สำหรับการทำธุรกิจร่วมกันสืบต่อเนื่องจากการประกาศเมื่อพฤศจิกายนที่ผ่านมา ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับการเซ็นข้อตกลงเสรีทางการค้าระหว่างออสเตรเลียและจีน โดยในการนี้จะทำให้เห็นความร่วมมือของสายการบินทั้งสองในการให้บริการระหว่างออสเตรเลียและจีน และการอนุมัติดังกล่าวจะช่วยให้ทั้ง แควนตัส และไชน่า อีสเทิร์น ขยายการให้บริการ รวมถึงมีตารางการบินเข้าออกที่ดีมากขึ้น ระยะเวลาเปลี่ยนต่อเที่ยวบินสั้นลง พร้อมทั้งสิทธิ์ประโยชน์จากโปรแกรมสะสมไมล์ฟรีเคว่น ฟลายเออร์ และโอกาสเดินทางต่อไปยังเส้นทางภายในจีนและออสเตรเลียแก่ผู้โดยสาร
มร.อลัน จอยส์ ประธานกรรมการบริหาร แควนตัส กรุ๊ป เผยว่า “การตัดสินใจของคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคและการแข่งขันของออสเตรเลียช่วยให้แควนตัสสามารถมอบประสบการณ์ที่ดีขึ้นกว่าเดิม รวมถึงโอกาสการเพิ่มจำนวนนักเดินทาง ตลอดจนถึงกระชับความสัมพันธ์ระหว่างออสเตรเลียกับจีนที่เป็นคู่ค้ารายสำคัญให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้เราได้ยกประเด็นสำคัญเกี่ยวกับประโยชน์ของความร่วมมือกันที่มีต่อนักเดินทาง การท่องเที่ยวและการค้าของออสเตรเลีย จีนถือเป็นตลาดท่องเที่ยวอินบาวน์ที่สำคัญมากที่สุดของออสเตรเลีย และคาดว่าจะสามารถทำรายได้ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจได้มากถึง 9,000 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลียต่อปีภายในปี 2563 นอกจากนั้น การลงทุนร่วมกันกับ ไชน่า อีสเทิร์น ยังจะช่วยเพิ่มจำนวนนักเดินทาง รวมทั้งเชื่อมต่อฮับหลักๆ หรือต่อเที่ยวบินของแต่ละสายการบินไปยังเน็ทเวิร์คการบินเส้นทางต่างๆ”
“จากการทำงานร่วมกับ ไชน่า อีสเทิร์น ช่วยให้เราสามารถเข้าถึงเส้นทางในจีนและสร้างแพลทฟอร์มการเติบโตที่ยั่งยืนมากยิ่งขึ้นในอนาคต เช่น การเปิดเส้นทางบินใหม่จากออสเตรเลียไปเซี่ยงไฮ้ การเชื่อมต่อเที่ยวบินและประโยชน์ที่ลูกค้าได้รับมากขึ้นจะช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ด้านการค้าสืบเนื่องต่อจากข้อตกลงเสรีทางการค้าออสเตรเลีย-จีน ที่มีการเซ็นเมื่อปีที่ผ่านมา สำหรับแควนตัส เราไม่สามารถให้บริการไปในทุกเส้นทางในจีนได้ อย่างไรก็ตามจากความสัมพันธ์ที่เข้มข้นกับ ไชน่า อีสเทิร์น ครั้งนี้ทำให้เราประสบผลสำเร็จเชิงลยุทธ์ในการทำงานร่วมกับหุ้นส่วนรายสำคัญทั่วโลกเพื่อมอบประสบการณ์การเดินทางระดับเวิลด์คลาสแก่ลูกค้า” มร.จอยส์ กล่าว
ทางด้าน มร.ลิว ชาวยอง ประธานสายการบิน ไชน่า อีสเทิร์น กล่าวว่า “เรายินดีทำงานร่วมกับแควนตัส เรายินดีเป็นอย่างมากจากการตัดสินใจของคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคและการแข่งขันของออสเตรเลีย ซึ่งจะช่วยส่งเสริมโอกาสด้านการท่องเที่ยวและการค้ากับออสเตรเลีย และอำนวยความสะดวกด้านการเดินทางแก่ผู้โดยสารระหว่างทั้งสองประเทศจำนวนมาก รวมทั้งตื่นเต้นมากในการที่จะช่วยผู้โดยสารของเราให้ได้เพลิดเพลินไปในเส้นทางออสเตรเลียและจีน”
ปัจจุบันทั้งสองสายการบินมีข้อตกลงให้บริการเที่ยวบินโค้ดแชร์ร่วมกันระหว่างออสเตรเลียและจีน 17 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ รวมถึงเส้นทางบินภายในประเทศของทั้งสองประเทศ ทั้งนี้มีสายการบินให้บริการในเส้นทางระหว่างออสเตรเลียและจีนกว่า 20 สายการบินในปัจจุบัน
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit