จนถึงขณะนี้ ประเทศไทยยังคงเป็นผู้ซื้อรายใหญ่เป็นอันดับสองสำหรับสินค้าและบริการด้านไอซีทีในภูมิภาคอาเซียน แม้ว่าจะประสบปัญหาภาวะเศรษฐกิจซบเซาและปัญหาด้านการเมืองในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ในปี 2558 คาดว่าจะมีการใช้จ่ายด้านไอซีทีที่มีจากหน่วยงานภาครัฐฯ ภาคธุรกิจเอกชน และผู้บริโภครวมกัน จะอยู่ที่ราว 20.7 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ
นายไมเคิล อาราเนต้า ผู้จัดการประจำเทศไทย ระบุว่า "ในปี 2558 นี้ค่อนข้างเป็นปีที่ยากลำบากสำหรับธุรกิจไอซีทีของไทย อัตราการเติบโตของการใช้จ่ายด้านไอซีทีโดยทั่วไปแล้วพบว่าจะมีอัตราการเติบโตที่สูงกว่า จีดีพี ของประเทศราวร้อยละ 3-8 หน่วย แต่ทว่าในปีนี้ ส่วนต่างระหว่างช่วงดังกล่าวหดแคบลงเหลือต่ำกว่าร้อยละ 1 อย่างไรก็ตาม ปี 2558 มีสิ่งที่น่าสนใจเกิดขึ้นสำหรับแนวโน้มของการปรับเปลี่ยนที่ค่อนข้างเด่นชัดในตลาดไอซีที โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีแพลทฟอร์มที่ 3 อย่างเช่น คลาวด์, โมบิลิตี้ และ การวิเคราะห์บิ๊กดาต้า เกิดขึ้น เราคาดว่า การฟื้นตัวจะค่อย ๆ เกิดขึ้นในปี 2559 แต่ในปีหน้าที่จะมาถึงเราจะเห็นการเริ่มต้นยุคใหม่ของตลาดไอทีไทย บทบาทของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในธุรกิจ ไอซีที ที่มีโจทย์และความท้าทายใหม่กำลังจะเข้ามา" ผลสรุปโดยย่อของรายงานฉบับนี้มี ดังนี้ :
ปี 2558 ค่าใช้จ่ายด้านไอซีทีคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 7 ของ จีดีพี ไอดีซี คาดกว่า การเติบโตของการใช้จ่ายด้านไอซีที จะมีอัตราการเติบโตเทียบเท่ากับภาคการเกษตรของประเทศ โดยสัดส่วนของการใช้จ่ายนี้ บริการโทรคมนาคมจะมีสัดส่วนอยู่ที่ร้อยละ 45.5 และไอทีอยู่ที่ร้อยละ 54.5 การเติบโตของตลาดไอทีในปี 2558 คาดว่าจะมีอัตราการเติบโตที่ค่อนข้างทรงตัวทีร้อยละ 1.9 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการปรับเปลี่ยนโครงสร้างและอุปสงค์ที่อ่อนตัวลง สำหรับตลาดบริการโทรคมนาคม จะมีอัตราการเติบโตที่ค่อนข้างสูงที่ร้อยละ 6.2 ทั้งนี้กลุ่มผู้บริโภคและภาคธุรกิจเอกชนยังคงมีการเพิ่มการใช้บริการด้านรับส่งข้อมูลสูงขึ้น
การใช้จ่ายด้านสมาร์ทโฟนยังคงเป็นหัวจักรสำคัญในการขับเคลื่อนตลาดไอซีทีในกลุ่มผู้บริโภค จากรายงานการศึกษาของ ไอดีซี พบว่า ธุรกิจสมาร์ทโฟนมีสัดส่วนคิดเป็นเกือบ 1 ใน 3 ของการใช้จ่ายไอซีที ในกลุ่มผู้บริโภค และยอดจำหน่ายสมาร์ทโฟนยังมีอัตราการเติบโตเป็นตัวเลขถึงสองหลักในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่ทว่า ในปีนี้ อัตราการเติบโตค่อนข้างจะหดตัวอย่างมีนัยสำคัญเหลือเพียงแค่ตัวเลขหลักเดียว "แม้ว่าอัตราการเติบใช้สมาร์ทโฟนในบ้านจะมีสัดส่วนเกินกว่าร้อยละ 50 ของประชากรโดยรวมและราคาของอุปกรณ์เหล่านี้เริ่มมีราคาต่ำลง แต่ทว่า อัตราการเติบโตของตลาดในปีนี้คาดว่ายังคงชะลอตัวลง" นายจาริตร์ สิทธุ กล่าว "แต่สิ่งหนึ่งที่แน่นอนคือ ตลาดสมาร์ทโฟนยังคงขยายตัวต่อเนื่อง ด้วยยอดจำหน่ายราว 20 ล้านเครื่องในปี 2558"
จะมีผู้บริโภคหน้าใหม่สำหรับสินค้าหรือบริการด้านไอซีทีที่เกี่ยวเนื่องเพิ่มมากขึ้นในอนาคต ด้วยราคาที่สามารถซื้อหาได้และความคล่องตัวในการใช้งานของสมาร์ทโฟนได้ทำให้อุปกรณ์นี้ได้รับความนิยมมากที่สุดในช่วงที่ผ่านมา คาดว่าในปี 2560 ประชากรไทยจะมีการใช้สมาร์โฟนสูงถึงร้อยละ 70" นายจาริตร์ สิทธุ กล่าว "สำหรับผู้ใช้งานหลายล้านคนนี้ สมาร์ทโฟนถือเป็นอุปกรณ์ที่ทำให้พวกเขาเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้อย่างมีประสิทธิภาพ การเพิ่มขึ้นของประชากรกลุ่มนี้ที่เพิ่งจะเรียนรู้ไอทีและเริ่มใช้งานไอที ถือเป็นโอกาสสำคัญให้ผู้ให้บริการในการให้บริการหรือนำเสนอแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ อีกด้วย"
นวัตกรรมถัดไปที่จะเปลี่ยนแปลงตลาดจำเป็นจะต้องเป็นสิ่งที่มีความยั่งยืนในตลาด ไอซีทีของผู้บริโภค ไอดีซีคาดว่า อัตราการจำหน่ายของสมาร์ทโฟนกำลังจะลดน้อยลงในอนาคต สอดคล้องกับการหดตัวของตลาดแทบเล็ต ผู้บริโภคกำลังเริ่มมองหานวัตกรรม ที่คล้ายคลึงกันกับการปรากฏตัวของสมาร์ทโฟนเมื่อแปดปีที่ผ่านมา เป็นเรื่องโชคร้ายที่ สิ่งที่คาดว่าจะเป็นจุดหักเหที่สำคัญในปัจจุบันอย่างอุปกรณ์ติดต่อสื่อสารชนิดสวมใส่ (wearable) ยังไม่ได้รับการตอบรับที่ดีจากตลาดมากนัก และส่วนมากจะถูกจำกัดโดยหน้าที่การใช้งานเฉพาะเท่านั้น "อุปกรณ์ติดต่อสื่อสารชนิดสวมใส่นี้ค่อนข้างจะใกล้เคียงกับนวัตกรรมที่จะโดนใจและเข้าถึงผู้บริโภคลำดับถัดมา แต่กลับไม่พบเหตุผลที่ชัดเจนว่าทำไมตลาดทั่วไปถึงต้องใช้งานสิ่งนี้ในปัจจุบัน" นายจาริตร์ สิทธุ กล่าว "เราคาดว่าเวลาที่เหมาะสมในการทำตลาดสำหรับอุปกรณ์นี้น่าจะช่วงสิ้นปี 2559"
4G จะเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิตอล การใช้จ่ายด้านบริการโทรคมนาคมของประเทศซึ่งได้รับแรงหนุนมาจากปริมาณการใช้งานดาต้าที่เพิ่มขึ้น คาดว่าจะมีอัตราการเติบโตร้อยละ 6.2 ในปี 2558 และร้อยละ 6.5 ในปี 2559 การให้บริการเชิงพาณิชย์สำหรับเครือข่าย 4G ถือเป็นจุดหักเหที่สำคัญต่ออัตราการเติบโตไม่เพียงแต่ธุรกิจโทรคมนาคมเท่านั้นแต่ยังรวมถึงเศรษฐกิจของประเทศอีกด้วย
"ยังคงมีข้อสงสัยบางประการเกี่ยวกับเครือข่าย 4G ว่าจะเป็นรากฐานที่สำคัญสำหรับเศรษฐกิจดิจิตอลหรือไม่ ด้วยอัตราการรับส่งข้อมูลที่รวดเร็วของ 4G ได้มีส่วนในการเพิ่มผลผลิต สร้างนวัตกรรม ก่อให้เกิดการพัฒนาบริการใหม่รวมถึงการมีธุรกิจใหม่ ๆ เกิดขึ้น นายจาริตร์ สิทธุ กล่าว "เศรษฐกิจดิจิตอลนั้นจะเดินต่อไปได้หรือไม่นั้น ส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับโครงข่ายบรอดแบนด์ที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจึงเกินกว่าจะสามารถคาดเดาได้"
ไอดีซี หวังว่า ความต้องการใช้งาน 4G จะก่อให้เกิดการใช้บริการรับส่งดาต้าผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่สูงขึ้น หากบริการ 4G มีการเปิดประมูลใบอนุญาตเกิดขึ้นจริงภายในปี 2558 คาดว่าจะเริ่มมีการติดตั้งและวางโครงข่ายทำให้เราจะสามารถใช้บริการนี้ได้ในครึ่งปีหลังของปี 2559
ตลาดผู้บริโภคยังชี้นำตลาดไอซีที แต่สิ่งนี้กำลังเปลี่ยนไป การใช้จ่ายไอซีทีของกลุ่มผู้บริโภคมีสัดส่วนอย่างน้อยร้อยละ 65 แต่สัดส่วนดังกล่าวนี้คาดว่าจะลดลงตามลำดับในอนาคต การใช้จ่ายไอซีทีของภาคธุรกิจกับเริ่มเห็นแรงหนุนที่มาจากองค์กรธุรกิจต่าง ๆ เริ่มประยุกต์ใช้เทคโนโลยีแพลตฟอร์มที่ 3 เพื่อสร้างความยั่งยืนและคงความสามารถการแข่งขันของธุรกิจ ภาคธุรกิจคาดว่าจะมีอัตราการเติบโตของการใช้จ่ายร้อยละ 6.1 ในปี 2558 เพิ่มขึ้นจากปี 2557 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 4.4 อัตราการเติบโตดังกล่าวเป็นผลมาจากความต้องการใช้งานบริการด้านไอทีและการใช้ซอฟท์แวร์สำหรับองค์กรที่เพิ่มขึ้น
ภาคบริการทางการเงินยังคงเป็นกลุ่มหลักในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในยุคถัดไปมากที่สุด ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการลงทุนในด้าน ดาต้าเซ็นเตอร์ยุคใหม่ หรือการทำเวอร์ชวลไลเซชั่น ตลอดจนการให้บริการต่าง ๆ ผ่านคลาวด์ของกลุ่มธุรกิจจะเกิดขึ้นภายในปี 2559
แผนแม่บทเศรษฐกิจดิจิตอลเป็นอะไรที่มากกว่าเรื่องน่ายินดี แต่เรื่องนี้จะกระตุ้นการเติบโตตลาดไอซีทีหลังปี 2559 ไปแล้ว ในกรณีที่มีแผนแม่บทนี้จะผลักดันให้มีการปรับเปลี่ยนทั้งเศรษฐกิจของประเทศและอุตสาหกรรมไอซีทีของบ้านเรา อย่างไรก็ตาม ไอดีซีคาดว่า ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจริงอย่างเป็นรูปธรรมน่าจะเกิดขึ้นในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2559 เป็นต้นไป
"มีบางอย่างที่แน่นอนว่าในอีก 12 เดือนข้างหน้านี้เราจะได้เห็นประโยชน์ในอนาคตที่กำลังจะเกิดขึ้น สิ่งเหล่านี้ในเบืองต้นจะเป็นโครงข่ายสาธารณูปโภคด้านไอซีทีขนาดใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับสินค้าหรือการให้การบริการเพื่อสนับสนุนหน่วยงานภาครัฐฯ หรือองค์กรธุรกิจเอกชน" นายเสถียรพร สุวรรณสุภา นักวิเคราะห์ตลาด ประจำไอดีซีประเทศไทย "ผลกระทบนี้จะเริ่มขยายวงกว้างในที่สุด ตลาดผู้บริโภคจะเป็นกลุ่มสุดท้ายที่รู้สึกได้ถึงผลกระทบดังกล่าวนี้ แต่ตลาดกลุ่มนี้ อย่างไรก็ตามจะเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญที่จะทำให้แผนงานนี้ขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้หรือไม่"
ไอดีซีเชื่อว่า ส่วนที่มีความท้ายทายที่แท้จริงสำหรับเศรษฐกิจดิจิตอลจะมาจากการเกิดใหม่ของจำนวนผู้ประกอบการดิจิตอล นายเสถียรพร สุวรรณสุภา เสริม "ด้วยระบบ ไอซีที ทีพัฒนาให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น เราจะมีโอกาสอย่างมากในการกลายเป็นผู้ริเริ่มนวัตกรรมของภูมิภาคนี้ ลองนึกภาพการเป็นยักษ์ใหญ่เรื่องเทคโนโลยียุคใหม่ที่เริ่มมาจากประเทศไทย"
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit