สจล. งัดกลยุทธ์บันได 5 ขั้น สู่แลนด์มาร์กแห่งการพัฒนาประเทศไทย พร้อมโชว์ศักยภาพ 10 มิติการวิจัย ภายใต้แนวคิด “เจ้าแห่งนวัตกรรม”

20 Jul 2015
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ตั้งเป้าเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาประเทศไทย มุ่งสร้างบุคลากรชั้นนำตอบโจทย์ความต้องการของอุตสาหกรรมที่หลากหลาย ผ่านกลยุทธ์บันได 5 ขั้นสู่ความสำเร็จอันประกอบไปด้วย การปรับโครงสร้างการบริหารที่ดี มีความรวดเร็ว ฉับไว โปร่งใส ตรวจสอบได้ การสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการสู่ระดับสากล บนพื้นฐานการเรียนการสอนและหลักสูตรที่ทันสมัย พร้อมเสริมโอกาสในการลงมือปฏิบัติ การพัฒนากลุ่มวิจัยระหว่างคณะและสร้างนวัตกรรม ผสมผสานเทคโนโลยีจากแต่ละคณะในการทำวิจัยแบบบูรณาการ เช่น นวัตกรรมอาหารไทยเพื่อผู้ประสบภัยพิบัติและผู้สูงอายุ ที่ใช้องค์ความรู้จากคณะอุตสาหกรรมการเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ร่วมกัน การพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวย ปรับปรุงระบบขนส่งสาธารณะและปรับทัศนียภาพให้สวยงามด้วยการนำสายไฟฟ้าลงดิน การสร้างครอบครัวคุณภาพ แบ่งปันเรื่องราวดีๆ ที่เกิดจากบุคลากรและนักศึกษาของสถาบัน สร้างแรงบันดาลใจให้เป็นแบบอย่างของการพัฒนาอย่างมีคุณค่าแก่สังคม อย่างไรก็ดี นอกเหนือจากกลยุทธ์หลักบันได 5 ขั้น ทางสถาบันก็ยังมีความตั้งใจที่จะปลุกปั้นพื้นฐานสำหรับการพัฒนาประเทศในด้านใหม่ๆ เพิ่มเติม ด้วยแผนการตั้งคณะแพทย์ศาสตร์ โรงเรียนกฎหมาย และซูเปอร์ไฮสคูล เป็นต้น โดยมุ่งสร้างคนคุณภาพมาเสริมทัพในการขับเคลื่อนประเทศไทย ภายใต้แนวคิด "เจ้าแห่งนวัตกรรม: The Master of Innovation" พร้อมตอกย้ำวิสัยทัศน์ในการเป็นสุดยอดสถาบันชั้นนำด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 1 ใน 10 ของภูมิภาคอาเซียน ในปี 2563สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมสามารถสอบถามได้ที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กรุงเทพฯ หมายเลขโทรศัพท์ 02-329-8111 หรือเข้าไปที่ www.kmitl.ac.thศาสตราจารย์ ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ รักษาการแทนอธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวว่า การสร้างศักยภาพพื้นฐานด้านเศรษฐกิจ และความเป็นอยู่ของคนในสังคมถือเป็นปัจจัยสำคัญ

ในการขับเคลื่อนประเทศไทย เปรียบเสมือนบันไดสู่การพัฒนาชาติที่ไม่สามารถก้าวข้ามขั้น หากแต่ทุกภาคส่วนต้องร่วมกันปูทางให้มีความแข็งแรงและพร้อมจะสร้างความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีให้เกิดขึ้นกับประเทศไทยได้อย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งในส่วนของวงการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นับเป็นเวลากว่า 55 ปีที่ สจล.ได้มุ่งเน้นการในพัฒนาบุคลากรคุณภาพเพื่อป้อนสู่ตลาดนักพัฒนาสังคมไทย ตลอดจนนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการสร้างสรรค์นวัตกรรมให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมเสมอมา โดยในปี 2558 สถาบันพร้อมเดินหน้าเต็มกำลังตั้งเป้าหมายในการเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ร่วมเป็นหนึ่งฟันเฟืองในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจระดับมหภาคและการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ภายใต้แนวคิด "เจ้าแห่งนวัตกรรม: The Master of Innovation" ที่ตอกย้ำความเป็นเลิศทั้งด้านการปฏิบัติและทฤษฎีวิชาการ ผ่านการบริหารสถาบันด้วยกลยุทธ์บันได 5 ขั้นสู่ความสำเร็จ ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้กลยุทธ์ขั้นที่ 1 ธรรมาภิบาล และการบริหารที่ดี (Good Governance & Management) พัฒนาโครงสร้างการบริหารให้มีความเป็นเอกภาพ มุ่งเน้นการบริหารร่วมกันบนพื้นฐานความเข้าใจที่ตรงกันของบุคลากร ลดขั้นตอนในการดำเนินงานต่างๆ ให้มีความรวดเร็ว ฉับไว รวมไปถึงมีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ ผ่านการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ วางแผนเชิงรุกในการจัดสรรทรัพยากรมนุษย์ให้เพียงพอต่อความต้องการดำเนินงาน พร้อมผลักดันโครงการ "TECH SQUARE: ศูนย์การเรียนรู้และสันทนาการ" พัฒนาพื้นที่และอสังหาริมทรัพย์สร้างรายรับเข้าสู่สถาบัน เพื่อเป็นแหล่งทุนในการพัฒนาการศึกษาและการวิจัยอย่างยั่งยืนกลยุทธ์ขั้นที่ 2 สร้างความเข้มแข็งทางวิชาการสู่ระดับสากล (World Class Academic Programs) มุ่งเน้นการบูรณาการองค์ความรู้จากหลากหลายสาขาวิชาเข้าด้วยกัน เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของประเทศ บนพื้นฐานการเรียนการสอนที่ทันสมัย สร้างโอกาสในการลงมือปฏิบัติ พัฒนานวัตกรรม เสริมทักษะความเป็นผู้นำและการสื่อสารอย่างเต็มศักยภาพ พร้อมเสริมสร้างความเป็นนานาชาติเต็มรูปแบบ ด้วยการพัฒนาหลักสูตรภาษาอังกฤษขึ้นในทุกคณะของสถาบัน และจัดตั้งศูนย์ประสานงาน KMITL ในต่างประเทศ ตลอดจนพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือภาครัฐและเอกชนชั้นนำระดับประเทศและโลก เพื่อยกระดับคุณภาพของบัณฑิตต่อไปในอนาคตกลยุทธ์ขั้นที่ 3 พัฒนากลุ่มวิจัยระหว่างคณะ สร้างนวัตกรรม (Innovative Research Cluster)ยกระดับการวิจัยสู่ "RESEARCH CLUSTERS" ผลักดันให้เกิดงานวิจัยในรูปแบบของการบูรณาการเทคโนโลยีจากแต่ละคณะ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาสังคมไทย โดยรองรับด้วยการจัดตั้งศูนย์บูรณาการวิจัยเพื่อการแก้ไขปัญหาประเทศให้เป็นศูนย์กลางในการพัฒนานวัตกรรม พร้อมอัดฉีดงบประมาณสำหรับดำเนินงานการวิจัยรวมถึง100 ล้านบาทต่อปี อีกทั้งยังมีความตั้งใจในการลงนาม MOU กับมหาวิทยาลัยชั้นนำต่างๆ เพื่อพัฒนาศักยภาพนักวิจัยในการพัฒนานวัตกรรมอย่างไม่หยุดยั้ง โดยมีตัวอย่างกลุ่มของการวิจัยดังต่อไปนี้