหลายทางภาษา ซึ่งจะเปิดโอกาสให้แก่คนหลายพันล้านทั่วโลกสามารถเข้ามาใช้อินเทอร์เน็ตได้”

ในขณะที่รีนาเลีย อับดุล ราฮิม สมาชิกคณะกรรมการบริหาร ไอแคน (ICANN) ให้ความเห็นว่า “ไอแคนคาดว่าผู้เชี่ยวชาญหลายฝ่ายของไทยจะเข้าร่วมในการร่างระเบียบเพื่อจัดสรรและบริหารการจดทะเบียนโดเมนเนมเป็นภาษาท้องถิ่นในประเทศไทย ซึ่งจะมีการเริ่มการวางเผนในประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ ทั้งนี้อยากจะขอขอบคุณสพธอ.สำหรับความร่วมมือ รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญจากองค์กรหรือหน่วยงานต่าง ๆของไทย ซึ่งจะเข้ามาสร้างความเปลี่ยนแปลงที่จะทำให้ชาวไทยสามารถใช้อินเทอร์เน็ตโดยใช้ภาษาไทยและอักษรไทยเป็นหลักมากขึ้น”

คณะกรรมการการสร้างป้ายชื่อโดเมนของแต่ละประเทศจะประกอบด้วยประธานและตัวแทนซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านต่างๆ รวมทั้งผู้ที่มีความชำนาญในด้านต่างๆ ดังนี้คือ ระบบโดเมนเนม, IDN, Unicode และหลักการภาษาศาสตร์ของภาษาท้องถิ่น ดังเช่น ภาษาไทยเป็นต้น

ทางด้าน นางสุรางคณา วายุภาพ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) กล่าวว่า “คนไทยส่วนใหญ่ไม่คุ้นเคยกับการใช้ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน การพัฒนาระเบียบเพื่อการจดโดเมนเนมด้วยตัวอักษรภาษาไทยจะเปิดโอกาสให้กับประชาชนไทยอีกเป็นจำนวนมากได้เข้าถึงอินเทอร์เน็ต ก่อนหน้านี้รัฐบาลไทยได้ประกาศว่าในปีพ.ศ. 2560 ประเทศไทยจะก้าวไปสู่การเป็นสังคมแห่งเศรษฐกิจดิจิตอล ในการนี้ สพธอ.ได้เป็นหัวหอกเริ่มเดินหน้าโครงสร้างพื้นฐานในด้านระเบียบกฎเกณฑ์ต่าง ๆ เพื่อหนุนให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายในการเป็นสังคมเศรษฐกิจดิจิตอลให้ได้ เราเชื่อว่าการพัฒนาของโครงการนี้จะมีผลเป็นอย่างมากกับอนาคตของอินเทอร์เนตของประเทศไทย”

นางสุรางคณาซึ่งได้รับการเสนอชื่อให้เป็นประธานของคณะกรรมการร่างระเบียบที่จะเกิดขึ้นใหม่นี้กล่าวอีกว่า “เวิร์คช้อปเป็นเวลาสองวันที่จะเริ่มขึ้นในวันพรุ่งนี้จะมีผู้เชี่ยวชาญของไทยเข้าร่วมมากมาย โดยมีเจ้าหน้าที่ของไอแคนเป็นผู้ดูแลการหารือ การวางแผนปฏิบัติการจะเกิดขึ้นแบบเป็นขั้นเป็นตอน เพื่อรับประกันว่าเราจะสามารถนำเอาโครงการนี้ไปปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพภายในห้วงเวลาที่กำหนด”

“กลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่เข้าร่วมในการประชุมเชิงปฏิบัติการนี้จะส่งข้อเสนอที่จะจัดตั้งคณะกรรมการนี้ให้แก่ไอเคน”

ในภูมิภาคเอเชียขณะนี้ มีคณะกรรมการพัฒนาภาษาท้องถิ่นในการใช้อินเทอร์เน็ตอยู่หลายคณะ ครอบคลุมทั้งภาษาอารบิค, อาร์มีเนี่ยน, จีน, ญี่ปุ่น, เขมร, และนีโอ พราหมี ทั้งตัวอักษรและระบบการเขียน

เมื่อเร็วๆนี้ไอแคนได้จัดเวิร์คช้อปที่คล้ายคลึงกันนี้ในกัมพูชา ลาวและพม่า ที่กัมพูชาได้จัดตั้งคณะกรรมการขึ้นเพื่อพัฒนาระบบแล้วเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาหลังการประชุม ตอนนี้กำลังร่างระเบียบต่างๆสำหรับการเขียนโดเมนด้วยตัวหนังสือของเขมร ส่วนคำถามและความคิดเห็นต่างๆในระหว่างเวิร์คช้อปที่กัมพูชาและลาวมีอยู่ในเอกสารประกอบการแถลงข่าวแล้ว