การเช่าพื้นที่ค้าปลีกยังคงไม่เปลี่ยนแปลงเพราะผู้เช่ายังมุ่งควบคุมค่าใช้จ่าย

21 Jul 2015
ในไตรมาสที่ 2 ปี 2558 ธุรกรรมการเช่าพื้นที่ค้าปลีกโดยรวมในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกยังคงไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก ยกเว้นกรุงโตเกียวที่มีตลาดมีความคึกคัก และการที่ตลาดดังกล่าวมีการเติบโตของค่าเช่าในระดับที่สูงได้ส่งผลให้การเติบโตของค่าเช่าของตลาดโดยรวมในภูมิภาคเพิ่มสูงขึ้น 0.6% ต่อไตรมาส อย่างไรก็ตาม หากไม่นับรวมกรุงโตเกียวแล้ว ค่าเช่าพื้นที่ค้าปลีกโดยรวมในภูมิภาคลดลง 0.5% ต่อไตรมาสประเด็นสำคัญในไตรมาส 2 ปี 2558:
  • นอกเหนือจากกรุงโตเกียว ตลาดค้าปลีกอื่นๆ ที่เห็นถึงแนวโน้มที่ดีของธุรกรรมการเช่าพื้นที่ค้าปลีก ได้แก่ กรุงมะนิลา โอ๊คแลนด์ และซิดนีย์ ซึ่งแบรนด์ต่างชาติยังคงหลั่งไหลเข้าไปอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในตลาดแปซิฟิก ความต้องการในการเช่าพื้นที่ค้าปลีกจะจำกัดอยู่เพียงในทำเลสำคัญของย่านใจกลางธุรกิจ หรือ ซีบีดี แต่อย่างไรก็ตาม พื้นที่ว่างในทำเลดังกล่าวนั้นมีจำกัด
  • การเพิ่มขึ้นของพื้นที่ค้าปลีกใหม่ๆ ในกรุงเทพมหานคร แสดงให้เห็นว่าการแข่งขันจะเพิ่มสูงขึ้น และพื้นที่ค้าปลีกใหม่ดังกล่าวจะทำให้ความต้องการในพื้นที่ค้าปลีกเก่าลดลง
  • ขณะเดียวกันความต้องการในประเทศจีนซึ่งรวมถึงฮ่องกงและไต้หวันกลับลดลง - ในฮ่องกง ค่าเช่ายังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ค่าเช่าในเซี่ยงไฮ้ที่ลดลงเล็กน้อยแสดงให้เห็นว่าตลาดได้ผ่านระดับจุดสูงสุดไปแล้ว
  • ผู้เช่าที่ทำธุรกิจด้านอาหารและเครื่องดื่มยังคงเป็นกลุ่มที่มีความต้องการเช่าพื้นที่ค้าปลีกมากที่สุด โดยเฉพาะในอินเดียและจีน แบรนด์กลุ่ม “สินค้ากีฬาและลำลอง” ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างแฟชั่นและกีฬา รวมถึงแบรนด์กลุ่มผลิตภัณฑ์บำรุงผิว/เครื่องสำอางยังคงมีธุรกรรมการเช่าอย่างสม่ำเสมอ ด้านแบรนด์สินค้าหรูที่ไม่ค่อยมีธุรกรรมการเช่าได้เปิดโอกาสให้แบรนด์สินค้าหรูในระดับที่เป็นเจ้าของได้ง่ายมีพื้นที่ในการขยายตัวมากขึ้น
  • ผู้เช่ายังคงไม่กล้าเสี่ยง จึงมุ่งไปที่การขยายพื้นที่ที่ค่อนข้างมีขนาดเล็ก กลุ่มที่ต้องการเข้าสู่ตลาดใหม่ๆ เริ่มที่จะขยายพื้นที่ในรูปแบบดังกล่าว โดยการขายแฟรนไชส์นายเจมส์ พิทชอน หัวหน้าแผนกวิจัย ซีบีอาร์อี ประเทศไทย ให้ความเห็นว่า:

“ดัชนีค้าปลีกในประเทศไทยยังอยู่ในระดับคงที่ โดยมีข้อดีอยู่ที่จำนวนนักท่องเที่ยวในกรุงเทพฯ ที่เพิ่มขึ้น การเติบโตของพื้นที่ค้าปลีกในกรุงเทพฯ (พื้นที่ใหม่ 1.5 ล้านตารางเมตร ภายในปี 2560) หมายถึงการแข่งขันจะเพิ่มสูงขึ้น และพื้นที่ค้าปลีกใหม่ดังกล่าวจะแข่งขันกับพื้นที่ค้าปลีกที่มีอยู่เดิม ยอดขายค้าปลีกที่ชะลอตัวพบได้ในต่างจังหวัด และกำลังซื้อที่ลดลงเนื่องจากราคาผลผลิตทางการเกษตรที่ตกต่ำเป็นผลมาจากปัญหาภัยแล้ง ปัจจุบันมีการเปิดตัวคอมมูนิตี้มอลล์ใหม่ลดน้อยลง อาจเป็นเพราะผู้พัฒนารายย่อยตระหนักดีแล้วว่าการบริหารพื้นที่ขนาดเล็กให้ประสบความสำเร็จนั้นเป็นเรื่องยาก ในด้านราคาค่าเช่า โอกาสในการปรับราคาค่าเช่านั้นมีน้อยมากเนื่องจากความต้องการบริโภคภายในประเทศที่ชะลอตัว เว้นแต่โครงการค้าปลีกที่มีผลการดำเนินงานที่ดีเท่านั้นจึงสามารถปรับค่าเช่าได้ ทั้งนี้ ในไตรมาสที่ 2 ค่าเช่าโดยรวมในตลาดยังคงอยู่ในระดับเดิมไม่เปลี่ยนแปลง”ดร.เฮนรี่ ชิน หัวหน้าแผนกวิจัย ซีบีอาร์อี เอเชียแปซิฟิก ให้ความเห็นว่า:

“ในไตรมาสนี้ ตลาดค้าปลีกในเอเชียแปซิฟิกมีอัตราการเติบโตช้าลง เนื่องจากผู้เช่าใช้ความระมัดระวังในการขยายพื้นที่ในภูมิภาคนี้ ถึงแม้ว่าตลาดค้าปลีกในญี่ปุ่นและออสเตรเลียจะมีผลการดำเนินงานที่ดี แต่การเติบโตของค่าเช่าโดยรวมในภูมิภาคถูกจำกัดด้วยความต้องการที่ชะลอตัวในจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ เพราะความต้องการของผู้บริโภคลดน้อยลง ในช่วงหลังมานี้ ธุรกิจท่องเที่ยวได้เข้ามามีอิทธิพลต่อตลาดค้าปลีก - ฮ่องกงได้รับผลกระทบจากรูปแบบการบริโภคของกลุ่มนักท่องเที่ยวที่เปลี่ยนแปลงไป ขณะเดียวกันการแพร่ระบาดของโรคเมอร์สเมื่อไม่นานนี้ได้ส่งผลกระทบที่อย่างรุนแรงต่อธุรกิจการท่องเที่ยวของเกาหลีใต้ กระทบต่อหลายตลาด อาทิ กรุงโซล การท่องเที่ยวประกอบกับบรรยากาศทางธุรกิจโดยรวมมีผลกระทบอย่างมากต่อตลาดค้าปลีก ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความต้องการของผู้บริโภคที่ลดลง ในทางกลับกัน ย่านการค้าที่สำคัญในญี่ปุ่นได้รับประโยชน์ในด้านยอดขายจากนักช็อปชาวจีนแผ่นดินใหญ่ที่หลั่งไหลเข้ามา

ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2558 นี้ ผู้เช่ามีความระมัดระวังมากขึ้น โดยให้ความสำคัญกับการควบคุมค่าใช้จ่ายและการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ เจ้าของพื้นที่เริ่มที่จะให้ข้อเสนอที่มีความแตกต่างเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค เช่น ในญี่ปุ่น เราจะพบร้านเครื่องประดับราคาแพงหลายแห่งเปิดร้านในคาเฟ่หรือห้องรับรองวีไอพี เนื่องจากยังมีความต้องการของผู้บริโภคที่ยังมีอยู่มากทั้งจากในประเทศและจากนักท่องเที่ยวชาวจีน ผู้เช่าจึงยังคงมองหาพื้นที่ในการขยายสาขาเพื่อทำให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ในการจับจ่ายซื้อของที่ดีขึ้น

เอเชียแปซิฟิกจะยังคงมีผู้เช่าพื้นที่ค้าปลีกเข้ามาในภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง - รวมถึงความต้องการพื้นที่ใหม่ๆ – เพราะเจ้าของพื้นที่เองก็ต้องการเปิดตัวแบรนด์ใหม่ๆ เพื่อดึงดูดลูกค้า เอเชียแปซิฟิกยังคงเป็นภูมิภาคที่ผู้เช่าจากนานาชาติสนใจเข้ามาตลาด เพื่อที่จะออกห่างจากประเทศบ้านเกิดเนื่องด้วยปัจจัยหลายประการ เช่น การขยายตัวของชนชั้นกลาง จำนวนประชากร และการขยายตัวของเมือง ตลาดค้าปลีกมีแนวโน้มที่ดีสำหรับผู้เช่า เพราะเจ้าของพื้นที่เปิดโอกาสมากขึ้นในการการเจรจาต่อรองค่าเช่าที่ลดลง - ซึ่งหมายถึงตอนนี้ผู้เช่าจะมีอำนาจต่อรองมากขึ้น แต่ไม่ได้หมายถึงว่าเจ้าของพื้นที่จะเร่งรีบเซ็นสัญญาเช่าพื้นที่ใหม่และยอมเจรจาต่อรองสัญญาเช่าที่ยาวขึ้น”