พลตำรวจเอก อดุลย์ กล่าวว่า ครูน้อยได้ขอจดทะเบียน “บ้านครูน้อย (บ้านที่ให้ชีวิตที่ดีแก่เด็กยากไร้)” เป็นสถานรับเลี้ยงเด็กกับกรมประชาสงเคราะห์ เมื่อปี ๒๕๔๒ โดยใช้บ้านที่อยู่อาศัยเป็นสถานที่ดำเนินกิจการ และใช้ชื่อว่าสถานรับเลี้ยงเด็กบ้านครูน้อย โดยมีนางนวลน้อย ทิมกุล เป็นเจ้าของ (ผู้ดำเนินกิจการ) ซึ่งรับเลี้ยงเด็กชายและหญิง ประเภทไป-กลับ อายุ ๒ ปี ถึง ๖ ปี จำนวนไม่เกิน ๑๕ คน ไม่เก็บค่าบริการ โดยปัจจุบันบ้านครูน้อยไม่ได้รับการต่ออายุใบอนุญาตจัดตั้งสถานรับเลี้ยงเด็ก แต่ครูน้อยยังให้ความช่วยเหลือเด็กและครอบครัวยากจนด้วยเงินบริจาคอย่างต่อเนื่อง เพราะสงสารเด็ก โดยมีกลุ่มเป้าหมายที่ช่วยเหลือได้แก่ เด็กที่อยู่ในครอบครัวยากจน ครอบครัวแตกแยก และเด็กพิการ ซึ่งขณะนี้มีเด็กและเยาวชนที่ครูน้อยช่วยเหลือ จำนวนทั้งสิ้น ๖๕ คน อายุตั้งแต่ ๔- ๓๐ ปี ในจำนวนนี้เป็นคนพิการ จำนวน ๓ คน ส่วนสภาพปัจจุบันของการดำเนินงานของครูน้อยนั้น มีหนี้สินมากขึ้นเนื่องจากรายจ่ายมากขึ้น เฉลี่ยวันละ ๖,๐๐๐ บาท และรายจ่ายต่อเดือนเฉลี่ยเป็นเงิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท อีกทั้งผู้บริจาคเงิน ลดน้อยลง ทำให้ต้องกู้ยืมเงินนอกระบบมาใช้จ่าย
“ทั้งนี้ กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ได้เตรียมแนวทางในการช่วยเหลือเด็กกรณีดังกล่าว ดังนี้ หากกรณีผู้ปกครองยินยอมให้เด็กเข้ารับความช่วยเหลือจากบริการของรัฐ เจ้าหน้าที่จะพิจารณาและส่งต่อสถานสงเคราะห์ต่อไป และจะช่วยเหลือตามภารกิจของกระทรวงการพัฒนาสังคมฯอย่างต่อเนื่อง” พลตำรวจเอก อดุลย์ กล่าวท้าย
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit