ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ 31 กรกฎาคม 2558 มีจำนวน 5,718,472.95 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 42.85 ของ GDP เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นสุทธิ 33,982.19 ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้v หนี้ของรัฐบาล มียอดหนี้คงค้างเพิ่มขึ้น 21,185.07 ล้านบาท ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญเกิดจาก
การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ จำนวน 20,000 ล้านบาท
การกู้เงินเพื่อการลงทุนจากแหล่งเงินกู้ในประเทศและต่างประเทศ จำนวน 7,020.46 ล้านบาท มีรายการที่สำคัญ ดังนี้1.การกู้เงินเพื่อให้รัฐวิสาหกิจกู้ต่อ จำนวน 5,662.24 ล้านบาท ได้แก่- การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยเบิกจ่ายเงินให้กู้ต่อ 3,232.40 ล้านบาท สำหรับดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว สายสีน้ำเงิน สายสีม่วง- การรถไฟแห่งประเทศไทยเบิกจ่ายเงินให้กู้ต่อ 663.25 ล้านบาท สำหรับดำเนินโครงการรถรถไฟสายสีแดง และโครงการปรับปรุงทางรถไฟที่ไม่ปลอดภัย 8 สายทาง- บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) กู้ต่อ 1,766.59 ล้านบาท สำหรับโครงการซื้อเครื่องบินแอร์บัส A340-6002. การเบิกจ่ายเงินกู้เพื่อใช้ในในการดำเนินโครงการพัฒนาระบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและระบบขนส่งทางถนนระยะเร่งด่วน จำนวน 1,000ล้านบาท
การชำระคืนต้นเงินกู้ จำนวน 6,957.47 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น หนี้ในประเทศ 6,864 ล้านบาท หนี้ต่างประเทศ 93.47 ล้านบาท
หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน มียอดหนี้คงค้างเพิ่มขึ้น 85.16 ล้านบาท โดยการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญเกิดจาก
ผลของอัตราแลกเปลี่ยนทำให้หนี้ต่างประเทศสกุลต่างๆ เพิ่มขึ้น 5,921.28ล้านบาท
การชำระคืนหนี้มากกว่าการเบิกจ่ายเงินกู้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทำให้หนี้ลดลง 5,836.12 ล้านบาท โดยรายการที่สำคัญเกิดจากการชำระหนี้ต่างประเทศ ของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) 3,345.30 ล้านบาท และการชำระคืนหนี้ในประเทศมากกว่าการเบิกจ่าย 1,345.65 ล้านบาท
หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) มียอดหนี้คงค้างลดลง 3,324.79 ล้านบาท โดยมีรายการที่สำคัญ ได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรชำระหนี้เงินต้นที่กู้มาเพื่อดำเนินโครงการรับจำนำข้าว โดยใช้เงินจากการระบายข้าว จำนวน 2,258 ล้านบาท และธนาคารอาคารสงเคราะห์ไถ่ถอนพันธบัตรที่กู้มาเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ที่ครบกำหนด จำนวน 1,000 ล้านบาทv หน่วยงานของรัฐ มียอดหนี้คงค้างเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า จำนวน 16,036.75 ล้านบาท เนื่องจากกองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายกู้เงินเพื่อดำเนินโครงการการให้ความช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของชาวไร่อ้อยในฤดูผลิต ปี 2557/2558
หนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2558 เท่ากับ 5,718,472.95 ล้านบาท แบ่งเป็น หนี้ในประเทศ 5,373,471.74 ล้านบาท หรือร้อยละ 93.97 และหนี้ต่างประเทศ 345,001.21 ล้านบาท (ประมาณ 9,967.94 ล้านเหรียญสหรัฐ)หรือเท่ากับร้อยละ 6.03 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง และหากเปรียบเทียบกับเงินสำรองระหว่างประเทศ จำนวน 156,944.03 ล้านเหรียญสหรัฐ (ข้อมูล ณ 31 กรกฎาคม 2558) หนี้ต่างประเทศ จะคิดเป็นสัดส่วนเพียงร้อยละ 6.35 ของเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงเสถียรภาพและความมั่นคงในด้านการเงินของประเทศ
โดยหนี้สาธารณะแบ่งออกเป็นหนี้ระยะยาวถึง 5,605,172.95 ล้านบาท หรือร้อยละ 98.02 และ มีหนี้ระยะสั้น 113,300 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.98 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง2. รายงานผลการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐที่ดำเนินการโดยสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะประจำเดือนกรกฎาคม 2558สบน. มีการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐ วงเงินรวม 128,683.64 ล้านบาท แบ่งเป็น หนี้ของรัฐบาล จำนวน 89,945.64 ล้านบาท และหนี้รัฐวิสาหกิจ จำนวน 38,738 ล้านบาท
การบริหารจัดการหนี้ของรัฐบาล วงเงิน 89,945.64 ล้านบาท ประกอบด้วย
ผลการกู้เงินในประเทศของรัฐบาล จำนวน 25,116.65 ล้านบาท1. การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ จำนวน 20,000 ล้านบาท2. การเบิกจ่ายเงินกู้เพื่อวางระบบบริหารจัดการน้ำ จำนวน 50 ล้านบาท จากสัญญาเงินกู้วงเงิน 15,393 ล้านบาท ที่ได้ลงนามในสัญญาเงินกู้เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2556 ภายใต้ พ.ร.ก. บริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศฯ3. การเบิกจ่ายเงินกู้ให้กู้ต่อ จำนวน 3,895.65 ล้านบาท4. การเบิกจ่ายเงินกู้บาททดแทนการกู้เงินตราต่างประเทศ จำนวน 1,171 ล้านบาท
การกู้เงินและเบิกจ่ายเงินกู้จากต่างประเทศของรัฐบาลกระทรวงการคลังได้มีการเบิกจ่ายเงินกู้และการลงนามสัญญาเงินกู้จากต่างประเทศ จำนวน 1,903.81 ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้1. การกู้เงิน Euro Commercial Paper หรือ ECP Programmeจำนวน 1,766.59 ล้านบาท (อัตราแลกเปลี่ยน ณ 31 กรกฎาคม 2558) เพื่อให้กู้ต่อแก่บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) สำหรับโครงการซื้อเครื่องบิน แอร์บัส A340-6002. การเบิกจ่ายเงินกู้จากองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น จำนวน 48.99 ล้านบาท แบ่งเป็น เงินกู้สำหรับโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณถนนนนทบุรี 1 ของกรมทางหลวงชนบท
จำนวน 28.21 ล้านบาท และเงินกู้เพื่อให้กู้ต่อแก่การรถไฟแห่งประเทศไทย สำหรับโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต จำนวน 20.78 ล้านบาท3. การเบิกจ่ายเงินกู้จากธนาคารพัฒนาเอเชีย จำนวน 88.23 ล้านบาท สำหรับโครงการก่อสร้างทางสายหลักให้เป็น 4 ช่องจราจร (ระยะที่ 2) ของกรมทางหลวง
การปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศของรัฐบาล จำนวน 44,950 ล้านบาท1. การปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาล ที่ออกภายใต้ พ.ร.บ. การบริหารหนี้สาธารณะฯ พ.ศ. 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม จำนวน 35,950 ล้านบาท โดยการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ จำนวน 20,000 ล้านบาท การทำสัญญาเงินกู้ระยะสั้น จำนวน 10,000 ล้านบาท และการออกตั๋วสัญญาใช้เงิน จำนวน 5,950 ล้านบาท2. การปรับโครงสร้างหนี้สัญญาเงินกู้ระยะสั้น โดยการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ จำนวน 9,000 ล้านบาท· การชำระหนี้ของรัฐบาล จำนวน 17,975.18 ล้านบาท แบ่งเป็น1. การชำระหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง จำนวน 15,516.81 ล้านบาท แบ่งเป็น- ชำระต้นเงิน จำนวน 6,957.47 ล้านบาท โดยใช้เงินจากงบประมาณทั้งจำนวน- ชำระดอกเบี้ย จำนวน 8,559.34 ล้านบาท โดยใช้เงินงบประมาณทั้งจำนวน แบ่งเป็น ดอกเบี้ยหนี้ในประเทศ 8,374.12 ล้านบาท และดอกเบี้ยหนี้ต่างประเทศ 185.22 ล้านบาท- การชำระหนี้ภายใต้ พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ (FIDF 1) จำนวน 1,067.40 ล้านบาท โดยเป็นการชำระดอกเบี้ยทั้งจำนวน- การชำระหนี้ภายใต้ พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ (FIDF 3) จำนวน 1,390.97 ล้านบาท โดยเป็นการชำระดอกเบี้ยทั้งจำนวน
การบริหารจัดการหนี้รัฐวิสาหกิจ วงเงิน 38,738 ล้านบาท ประกอบด้วย
การกู้เงินในประเทศของรัฐวิสาหกิจ จำนวน 5,211 ล้านบาท โดยเป็นการกู้เงินของการรถไฟแห่งประเทศไทย เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน ในรูปของสัญญาเงินกู้ระยะยาวที่รัฐบาลค้ำประกัน
การปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศของรัฐวิสาหกิจ จำนวน 33,527 ล้านบาท ประกอบด้วยการปรับโครงสร้างหนี้ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร 25,000 ล้านบาท การรถไฟแห่งประเทศไทย 6,527 ล้านบาท และการเคหะแห่งชาติ 2,000 ล้านบาท
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit