อนาคตของเด็กไทยจะก้าวผ่านข้อจำกัดด้านภาษาให้สามารถสื่อสารได้มากกว่าภาษาประจำชาตินั้น การเรียนรู้แบบสองภาษา ถือเป็นคำตอบที่น่าสนใจอย่างยิ่ง ไม่ใช่แค่กระแสนิยมที่มาจากการเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดดของสังคมโลกาภิวัตน์ แต่เป็นการร่วมกันเตรียมความพร้อมให้กับบุตรหลานซึ่งนับได้ว่าจะเติบโตเป็นกำลังสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในอนาคต สอดคล้องกับนโยบายของภาครัฐที่มุ่งผลักดันให้ประเทศไทยก้าวขึ้นเป็นผู้นำและศูนย์กลางของกลุ่มประเทศอาเซียน (Asian Hub) โดยมุ่งหวังให้ประเทศไทยกลายเป็นศูนย์กลางการศึกษาของภูมิภาคอาเซียน (Asian Education Hub) ด้วยเช่นกัน
ดร.อภิรมณ อุไรรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้จัดการ โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยรังสิต, ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยรังสิต และอาจารย์ประจำวิทยาลัยการท่องเที่ยวและบริการ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า ในประเทศที่พัฒนาแล้ว การศึกษาแบบภาษาเดียวหรือแม้กระทั่งระบบการศึกษานานาชาติ ถูกแทนที่ด้วยการศึกษาแบบสองภาษา ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้สองภาษาหรือมากกว่าในเวลาเดียวกัน อย่างเช่น ประเทศในกลุ่มยุโรป การศึกษาแบบสองภาษาได้รับความนิยมอย่างมากและเป็นที่ยอมรับในวงกว้างจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องรวมทั้งนักการศึกษา นักเศรษฐศาสตร์และแม้กระทั่งผู้กำหนดนโยบาย ซึ่งไม่เพียงแค่เป็นการเพิ่มภาษาอื่นๆ เข้าไปหรือเพิ่มทักษะการสื่อสารสำหรับผู้เรียนเท่านั้น ถ้าไม่นับทักษะการสื่อสารผ่านความสามารถของภาษาและโลกทัศน์ที่กว้างขึ้นแล้ว คนที่เรียนด้วยระบบสองภาษาจะมีประสิทธิภาพสูงที่เหนือกว่าคนที่เรียนแบบภาษาเดียวในเกือบทุกด้าน เนื่องจากได้รับการฝึกฝนที่ดีกว่าจากระบบบริหารจัดการ ไม่ว่าจะหน่วยความจำ การวิเคราะห์เหตุและผล การจัดการข้อมูล การวางแผน และการดำเนินการ ระบบบริหารจัดการเหล่านี้ เป็นพื้นฐานของทักษะการเรียนรู้และการวิเคราะห์
เมื่อไหร่ที่ควรเริ่มต้นการฝึกอบรมเด็กให้เป็นเด็กสองภาษาและจะมีวิธีการอย่างไรนั้น ดร.อภิรมณ อุไรรัตน์ กล่าวต่อว่า เด็กสามารถได้รับการฝึกฝนให้เป็นสองภาษาตั้งแต่แรกเกิด และพวกเขาจะผ่านขั้นตอนเช่นเดียวกับเด็กๆ ที่เรียนภาษาเดียวในกระบวนการการได้รับภาษาแม่ของพวกเขา ยิ่งได้รับการฝึกฝนตั้งแต่อายุยิ่งน้อยเท่าไหร่ ยิ่งเกิดผลดีมากขึ้นเท่านั้น ถึงแม้ว่าอาจจะมีความสับสนในปีแรกๆ ของการฝึกฝน ผู้ปกครองจึงควรเริ่มคิดถึงวิธีการฝึกอบรมเด็กให้เป็นเด็กสองภาษาตั้งแต่ระยะแรกๆ ของการเลี้ยงดู ซึ่งวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการฝึกอบรมเด็กให้เป็นบุคคลสองภาษา คือการ "ซึบซับ" นั้นก็คือการให้เรียนรู้ตลอดเวลาผ่านสิ่งต่างๆ ที่พบเจอในชีวิตประจำวัน สมองจะได้รับการฝึกฝนในส่วนสไตรตัม (striatum) และระบบการเปิดรับข้อมูล (gating) ให้มีการพัฒนาที่ดีขึ้น เมื่อเทียบกับการเรียนด้วยภาษาเดียวแล้ว พบว่ามีความสามารถที่จะจัดเรียงข้อมูลอย่างเป็นระบบมากขึ้น แยกแยะสิ่งเร้าทั้งทางการพูดและการฟัง ความสามารถในการสลับระหว่างกิจกรรมต่างๆ ได้ดี มีการควบคุมทั้งสองภาษาแบบเจ้าของภาษา และสามารถที่จะผลิตคำพูดที่มีความหมายที่สมบูรณ์ครบถ้วนได้ทั้งสองภาษา
โดยทั้งสองภาษาจะถูกฝึกแบบแยกกัน และในระดับที่แตกต่างกัน ทั้งสภาพแวดล้อมที่โรงเรียนและที่บ้าน ซึ่งจะช่วยทำให้ได้รับประโยชน์หลายประการสำหรับผู้เรียน ประการแรก วิธีนี้จะช่วยให้ผู้เรียนมีการควบคุมอย่างเต็มรูปแบบของทั้งสองภาษาและมีการเปลี่ยนภาษาที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ประการที่สองจะช่วยให้ผู้เรียนมีความสามารถในการเรียนดีขึ้นในสาขาวิชาอื่นๆ ประการสุดท้ายยังช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาระบบบริหารจัดการที่ได้รับมาจากการฝึกอบรมสมอง
สำหรับคำถามที่ผู้ปกครองมักจะถามเมื่อให้ลูกของตนเข้าเรียนในระบบการศึกษาสองภาษาคือ นานเท่าไหร่ถึงจะเห็นผลสัมฤทธิ์ของการศึกษาในระบบนี้ การวิจัยแสดงให้เห็นว่า ตามปกติแล้ว ผู้เรียนจะพัฒนาเป็นบุคคลสองภาษาเต็มรูปแบบภายในระยะเวลาห้าปี ดังนั้นการตั้งความคาดหวังก็ควรจะกำหนดจากจุดนี้เป็นหลัก ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้จัดการโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวทิ้งท้าย
ภายใต้สภาพแวดล้อมของโลกยุคใหม่ที่เปิดกว้างที่มีความหลากหลายทางสังคม เชื้อชาติและวัฒนธรรม การศึกษาแบบสองภาษาน่าจะเป็นคำตอบสำหรับเด็กไทย ผู้ซึ่งจะเติบโตมามาเป็นผู้นำพาประเทศในอนาคต นอกเหนือจากเหตุผลที่เกี่ยวข้องภาษาแล้ว การศึกษาแบบสองภาษาจะช่วยกระตุ้นการพัฒนาสมองในระบบบริหารจัดการที่มีความจำเป็นสำหรับบุคคลที่จะประสบความสำเร็จในสภาพแวดล้อมที่มีความต้องการใหม่ๆ อย่างแท้จริงสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่บริษัท กนกรัตน์ แอนด์ เฟรนด์ จำกัด (ที่ปรึกษาด้านงานประชาสัมพันธ์)โทร.02-284-2662 แฟกซ์. 02-284-2287,2291 www.kanokratpr.comคุณกนกรัตน์ วีรานุวัตติ์ E-mail: [email protected]
HTML::image( HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit