สำหรับผลการตัดสิน รางวัลที่ 1 จำนวน 3 รางวัล ได้รับโล่พระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เงินรางวัลๆ ละ 300,000 บาทประเภทจิตรกรรม ได้แก่นายเดโช โกมาลา ชื่อผลงาน“วิถีใต้วิถีไทย 1”นายประดิษฐ์ ตั้งประสาทวงศ์ ชื่อผลงาน “สติ”ประเภทประติมากรรม ได้แก่ นายถนอม กองจันทร์ ชื่อผลงาน “จินตนาการจากแดนดง”รางวัลที่ 2 จำนวน 5 รางวัล เงินรางวัลๆ ละ 200,000 บาท พร้อมเกียรติบัตรประเภทจิตรกรรม ได้แก่นายชัยรัตน์ แสงทอง ชื่อผลงาน “ปลาตัวใหญ่”นายณัฐวุฒิ พวงพี ชื่อผลงาน “2 บ้าน”นายพระนาย เกษมถาวรศิลป์ ชื่อผลงาน “ร่องรอยชีวิตหมายเลข 8”ประเภทภาพพิมพ์ ได้แก่ นายจักรี คงแก้ว ชื่อผลงาน “เส้นสายในเมือง”ประเภทประติมากรรม ได้แก่ นายธวัชชัย ช่างเกวียน ชื่อผลงาน “มนุษย์กับธรรมชาติ 3”รางวัลที่ 3 จำนวน 10 รางวัล เงินรางวัลๆ ละ 100,000 บาท พร้อมเกียรติบัตรประเภทประติมากรรม ได้แก่นางสาวเดือนฉายผู้ชนะ ภู่ประเสริฐ ชื่อผลงาน “พื้นฐานของสรรพสิ่ง 2”นางสาวนอเดียนา บีฮิง ชื่อผลงาน “ที่บ้าน 2”นายธรรมรัตน์ โภคัย ชื่อผลงาน “ฤดูฝน 1”นายนิวัฒน์ ชูทวน ชื่อผลงาน “จังหวะของวิถีชีวิต 2”นายรัตนชัย ไชยรัตน์ ชื่อผลงาน “อบอุ่น”นายศิลปชัย ชูจันทร์ ชื่อผลงาน “เส้นสีขาว2”นายสันติ สีดาราช ชื่อผลงาน “มุม หมายเลข 1”นายสุวัฒน์ บุญธรรม ชื่อผลงาน “สัญญลักษณ์และร่องรอยแห่งอารยธรรม”ประเภทประติมากรรม ได้แก่นางสาวสุกัญญา สอนบุญ ชื่อผลงาน “รูปทรงเครื่องไม้ที่บิดเบี้ยวหมายเลข 2”นายพรสวรรค์ นนทะภา ชื่อผลงาน “ความทรงจำในวิถีชีวิตชนบทอีสาน”
ทั้งนี้ ธนาคารกำหนดจัดแสดงผลงานที่ได้รับรางวัล นิทรรศการศิลปกรรมกรุงไทย ครั้งที่ 1 ณ หอศิลป์กรุงไทย เยาวราช ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 28 มีนาคม 2558 (เว้นวันอาทิตย์และวันหยุดธนาคาร) รวมทั้งผลงานที่ได้รับการคัดเลือกอีก 110 ชิ้น เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจร่วมสัมผัสศิลปะในแนวคิด “กรุงไทย” นอกจากนี้ ธนาคารยังได้รับเกียรติจากคณะกรรมการตัดสิน นำผลงานจิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ สื่อผสม ร่วมจัดแสดงในครั้งนี้
นายนนทิกร กาญจนะจิตรา กล่าวในตอนท้ายด้วยความเชื่อมั่นว่า โครงการศิลปกรรมกรุงไทย จะเป็นอีกหนึ่งเวทีที่มีส่วนสนับสนุนศิลปินและเผยแพร่งานศิลปะอันทรงคุณค่า ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ อันเป็นการนำพาสังคมสู่ความเจริญงอกงามทั้งทางด้านจิตใจและความคิด ซึ่งธนาคารกรุงไทยได้ดำเนินธุรกิจ โดยคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม มุ่งเสริมสร้างทุนทางปัญญาผ่านโครงการ CSR ต่างๆ ให้กับทุกภาคส่วนของสังคมอย่างต่อเนื่องและเชื่อมโยงใน 4 มิติ ได้แก่ ด้านการศึกษา สังคมและสิ่งแวดล้อม ศิลปวัฒนธรรม และกีฬา โดยในด้านศิลปวัฒนธรรม ธนาคารได้สนับสนุนการจัดการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ พร้อมจัดตั้ง “รางวัลสนับสนุนโดยธนาคารกรุงไทย” ตั้งแต่ปี 2546 เพื่อสนับสนุนให้ศิลปินมีแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานเข้าประกวดในการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติอย่างต่อเนื่อง โดยนำผลงานที่ได้รับรางวัลมาตกแต่งและติดตั้ง เพื่อให้ลูกค้าและประชาชนได้ชื่นชมผลงานที่มีความงามและคุณภาพ จัดตั้ง หอศิลป์กรุงไทย โดยปรับปรุงพื้นที่อาคารสาขาเยาวราช สำนักงานใหญ่แห่งแรกของธนาคาร ที่มีรูปแบบสถาปัตยกรรมสไตล์ชิโน-โปรตุกีสอันสวยงามและเก่าแก่อายุเกือบ 60 ปี เป็นแกลเลอรี่ศิลปะร่วมสมัย สำหรับผลงานศิลปกรรมสะสมของธนาคาร และเปิดพื้นที่ให้ศิลปินได้แสดงนิทรรศการหมุนเวียน รวมทั้งจัดกิจกรรมสอนศิลปะสนับสนุนกิจกรรมเสริมการศึกษาแก่โรงเรียนในบริเวณใกล้เคียง และเผยแพร่กิจกรรมทางวัฒนธรรมต่างๆ รวมทั้งจัด สวนประติมากรรมกรุงไทย เพื่อจัดแสดงประติมากรรมขนาดใหญ่ในสวนแบบ Open-air Museum ที่ศูนย์ฝึกอบรมพนักงานที่อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา อีกด้วย