จากผลการสำรวจ เมื่อถามถึงความรู้สึกของประชาชนเมื่อพบเห็นขอทานที่เป็นเด็ก พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 65.00 มีความรู้สึกสงสาร ร้อยละ 35.66 รู้สึกอยากให้การช่วยเหลือ ร้อยละ 27.17 ระแวงว่าไม่ใช่ขอทานจริงๆ ร้อยละ 19.02 รู้สึกอยากให้เงิน /สิ่งของ ร้อยละ 16.07 รู้สึกว่าเป็นภาระสังคม ร้อยละ 6.80 รู้สึกรำคาญ และร้อยละ 5.00 รู้สึกเฉยๆ
เมื่อสอบถามต่อไปว่าสิ่งที่จะทำหากขอทานเด็กมาขอเงิน พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 50.53 ยังไม่แน่ใจ ไม่ระบุ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ร้อยละ 34.73 ระบุว่าให้แน่นอน เพราะรู้สึกสงสาร อยากช่วยเหลือ เข้าใจถึงความลำบาก เป็นต้น และมีเพียงร้อยละ 14.74 ระบุว่าไม่ให้แน่นอน เพราะไม่สนับสนุนขอทาน ให้ประกอบอาชีพอื่น เป็นภาระสังคม เป็นต้น
ด้านความคิดเห็นต่อแนวทางในการช่วยเหลือ เพื่อแก้ไขปัญหาขอทานเด็ก ในฐานะที่เป็นเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ร้อยละ 91.32 โดยระบุแนวทางช่วยเหลือ 5 แนวทาง คือ 1) ส่งตัวเด็กหรือประสานงานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมารับตัวไป 2) ให้เงิน 3) ให้ที่พัก 4) ให้สิ่งของหรืออาหาร 5) แนะนำอาชีพหรือช่องทางเพิ่มรายได้ ในขณะที่ตัวอย่างส่วนหนึ่งหรือร้อยละ 8.68 ไม่มีแนวทางช่วยเหลือ เมื่อถามถึง ความเร่งด่วนในการแก้ไข “ปัญหาขอทานเด็ก” พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 81.82 มองว่า “ปัญหาขอทานเด็ก” ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน ขณะที่ ร้อยละ 2.97 ระบุว่า ไม่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน โดยหน่วยงาน สถาบัน หรือบุคคลที่ต้องเข้ามาดูแลหรือแก้ไขปัญหาดังกล่าว เกินกว่าครึ่งหรือร้อยละ 51.19 ระบุ กระทรวง (พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (จังหวัด) สถานสงเคราะห์ และบ้านพักเด็ก) ร้อยละ 13.39 ระบุตำรวจ ร้อยละ 10.38 ระบุมูลนิธิ องค์กรภาคเอกชน องค์กรสาธารณประโยชน์ ร้อยละ 6.91 ระบุว่า ครอบครัว ร้อยละ 6.15 ระบุว่า รัฐบาล ร้อยละ 4.14 ระบุว่า อบจ. /อบต. /เทศบาล ร้อยละ 4.06 ระบุว่า ผู้นำชุมชน /กำนัน /ผู้ใหญ่บ้าน และร้อยละ 1.21 ระบุว่า นายกรัฐมนตรี
เมื่อถามถึงการรับรู้ รับทราบว่า “การขอทาน” เป็นสิ่งผิดกฎหมาย พบว่า ประชาชนเกินกว่าครึ่งหรือร้อยละ 51.84 ประชาชนยังไม่ทราบ /ไม่แน่ใจว่า “การขอทาน” เป็นสิ่งผิดกฏหมาย ในขณะที่ตัวอย่างร้อยละ 48.16 ทราบว่า “การขอทาน” เป็นสิ่งผิดกฏหมาย เมื่อสอบถามถึงสิ่งที่จะทำหากพบเห็นขอทานเด็กที่ถูกแจ้งว่าหายตัวไปหรือโดนกักขัง บังคับให้มาขอทาน พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 81.28 ระบุว่าแจ้งเบาะแสกับหน่วยงานหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
ตำรวจ กระทรวงพัฒนาสังคมฯ สถานสงเคราะห์ มูลนิธิ และประธานชุมชน เป็นต้น รองลงมา ร้อยละ 13.48 ยังไม่แน่ใจ เพราะ ไม่ทราบข้อมูลที่แน่ชัดว่าเป็นเด็กที่หายตัวไปจริงหรือไม่ และร้อยละ 5.24 ระบุว่า จะไม่แจ้งเบาะแส
ท้ายที่สุด ประชาชนให้ข้อเสนอแนะและแนวทางในการแก้ไขปัญหา “ขอทานเด็ก” ที่เกิดขึ้นในสังคมไทยปัจจุบัน 3 ประเด็นแรก ประกอบด้วย ประเด็นที่หนึ่ง คือ ควรมีหน่วยงานที่รับผิดชอบทุกพื้นที่ทั่วประเทศ เช่น หน่วยงานเพื่อรับแจ้งเมื่อพบขอทานเด็ก รับขอทานเด็กมาให้การศึกษา ส่งเสริมความสามารถให้เด็ก ส่งเสริมการมีอาชีพ เป็นต้น ประเด็นที่สอง คือ รัฐบาลควรเร่งแก้ไขปัญหาขอทานเด็กอย่างจริงจัง และเร่งด่วน ประด็นที่สาม คือ ควรเริ่มจากครอบครัวให้ดูแลบุตรหลานตนเองอย่างใกล้ชิด คอยสอดส่องดูแลระวังมิจฉาชีพลักพาตัวเด็กไปขอทาน
เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 58.5 เป็นเพศหญิง และร้อยละ 40.6 เป็นเพศชาย ตัวอย่างร้อยละ 4.1 มีอายุต่ำกว่า 20 ปี ร้อยละ 27.2 มีอายุ 20 – 29 ปี ร้อยละ 25.8 มีอายุ 30 – 39 ปี ร้อยละ 19.5 มีอายุ 40 - 49 ปี และร้อยละ 23.4 มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 92.6 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 6.0 นับถือศาสนาอิสลาม และร้อยละ 1.4 นับถือศาสนาคริสต์ ตัวอย่างร้อยละ 21.7 ประกอบอาชีพข้าราชการ /ลูกจ้างของรัฐ ร้อยละ 12.1 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 20.6 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ อาชีพอิสระ ร้อยละ 5.4 ประกอบอาชีพประมง ร้อยละ 16.2 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป /ใช้แรงงาน ร้อยละ 9.5 พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ และร้อยละ 14.5 นักเรียน นักศึกษา ตัวอย่างร้อยละ 63.9 พักอาศัยอยู่ในเขตเทศบาล และร้อยละ 27.7 พักอาศัยอยู่นอกเขตเทศบาล
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit