ในส่วนของภาคผู้ประกอบการเห็นว่าความมั่นคงด้านพลังงานเป็นปัจจัยชี้ขาดขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคธุรกิจในระยะยาว เช่น หากไม่มีพลังงานเพียงพอที่จะใช้ในประเทศก็จะส่งผลต่อความแปรปรวนของต้นทุนด้านพลังงานของผู้ประกอบการ ซึ่งจะทำให้ไม่สามารถบริหารต้นทุนในการประกอบการได้ ซึ่งส่งผลต่อความเสี่ยงและความสามารถในการหากำไรของธุรกิจ
“การจัดหาพลังงานทั้งก๊าชธรรมชาติและน้ำมันดิบสำรองในรอบใหม่ทั้งในทางทะเลและทางบกก็เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในสถานการณ์ปัจจุบันที่จะต้องเตรียมรองรับกับปริมาณสำรองที่ลดลง ซึ่งขณะนี้มีอยู่ไม่มาก ทำให้ต้องเร่งหาแหล่งพลังงานสำรองไว้ล่วงหน้าในระยะเวลาที่พอเพียง ซึ่งรัฐบาลก็ได้แถลงนโยบายในเรื่องนี้ไว้แล้ว” นายสนั่น กล่าว
อย่างไรก็ตาม ในระยะที่ผ่านมา หอการค้าไทย ได้ตระหนักถึงปัญหาและผลกระทบจากความผันผวนของราคาพลังงานรวมทั้งการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการเกษตรจึงได้จัดทำยุทธศาสตร์พืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ อ้อย มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและรายได้ให้แก่เกษตรกรส่วนใหญ่ของประเทศขณะเดียวกัน และยังเป็นกลไกในการสร้างความมั่นคงด้านอาหารและพลังงานของประเทศโดยการนำมาแปรรูปเป็นเอทานอล ไบโอดีเซลสำหรับใช้ในภาคการขนส่ง ซึ่งเป็นการขับเคลื่อนแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกของกระทรวงพลังงานให้บรรลุเป้าหมายตามแผนในระยะ 10 ปี( พ.ศ.2555-2564) ที่สามารถลดการนำเข้าพลังงานของประเทศไปแล้วกว่า 2 แสนล้านบาท ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกไปแล้วกว่า 14 ล้านตัน กว่าเท่าตัวในปี 2564
นายสนั่น กล่าวว่า ความผันผวนของราคาพลังงานแม้ว่าจะมีแนวโน้มลดลงแต่คาดว่าจะเป็นช่วงสั้นๆในระยะยาวคาดว่าคงกลับฟื้นเข้าสูภาวะปกติ ซึ่งผลดีของราคาพลังงานที่ลดลงก็จะส่งผลต่อต้นทุนการประกอบการที่จะทำให้การบริหารต้นทุนดีขึ้น แต่อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการจะต้องบริหารจัดการต้นทุนด้วยความระมัดระวังมากขึ้นขณะเดียวกันผู้บริโภค ก็จะต้องไม่ใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย เนื่องจากนโยบายของรัฐบาลจะได้มีการปรับโครงสร้างราคาเชื้อเพลิงประเภทต่างๆให้สอดคล้องกับต้นทุนที่แท้จริง และเป็นไปตามกลไกของตลาดส่งผลทำให้ภาคการผลิตบางกลุ่มได้รับประโยชน์บางกลุ่มเสียประโยชน์ แต่ยังจำเป็นที่จะต้องคงนโยบายพลังงานทดแทนโดยไม่กระทบต่อต้นทุนของผู้บริโภค
ในส่วนนี้ หอการค้าไทย เห็นว่าการบริหารต้นทุนด้านพลังงานยังสามารถทำได้อีกมาก จึงได้จัดตั้งศูนย์ปรึกษาการประหยัดพลังงานเพื่อส่งเสริมให้ภาคธุรกิจมีการอนุรักษ์และประหยัดพลังงานในสถานประกอบการด้วยมาตรการต่าง ๆ เช่น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้พลังงานซึ่งไม่ต้องลงทุนแต่ประการใดและการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าประสิทธิภาพสูงเช่นหลอดไฟ LED หรือ อุปกรณ์เครื่องทำความเย็นประสิทธิภาพสูง ฯลฯ ซึ่งจะต้องลงทุนแต่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานได้มากและสามารถลดค่าใช้จ่ายพลังงานได้มากกว่า 30-50%ก็สามารถทำได้ทันทีสำหรับการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนจากพืชพลังงานทั้งชีวมวลและชีวภาพนอกจากจะเกิดผลดีต่อภาคเกษตรกรรมที่อุตสาหกรรมในขั้นกลางน้ำและปลายน้ำ เช่น อุตสาหกรรมไฟฟ้าชีวมวล อุตสาหกรรมเอทานอลอุตสาหกรรมไบโอดีเซล และอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ กับการสร้างมูลค่าของผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร จะเป็นแนวโน้มใหม่ของอุตสาหกรรมที่จะดูดซับส่วนเกินก๊าซเรือนกระจกจากพื้นที่เกษตรที่จะเพิ่มขึ้น และสร้างมูลค่าเพิ่มของผลผลิตทางการเกษตรที่จะสร้างอาชีพและรายได้ให้แก่เกษตรกรให้มีเสถียรภาพด้านราคาและเกิดความยั่งยืนในระยะยาว ซึ่งผลที่มีต่อสิ่งแวดล้อมก็จะช่วยลดการปล่อยก๊าชเรือนกระจกให้ลดลงและแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อน(Climate Change) ของประเทศ โดยการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากกว่า30 ตันต่อปี ในปี 2563 และเป็นการเตรียมการเจรจาการค้าโลกตามพันธะสัญญาที่ประเทศจะเปลี่ยนเป็นเงื่อนไขกีดกันทางการค้าของประเทศในอนาคตสรุปข้อเสนอแนะจากการเสวนาฯ ในครั้งนี้ ได้แก่1. หอการค้าไทยให้ความสำคัญด้านความมั่นคงด้านพลังงาน โดยมีการจัดหาพลังงานให้เพียงพอและมีราคาที่จูงใจและแข่งขันได้2. เน้นย้ำให้เห็นความจำเป็นต้องประหยัดพลังงานเพื่อให้เกิดผลในด้านการแข่งขันเชิงเปรียบเทียบ(Competitiveness) ในด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งจะลดผลกระทบต่อก๊าชเรือนกระจกและการกีดกันทางการค้า3. ให้รัฐมีทิศทางที่ชัดเจนในการส่งเสริมการลงทุนเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ ที่ก่อให้เกิดการกระจายความมั่งคั่งไปสู่ภาคใหญ่ของประเทศ คือ ภาคเกษตรกรรม4. หอการค้าไทยจะเป็นเวทีให้ความรู้แก่สาธารณะโดยเชิญผู้เชี่ยวชาญแต่ละด้านมาให้ความรู้ในประเด็นต่างๆที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit