รมว.วธ. กล่าวต่อว่า ผู้ทรงคุณวุฒิได้คัดเลือกบุคคลที่มีผลงานสร้างสรรค์ด้านการใช้ภาษาไทย หรือภาษาถิ่นได้อย่างเหมาะสม มีความสามารถ ความชำนาญ มีผลงานดีเด่นเป็นที่ยอมรับและเป็นแบบอย่าง ที่ดีให้แก่บุคคลในองค์กร และสังคม รวมถึงบุคคลหรือองค์กรที่มีบทบาทในการส่งเสริม สนับสนุน ศึกษา และสร้างคุณประโยชน์ต่อวงการภาษาไทยหรือภาษาไทยถิ่นอย่างต่อเนื่องเป็นที่ประจักษ์ โดยมีรายละเอียด ดังนี้1. ปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย ได้แก่ ศาสตราจารย์รื่นฤทัย สัจจพันธุ์2. ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น จำนวน 6 ราย ได้แก่2.1 นายกัญจนปกรณ์ แสดงหาญ2.2 นางสาวนิพัทธ์พร เพ็งแก้ว2.3 นายประพันธ์ หิรัญพฤกษ์2.4 นายประภาส ชลศรานนท์2.5 นางศรีนวล ขำอาจ2.6 ผู้ช่วยศาสตราจารย์สกุล บุณยทัต3. ผู้ใช้ภาษาไทยถิ่นดีเด่น3.1 นายเกริก อัครชิโนเรศ3.2 นางนวลจันทร์ ไชยวงศ์3.3 นายปฐม มุสิกะ3.4 นายวิจิตร ดำประสิทธิ์3.5 นายศรีเลา เกษพรหม4. ผู้มีคุณูปการต่อการใช้ภาษาไทย4.1 นายประเสริฐ รักษ์วงศ์4.2 นางปราณี ปราบริปู
ส่วนการประกวดเพลง (เพชรในเพลง) เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ พุทธศักราช 2558 ในกรอบแนวคิดส่งเสริมเอกลักษณ์และค่านิยมไทย เพื่อยกย่องบุคคลในวงการเพลงผู้มีผลงานดีเด่นด้านการใช้ภาษาไทย รวมถึงสนับสนุนให้มีการสร้างสรรค์ผลงานเพลงอย่างมีคุณภาพทั้งการประพันธ์คำร้องและผู้ขับร้อง โดยมีผลการตัดสินของคณะกรรมการ ดังนี้1. รางวัลเชิดชูเกียรติพิเศษผู้มีคุณูปการต่อวงการเพลงไทยเดิม ได้แก่ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์พูนพิศ อมาตยกุล2. รางวัลเชิดชูเกียรติพิเศษผู้มีคุณูปการต่อวงการเพลงไทยสากล ได้แก่ นายกุลชาติ เทพหัสดิน ณ อยุธยา3. รางวัลเชิดชูเกียรติพิเศษผู้มีคุณูปการต่อวงการเพลงไทยลูกทุ่ง ได้แก่ นายชานนท์ ภาคศิริ (สุรินทร์ ภาคศิริ)4. รางวัลเชิดชูเกียรติพิเศษเพลงชุดดีเด่นสำหรับเด็ก ได้แก่ ชุดเด็กเจื้อยแจ้ว ผู้บริหารโครงการโดย นางพรพรรณ ชัยนาม5. รางวัลเชิดชูเกียรติพิเศษวงดนตรีเพลงสำหรับเด็ก ได้แก่ วงอุ่นไอวัยเยาว์ ผู้ควบคุมวง นายอนุสรณ์ สายนภา6. รางวัลเชิดชูเกียรติพิเศษรายการโทรทัศน์ผู้สร้างโอกาสศิลปินลูกทุ่ง ได้แก่ รายการชิงช้าสวรรค์ ผู้อำนวยการผลิตรายการ นายปัญญา นิรันดร์กุล7. รางวัลเชิดชูเกียรติผู้ประพันธ์เพลงดีเด่นในอดีต จำนวน 3 ประเภท ได้แก่7.1 ประเภทเพลงไทยสากล ได้แก่ เพลงชาวดง ผู้ประพันธ์ นายวิมล จงวิไล7.2 ประเภทเพลงไทยลูกทุ่ง ได้แก่ เพลงอีสานบ้านเฮา ผู้ประพันธ์ นายพงษ์ศักดิ์ จันทรุขา7.3 ประเภทเพลงส่งเสริมคุณธรรม ได้แก่ เพลงรักกันไว้เถิด ผู้ประพันธ์ นายนคร ถนอมทรัพย์8. รางวัลการประพันธ์เพลงดีเด่นด้านภาษาไทย จำนวน 3 ประเภท ได้แก่8.1 ประเภทการประพันธ์คำร้องเพลงไทยสากลรางวัลชนะเลิศ ได้แก่ เพลงวันพรุ่งนี้ ผู้ประพันธ์ นายประภาส ชลศรานนท์รางวัลชมเชย ได้แก่ เพลงอยากได้ยิน ผู้ประพันธ์ นายยืนยง โอภากุล และเพลงหัวใจ ให้แผ่นดิน วิญญาณให้ความรัก ผู้ประพันธ์ นายสุทธิพงษ์ สมบัติจินดา8.2 ประเภทการประพันธ์คำร้องเพลงไทยลูกทุ่งรางวัลชนะเลิศ ได้แก่ เพลงทวงรักฝากลม ผู้ประพันธ์ นายบำเรอ ผ่องอินทรกุล (โน้ต เชิญยิ้ม)รางวัลชมเชย ได้แก่ เพลงกระเป๋าสมปอง ผู้ประพันธ์ นายกิตติศักดิ์ มีสมสืบ (ศักดิ์สิริ มีสมสืบ) และเพลงพรจากปากแม่ ผู้ประพันธ์ นายสัญญารักษ์ ดอนศรีฐิติโชติ (สัญลักษณ์ ดอนศรี)8.3 ประเภทการประพันธ์คำร้องเพลงส่งเสริมคุณธรรมรางวัลชนะเลิศ ได้แก่ เพลงนารีรัตนา ประพันธ์โดย นายสุทธิพงษ์ สมบัติจินดา และศิลปินในโครงการปทุมมาสิกขาลัยรางวัลชมเชย ได้แก่ เพลงชีวิตนี้น้อยนัก แต่สำคัญนัก ประพันธ์โดย ฐิตว์โสภิกขุ และเพลงสัจจะอุบาสก อุบาสิกา ประพันธ์โดย นางวาณี จูฑังคะ9. รางวัลการขับร้องเพลงดีเด่นภาษาไทย จำนวน 4 ประเภท ได้แก่9.1 ประเภทผู้ขับร้องเพลงไทยสากลชายรางวัลชนะเลิศ ได้แก่ เพลงอยากได้ยิน ขับร้องโดย นายยืนยง โอภากุลรางวัลชมเชย ได้แก่ เพลงหัวใจให้แผ่นดิน วิญญาณให้ความรัก ขับร้องโดย นายณัฐพนธ์ วงษ์สนิท (หวิว ณัฐพนธ์) และเพลงความรักสวยงามเสมอ ขับร้องโดย นายธนทัต ชัยอรรถ (แกงส้ม เดอะสตาร์)9.2 ประเภทผู้ขับร้องเพลงไทยสากลหญิงไม่มีผู้สมควรได้รับรางวัลชนะเลิศ ส่วนรางวัลชมเชย ได้แก่ เพลงกลางพนา ขับร้องโดย นางดวงดาว เถาว์หิรัญ และเพลงสัจจะอุบาสก อุบาสิกา ขับร้องโดย นางวาณี จูฑังคะ9.3 ประเภทผู้ขับร้องเพลงไทยลูกทุ่งชายรางวัลชนะเลิศ ได้แก่ เพลงกระเป๋าสมปอง ขับร้องโดย นายรวมมิตร คงชาตรี (จ่อย รวมมิตร ไมค์ทองคำ)รางวัลชมเชย ได้แก่ เพลงขอโง่อีกสักครั้ง ขับร้องโดย นายธนพล สัมมาพรต (แจ็ค ธนพล อาร์สยาม) และเพลงพรจากปากแม่ ขับร้องโดย นายยิ่งคุณ ประจันทอน (แมน มณีวรรณ อาร์สยาม)9.4 ประเภทผู้ขับร้องเพลงไทยลูกทุ่งหญิงรางวัลชนะเลิศ ได้แก่ เพลงทวงรักฝากลม ขับร้องโดย นางสาวสุทธิยา รอดภัย (ใบเฟิร์น สุทธิยา ไมค์ทองคำ)รางวัลชมเชย ได้แก่ เพลงกุหลาบในใจน้อง ขับร้องโดย นางสาวฐิตาภา ใต้ไธสง (หญิง ธิติกานต์ อาร์สยาม) และเพลงเมรี ขับร้องโดย นางสาวนิภาพร บุญยะเลี้ยง และนางสาวฐิฆพรณ์ บุญยะเลี้ยง(กระแต และกระต่าย อาร์สยาม)ด้านศาสตราจารย์ ดร.อภินันท์ โปษยานนท์ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า กระทรวงวัฒนธรรมจะจัดพิธีมอบเข็มและโล่เชิดชูเกียรติแก่ปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น ผู้มีคุณูปการต่อการใช้ภาษาไทย โดยจะมีการมอบรางวัลให้แก่ศิลปินผู้ได้รับรางวัลการประกวดเพลง “เพชรในเพลง” พิธีมอบถ้วยพระราชทาน การประกวดดนตรีและการแสดงพื้นบ้าน พิธีมอบโล่พระราชทาน การประกวดเรียงความ และการกล่าวสุนทรพจน์ เป็นต้น ในวันที่ 29 กรกฎาคม 2558 เวลา 09.00 น. เป็นต้นไป ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทยโดยมีพลเอก ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานในพิธีนอกจากนี้ ยังมีการสัมมนาภาษาไทยถิ่น 4 ภูมิภาค เพื่อส่งเสริมให้เด็ก เยาวชน และประชาชน ได้ตระหนักเห็นคุณค่า ความสำคัญ และภาคภูมิใจในอัตลักษณ์ของภาษาไทยถิ่น ได้แก่ ภาคเหนือ: จังหวัดลำปาง /ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จังหวัดมหาสารคาม /ภาคใต้ : จังหวัดสุราษฏร์ธานี /ภาคกลาง :จังหวัดเพชรบุรี การฉายภาพยนตร์ทางชาติพันธ์การแสดงลิเกทรงเครื่อง เรื่อง ขุนช้างขุนแผน ตอน พิพากษานางวันทอง และยังร่วมกับกรมประชาสัมพันธ์ จัดสัมมนาการใช้ภาษาไทยของสื่อมวลชน และร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เสวนาทางวิชาการ “มองภาษาไทย ในระดับอุดมศึกษา : เขาเรียนเขาสอนกันอย่างไร” เพื่อแลกเปลี่ยนเทคนิคและวิธีการเรียน การสอนวิชาภาษาไทย เพื่อนำไปสู่การจัดทำนโยบายภาษาไทยแห่งชาติ เสนอต่อคณะรัฐมนตรี
ด้านนางสาวนันทิยา สว่างวุฒิธรรม อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กล่าวว่า นอกจาก กรมส่งเสริมวัฒนธรรม จะดำเนินการคัดเลือกปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น ผู้ใช้ภาษาไทยถิ่นดีเด่น และผู้มีคุณูปการต่อการใช้ภาษาไทย เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ ต่อเนื่องเป็นประจำทุกปีแล้ว ในปี 2558 นี้ ยังมีการจัดค่ายภาษาไทย, การประกวดเรียงความ หัวข้อ “หนังสือเล่มโปรดของฉัน” ชิงโล่รางวัลพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราช , จัดนิทรรศการ“สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี กับภาษาไทย” , การสัมมนาการใช้ภาษาไทยของเด็กและเยาวชน , การจัดแสดงลิเกทรงเครื่อง เรื่องขุนช้างขุนแผน ตอน “พลายงามอาสา” เพื่อกระตุ้นและปลุกจิตสำนึกให้คนไทยทั้งชาติ ได้ตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของภาษาไทย ตลอดจนบูรณาการทำนุบำรุง ส่งเสริมและอนุรักษ์ภาษาไทยให้อยู่คู่ชาติไทยตลอดไป
ด้านนายบวรเวท รุ่งรุจี อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า กรมศิลปากรได้ดำเนินการนโยบายค่านิยมหลัก 12 ประการ เพื่อสร้างสรรค์ประเทศชาติให้เข้มแข็งอย่างเป็นรูปธรรม โดยการประกวดเพลง (เพชรในเพลง) เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ พุทธศักราช 2558 ในกรอบแนวคิดส่งเสริมเอกลักษณ์และค่านิยมไทย เพื่อยกย่องบุคคลในวงการเพลงผู้มีผลงานดีเด่นด้านการใช้ภาษาไทย รวมถึงสนุบสนุนให้มีการสร้างสรรค์ผลงานเพลงอย่างมีคุณภาพทั้งการประพันธ์คำร้องและผู้ขับร้อง นอกจากนี้ กรมศิลปากร ยังมีการการจัดพิมพ์หนังสือ “นรางกุโรวาท” ผลงานพระนิพนธ์ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ มีเนื้อหาเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กแบบไทยวิถีเทียบกับหลักสากลของประเทศญี่ปุ่น ฝรั่งเศส และอังกฤษ เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับภาษาไทยและวัฒนธรรมไทยอีกด้วย
ทั้งนี้ จะมีการจัดกิจกรรมและโครงการด้านภาษาไทย ได้แก่ การจัดแสดงนิทรรศการพิธีมอบรางวัลและโล่เชิดชูเกียรติปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น และผู้ใช้ภาษาไทยถิ่นดีเด่น ผู้มีคุณูปการต่อการใช้ภาษาไทย และการมอบรางวัลโครงการประกวดเพลง (เพชรในเพลง) เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีในการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้องเหมาะสม อันจะดำรงรักษาไว้ซึ่งเอกลักษณ์ของชาติไทย ในงานวันภาษาไทยแห่งชาติ พุทธศักราช 2558 ในวันที่ 29 กรกฎาคม 2558 เวลา 09.00 น. ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ผู้สนใจสามารถร่วมงานได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย สำหรับรายละเอียดสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ กระทรวงวัฒนธรรม โทร. สายด่วนวัฒนธรรม 1765