เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ และห้องปฏิบัติการคึกคัก โตกว่า15% จากมูลค่า57,000 ล้านบาท วีเอ็นยู เอ็กซิบิชั่นส์ฯผู้จัดงาน Thailand LAB 2015 ร่วมกับ TDRI ,สสวทท.สมาคมการค้าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เสวนาแล็บ สู่คุณภาพงานวิจัยและการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจไทย เปิดงานวิจัย ระบบมาตรวิทยาส่ง ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจมหภาค มหาศาล ทำให้สินค้าบริการแข่งขันระดับสากลได้ พร้อมกระทุ้งภาคอุตสาหกรรมการผลิต ให้ความสำคัญการทำ R&D เพิ่มขึ้นอีก 40 % หลังพบไทยเทียบกัน10ประเทศอยู่ในอันดับ3รองบ๊วย อินโดนีเซียและฟิลิปินส์ มีการทำวิจัยในภาคอุตสาหกรรมเพียง 57%
นายนายธีรยุทธ์ ลีลาขจรกิจ ผู้อำนวยการสายงานธุรกิจวิทยาศาสตร์เละเทคโนโลยี บริษัท วีเอ็นยู เอ็กซิบิชั่นส์ เอเชีย แปซิกฟิค จำกัด ผู้จัดงาน THAILAND LAB 2015 ที่จะมีขึ้นในวันที่ 9-11 กันยายน 2015 ไบเทค บางนา เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆนี้บริษัทได้มีการจัดเสวนาเรื่อง แล็บ สู่คุณภาพงานวิจัยและการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจไทย โดยมี ดร.สุเมธ องกิตติกุล ผู้อำนวยการวิจัย สถาบันเพื่อการพัฒนาประเทศ ( TDRI) , พลตรี รศ.ดร.ชัยณรงค์ เชิดชู นายกสภาสมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (สสวทท.) , นายสุวรรณ พงษ์สังข์ อุปนายกสมาคมการค้าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มาร่วมให้ความคิดเห็นวิเคราะห์ทิศทาง ตลาดเครื่องมือวิทยาศาสตร์และระบบมาตรวิทยา มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจไทยสูงขึ้น ตามพัฒนาการของภาคอุตสาหกรรม
การพัฒนาเครื่องมือวิทยาศาสตร์ ส่งผลต่อคุณภาพการผลิตและคุณภาพของสินค้า การพัฒนาเครื่องมือวิทยาศาสตร์ มีความจำเป็นต่อการพัฒนาอุตสาหกรรม รวมถึงสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นต่อประชาชนด้วย
สำหรับงาน Thailand LAB 2015 งานแสดงสินค้าและประชุมสัมมนาด้านเทคโนโลยี เครื่องมือ และห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน รวบรวมเทคโนโลยีเครื่องมือและห้องแล็บ บริการทางห้องแล็บ อุปกรณ์ความปลอดภัยและเคมีภัณฑ์จากผู้ประกอบการทั้งไทยและต่างประเทศ ที่จัดขึ้นในวันที่ 9-11 กันยายน 2015 ไบเทค บางนา EH 105และ107 นั้น ในงานจะมีการประชุมเรื่อง มาตราวิทยาที่น่าสนใจ ในวันที่ 10 ก.ย.2558 ห้อง MR 221 มีการประชุมหัวเรื่อง หลักการเลือกหน่วยบริการสอบเทียบ Analyzer และ Detector และการนำผลการวัดไปใช้งานอย่างมืออาชีพ โดย คุณรติรัตน์ สินวีรุทัย ตำแหน่ง นักมาตรวิทยา ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ก๊าซ ฝ่ายมาตรวิทยาเคมีและชีวภาพ 09.30 - 12.00 น.
และบ่ายประชุมหัวข้อ การใช้งานเทอร์โมมิเตอร์อย่างถูกวิธีสำหรับอุตสาหกรรมหนัก โดย ดร. นฤดม นวลขาว ตำแหน่ง นักมาตรวิทยา ห้องปฏิบัติการอุณหภูมิเชิงแผ่รังสี ฝ่ายมาตรวิทยาอุณหภูมิ 14.00 - 17.00 น.
ในวันศุกร์ที่ 11 กันยายน 2558 ห้อง MR 220 "สมาคมมาตรวิทยาแห่งประเทศไทย และสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) มีการประชุมหัวข้อ มาตรฐานอาชีพและแนวทางการเตรียมตัวเพื่อขอการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาอาชีพการสอบเทียบเครื่องมือวัด โดย พล.อ.ต. ดร. เพียร โตท่าโรง ที่ปรึกษาสมาคมมาตรวิทยาแห่งประเทศไทย (10.00 - 12.00 น.) และช่วงบ่าย สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ ประชุมหัวข้อ TRM วัสดุอ้างอิงของไทยเพื่อ Lab ไทยโดย ดร. กิตติยา เชียร์แมน ตำแหน่ง นักมาตรวิทยาห้องปฏิบัติการวิเคราะห์อินทรีย์เคมี ฝ่ายมาตรวิทยาเคมีและชีวภาพ(14.00 - 17.00 น.) ซึ่งการจัดประชุมทั้ง 2 วันถือว่าเป็นประโยชน์ต่อภาคอุตสาหกรรมการผลิตอย่างยิ่ง
ด้าน ดร.สุเมธ องกิตติกุล ผู้อำนวยการวิจัย สถาบันเพื่อการพัฒนาประเทศ ( TDRI) กล่าวว่า ความสำคัญของระบบมาตรวิทยาต่อมาตรฐานการผลิตสินค้า ความต้องการ สร้างความสามารถในการแข่งขัน สินค้าต้องมีคุณภาพและ คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ความต้องการมาตรฐาน ในการผลิต จึงต้องมี ระบบมาตรวิทยา ISO 9000การผลิตและบริหารจัดการของ ทุกอุตสาหกรรม ผู้ที่ต้องการได้รับการรับรองต้องสอบเทียบเครื่องมือ QS 9000 การผลิตของอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน ผู้ที่ต้องการได้รับการรับรองต้องสอบเทียบเครื่องมือ ISO 14000
การผลิตที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของ ทุกอุตสาหกรรม ผู้ที่ต้องการได้รับการรับรองต้องสอบเทียบเครื่องมือ GMPกำหนดแนวทางการควบคุมความปลอดภัยของอุตสาหกรรมอาหารต้องมีการวัดสารปนเปื้อนและสารอาหาร รวมถึง สอบเทียบเครื่องมือความสำคัญของระบบมาตรวิทยาต่อมาตรฐานการผลิตสินค้า10อุตสาหกรรมหลักที่ให้ความสำคัญกับการรักษามาตรฐานในการผลิต จำนวนบริษัทที่ได้การรับรอง 3,103* แห่ง อันดับ 3: การผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้าฯ จานวน 197 แห่ง (ร้อยละ 6)อุตสาหกรรมไฟฟ้าฯ ISO 14000จำนวนบริษัทที่ได้การรับรอง 893** แห่งอันดับ 1: การผลิตโลหะ สารเคมีมูลฐาน/ผลิตภัณฑ์พลาสติก จานวน 134 แห่ง (ร้อยละ 15)อุตสาหกรรมยานยนต์GMP, HACCP, etc.จำนวนบริษัทที่ได้การรับรอง 320** แห่งอันดับ 1: การผลิตผลิตภัณฑ์อาหาร อาหารแปรรูป จานวน 78 แห่ง (ร้อยละ 24)อุตสาหกรรมอาหารอุตสาหกรรมไฟฟ้าฯ ยานยนต์ และอาหาร มีความต้องการที่จะรักษามาตรฐานในการผลิต
ดร.สุเมธ กล่าวต่อว่านอกจากเรื่องระบบมาตรวิทยาแล้ว การทำ R&D ของไทยก็ยังมีปัญหา คือมี ประสิทธิภาพ R&D ของไทยอยู่ในระดับต่ำ กล่าวคือจากข้อมูลการลงทุนด้านการวิจัยใน 10 ประเทศมองการลงทุนวิจัยสะสม ประเทศเกาหลีใต้มีมูลค่า 95% ประเทศเยอรมนี94% ญี่ปุ่น92% ไต้หวันและสิงค์โป93% มาเลเซีย86% ไทย 57%อินโดนีเซีย 41%ฟิลิปินส์38% ดังนั้นประเทศไทยจะต้องเพิ่มผลผลิตการวิจัย 40% เพิ่มประสิทธิภาพ R&D อีก 40%โดยประเมินผลอย่างเข้มข้น ต้องเพิ่มบุคลากร R&D อีก 6 หมื่นคน (120%) ค่าตอบแทนเพิ่มข้น1.59 หมื่นล้านบาทต่อปี เพิ่มงบประมาณวิจัย R&D อีก76%หรือ 1.37 แสนล้านบาท
พลตรี รศ.ดร.ชัยณรงค์ เชิดชู นายกสภาสมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (สสวทท.) กล่าวว่า เครื่องมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและระบบมาตราวิทยา มีความสำคัญในการผลักดันภาคอุตสาหกรรมการผลิต ให้มีโอกาสทางการแข่งขันทำตลาดในระดับนานาชาติ ระบบมาตราวิทยาหรือระบบตรวจวัดมีผลต่อคุณภาพชีวิตประชาชน และด้านการแพทย์โดยตรง อาทิ อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องมือแพทย์ ได้รับประโยชน์จากระบบมาตรวิทยาในด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน การวัดมีความสำคัญเป็นอย่างมากในการรักษาและป้องกันโรค จึงต้องมีความถูกต้องและสามารถเปรียบเทียบกันได้
ความผิดพลาดของการวัดและการสอบเทียบเครื่องมือแพทย์อาจส่งผลต่อการตัดสินใจรักษาและคุณภาพของการรักษาพยาบาลได้ NIST (2004) ได้ศึกษาผลกระทบของความผิดพลาดของการสอบเทียบเครื่องมือวัดระดับ Serum Calcium พบว่าจานวนการขั้นตอนการติดตามผลการรักษา และต้นทุนการรักษาพยาบาลมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับค่าการทดสอบแคลเซียมขั้นต้น ประเมินได้ว่า ผลวิเคราะห์ที่เบี่ยงเบนไป 0.1 mg/dL เพิ่มต้นทุนการรักษา 8-31 ดอลลาร์ต่อคนไข้ 1 คน ผลกระทบทางเศรษฐกิจที่อาจะเกิดขึ้น มีขนาด 60-199 ล้านดอลลาร์ต่อปี สาหรับความเบี่ยงเบนในการวัดตั้งแต่ 0.1 ถึง 0.5 mg/dL
นายสุวรรณ พงษ์สังข์ อุปนายกสมาคมการค้าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า ทิศทางตลาดเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปี ปีละประมาณ 15% จากมูลค่า57,000 ล้านบาทในปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามไทยจะต้องผลักดันให้มีการวิจัย การใช้ห้องปฏิบัติการในภาคอุตสาหกรรมการผลิตเพิ่มขึ้น และแก้ปัญหาด้านบุคลากร ปัจจุบันไทยมีบุคลากรที่เก่งสู้ต่างประเทศได้จำนวนมาก แต่จะมีปัญหาเรื่องการร่วมกลุ่มทำงาน ผู้ประกอบการจะต้องเร่งหาองค์ความรู้มาพัฒนาธุรกิจเพื่อรับการแข่งขัน สำหรับงาน THAILAND LAB 2015 เป็นอีกเวทีหนึ่งที่ผู้ประกอบการจะต้องไปหาองค์ความรู้ใหม่ๆและชมเทคโนโลยีเพื่อมานำวางแผนธุรกิจต่อไป
ผู้ที่สนใจสามารถลงทะเบียนล่วงหน้าเพื่อเข้าชมงานและสำรองที่นั่งเพื่อร่วมสัมมนาผ่านทาง www.THAILANDLAB.com พร้อมบริการนัดหมายเจรจาธุรกิจ ผ่านทาง Buyer Priority Line โทร 02-670-0900 ต่อ 125 หรืออีเมล์ [email protected]
ข้อมูลเพิ่มเติม โทร 02-670-0900 ต่อ 201 – 209
Follow THAILANDLAB at Facebook / Twitter / Linkedin / YoutubeThailand LAB 2015
Trade : 9-11 September 2015 (10.00-17.00 hrs.)
Venue : EH 105 - EH 107 , BITEC, Bangkok, Thailand
ประสานงานประชาสัมพันธ์ นิตยา ธานินทร์ธนารักษ์ 083 244 4613 02 833 1063
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit