การผลิตเครื่องบินแอร์บัส เอ330นีโอ ลำแรกได้เริ่มดำเนินการขึ้นแล้ว หลังจากที่เปิดตัวโครงการมาแล้วเป็นเวลา 1 ปี โดยเริ่มต้นจากขั้นตอนแรกใน 'การตัดโลหะ' ณ โรงงานผลิตของแอร์บัสในตูลูสและน็องต์ การผลิตเสาหรือหอนำร่องเครื่องบิน (pylon) สำหรับเครื่องยนต์ชิ้นแรกได้เริ่มต้นขึ้นในช่วงฤดูร้อน ณ โรงงานของแอร์บัสในแซ็งต์ เอลัว (ตูลูส) ในขณะที่โรงงานของแอร์บัสในน็องต์ได้เริ่มต้นการผลิตกล่องปีกเครื่องบิน (centre wing box) ของเครื่องบินแอร์บัส เอ330นีโอ ลำแรก
ส่วนโครงปีกที่ 1 ในกล่องปีกเครื่องบินของเครื่องบินแอร์บัส เอ330นีโอ ลำแรกนั้นถูกผลิตขึ้นในน็องต์ ได้ใช้การออกแบบที่ล้ำสมัยแบบไอโซกริด (Isogrid) ซึ่งประกอบด้วยช่องสามเหลี่ยม (triangular pocket) จำนวน 330 ชิ้น ซึ่งทำให้ชิ้นส่วนของเครื่องบินมีความแข็งแกร่ง ทนทานและน้ำหนักเบาตามข้อกำหนดของแอร์บัส
เสาหรือหอนำร่องเครื่องบินชิ้นใหม่ซึ่งถูกผลิตขึ้นในแซ็งต์ เอลัว เป็นองค์ประกอบสำคัญของการออกแบบอันล้ำสมัยของเครื่องบินแอร์บัส เอ330นีโอ ซึ่งทำให้เครื่องยนต์รุ่นเทรนท์ 7000 รุ่นใหม่ล่าสุดที่แนบติดกับปีกเครื่องบินมีการใช้เชื้อเพลิงอย่างมีประสิทธิภาพ เสาหรือหอนำร่องเครื่องบินแอร์บัส เอ330นีโอทำมาจากไทเทเนียมที่มีน้ำหนักเบา ได้ใช้เทคโนโลยีการออกแบบ วัสดุ และอากาศพลศาสตร์อันล้ำสมัยแบบเดียวกับเครื่องบินแอร์บัส เอ350 เอ็กซ์ดับเบิลยูบี โดยเสาหรือหอนำร่องเครี่องบินแอร์บัส เอ330นีโอ มีความเหมาะสมกับโครงสร้างภายนอกของเครื่องบินอย่างลงตัว โดยโครงสร้างภายนอกของเครื่องบินนั้น ได้รับแรงบันดาลใจมาจากโครงสร้างภายนอกของเครื่องบินแอร์บัส เอ350 เอ็กซ์ดับเบิลยูบี รุ่นใหม่ ซึ่งทำมาจากวัสดุเชิงประกอบและไทเทเนียม เพื่อรับรองด้านอากาศพลศาสตร์ได้อย่างเหมาะสม
เครื่องบินแอร์บัส เอ330-800นีโอ และเครื่องบินแอร์บัส เอ330-900นีโอ เป็นสมาชิกเครื่องบิน 2 รุ่นใหม่ของตระกูลเครื่องบินรุ่นลำตัวกว้างของแอร์บัส โดยมีกำหนดการส่งมอบเครื่องบินครั้งแรกในไตรมาสที่ 4 ของปี 2560 โดยเครื่องบินแอร์บัส เอ330นีโอ เป็นการนำเครื่องยนต์โรลส์รอยซ์ เทรนท์ 7000 รุ่นล่าสุด มาทำงานร่วมกับการพัฒนาทางด้านอากาศพลศาสตร์ และลักษณะพิเศษแบบใหม่ของห้องโดยสาร ทั้งนี้ เครื่องบินแอร์บัส เอ330นีโอ ซึ่งได้รับผลประโยชน์จากความน่าเชื่อถือทางด้านการบินในระดับสูง ความสามารถรอบด้าน และเศรษฐศาสตร์ทางด้านการบินที่ไม่มีใครเทียบได้ของเครื่องบินแอร์บัส เอ330 สามารถลดอัตราการเผาผลาญเชื้อเพลิงได้ถึงร้อยละ 14 ต่อที่นั่ง ทำให้เครื่องบินแอร์บัส เอ330นีโอ กลายเป็นเครื่องบินรุ่นลำตัวกว้างที่มีพิสัยการบินระยะกลางที่มีความคุ้มค่าทางด้านต้นทุนมากที่สุดในตลาด นอกจากการประหยัดพลังงานที่มากกว่าแล้ว ผู้ปฏิบัติการเครื่องบินแอร์บัส เอ330นีโอ ยังจะได้รับผลประโยชน์จากพิสัยการบินที่เพิ่มขึ้นสูงสุดถึง 400 ไมล์ทะเล รวมถึงข้อได้เปรียบจากความคล้ายคลึงทางด้านการปฏิบัติการทั้งหมดของตระกูลเครื่องบินแอร์บัส
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit