กิจกรรม “เมืองนี้ฉันรัก (We Love Cities)” ได้จัดขึ้นเป็นปีที่ 3 โดย WWF หรือ กองทุนสัตว์ป่าโลก ได้เชิญชวนให้เมืองต่างๆ รอบโลก เข้าร่วมในการสร้างความยั่งยืนและช่วยกันประหยัดพลังงาน โดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิได้พิจารณามาตรการต่าง ๆ รวมถึงพันธสัญญาของเมืองจากรายงานที่แต่ละเมืองจัดทำขึ้น เพื่อคัดเลือกเมืองต้นแบบของแต่ละประเทศสำหรับรางวัล “National Earth Hour Capital” ซึ่งจะมีการมอบรางวัลในวันที่ 9 เมษายน ที่จะถึงนี้ ณ กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้
โครงการ “ปลุกเมืองให้โลกเปลี่ยน” หรือ “Earth Hour City Challenge” มีวัตถุประสงค์เพื่อขับเคลื่อนมาตรการต่าง ๆ และการสนับสนุนของเมืองต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและระบบนิเวศของโลก เพื่อมุ่งสู่อนาคตที่ยั่งยืนที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานหมุนเวียน นอกจากนี้ WWF ยังต้องการให้เมืองต่างๆ จุดประกายให้ประเทศนั้นๆ สามารถเจรจาต่อรองด้านสภาพภูมิอากาศได้ ในการประชุมที่จะจัดขึ้น ณ เมืองปารีส ในเดือนธันวาคมนี้
WWF เปิดโอกาสให้คนทั่วโลกสนับสนุนความพยายามของเมืองต่าง ๆ ที่มุ่งสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน และการมีส่วนร่วมในกิจกรรม “เมืองนี้ฉันรัก หรือ We Love Cities” สำหรับประเทศไทยนั้น เทศบาลนครหาดใหญ่ จ.สงขลา, เทศบาลนครขอนแก่น จ.ขอนแก่น และเทศบาลตำบลมาบอำมฤต จ.ชุมพร คือ สามเมืองที่ได้รับการคัดเลือกในการแข่งขันครั้งนี้ โดยแต่ละเมืองมีวิธีการจัดการเมืองอย่างยั่งยืนที่แตกต่างกัน ผ่านการริเริ่มและการมีส่วนร่วมของเทศบาล ชุมชน โรงเรียน และภาคเอกชน อาทิ การผลิตกระแสไฟฟ้าจากมูลสัตว์ การฟื้นฟูป่าชายเลน การผลิตพลังงานชีวภาพจากน้ำมันที่เหลือใช้ ระบบการจัดการขยะและธนาคารขยะ การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ โดยสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมและโหวตให้เมืองเข้าชิงรางวัลระดับโลกได้ที่www.welovecities.org ตั้งแต่วันนี้จนถึง 16 มีนาคม และร่วมอัพโหลดรูปภาพของเมืองต่าง ๆ ในมุมที่ชื่นชอบผ่านทาง Instagramรวมทั้งเสนอแนวคิดที่จะสร้างเมืองให้น่าอยู่และยั่งยืนได้อีกด้วย
“หลายๆ เมืองกำลังมองหาวิธีการไปสู่การดูแลสภาพภูมิอากาศที่ดีขึ้น ขณะที่ในระดับประเทศอาจกล่าวถึงเพียงแนวทางการแก้ไขปัญหากว้างๆ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่แท้จริงนั้นเกิดขึ้นได้ทุกวัน ตั้งแต่โคมไฟถนนพลังงานแสงอาทิตย์ไปจนถึงระบบการคมนาคมสีขาวของเมืองต่างๆ ในโลก ด้วยความร่วมมือของ WWF หลายๆ เมืองได้รับแรงบันดาลใจในการตั้งเป้าหมาย การรายงาน รวมทั้งการให้ตัวอย่างที่น่าสนใจที่เป็นไปได้ในการแก้ปัญหา ไม่ใช่แค่กับเมืองแต่รวมถึงชุมชนอีกด้วย” ดร.คาริน่า บอร์กสตอร์ม-แฮนสัน ผู้นำโครงการ Earth Hour City Challenge กล่าว
WWF ได้ดำเนินงานร่วมกับ ICLEI (Local Governments for Sustainability) ในการเชิญชวนให้เมืองต่างๆ เข้าร่วมในกิจกรรมการปลุกเมืองให้โลกเปลี่ยน และให้แต่ละเมืองจัดทำรายงานในมาตรฐานของ carbonn Climate Registry (cCR)
“แต่ละเมืองต่างกำลังมองหาหนทางในการจัดการปัญหาและการเพิ่มมาตรการเกี่ยวกับการดูแลสภาพภูมิอากาศ และหลากหลายมาตรการได้ถูกแสดงผ่านทาง carbonn Climate Registry ของ ICLEI” จีโน แวน บีกิน เลขาธิการ ICLEI กล่าว
เมืองเคปทาวน์ ประเทศแอฟริกาใต้ ผู้ชนะของปีที่แล้ว ประสบผลสำเร็จในการใช้มาตรการลดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการพัฒนาไปสู่เมืองคาร์บอนต่ำ หรือแม้เต่เมืองชิคาโก โคเปนเฮเกน โซล และสตอล์คโฮม ก็มีกลยุทธ์และแผนการปฏิบัติงานที่มีนวัตกรรมที่ก้าวหน้าและครอบคลุม
“เมืองต่าง ๆ เป็นเสมือนจุดเชื่อมโยงไปสู่การรักษาสภาพภูมิอากาศให้ปลอดภัยในอนาคต และเพื่อที่จะก้าวไปสู่ความสำเร็จนั้น เราทุกคนจำเป็นต้องเร่งมือในการสนับสนุนมาตรการจากผู้กำหนดนโยบาย ภาคธุรกิจและสถาบันการเงินที่เตรียมการในการผลักดันให้ยกเลิกการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล และมุ่งสู่อนาคตแห่งพลังงานหมุนเวียน” ดร. คาริน่า บอร์กสตอร์ม-แฮนสัน กล่าวประเทศที่ได้รับการคัดเลือกเข้ารอบสุดท้ายทั้ง 16 ประเทศจากทั้งหมด 163 ประเทศ โดย 44 เมือง ได้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นที่จะสร้างสรรค์เมืองให้ไปสู่เมืองยั่งยืน ได้แก่ประเทศไทย : เทศบาลนครหาดใหญ่ จ.สงขลา, เทศบาลนครขอนแก่น จ.ขอนแก่น, เทศบาลตำบลมาบอำมฤต จ.ชุมพรประเทศบราซิล: เบโลโอรีซอนชี, รีโอเดอจาเนโร, เซาเปาโลประเทศแคนาดา: เอ็ดมอนตัน, นอร์ทแวนคูเวอร์, แวนคูเวอร์ประเทศโคลอมเบีย: บูคาร่ามังกา, มองเตเรีย, ซานเตียโกเดกาลีประเทศฟินแลนด์: เอสโป, ลาห์ตี, ตัมเปเรประเทศฝรั่งเศส: เบอซานซง, น็องต์, ปารีสประเทศอินเดีย: ปูเน่, ราชโกฎิ, ธาเนประเทศอินโดนีเซีย: บาลิก์ปาปัน, จาการ์ตา, เซมารังประเทศมาเลเซีย: เปตาลิงจายา, ชาห์อลัมประเทศเม็กซิโก: พูอีบลา, เอร์โมซีโย, โตลูกาประเทศสิงคโปร์ประเทศแอฟริกาใต้: โจฮันเนสเบิร์ก, เนลสัน แมนเดลา เบย์, ชวาเน่ประเทศเกาหลีใต้: ชางวอน, โซล, วอนจูประเทศสเปน: อาโกรุญญา, กอร์โดบาประเทศสวีเดน: เอสกิลสตูนา, กอเทนเบิร์ก, เวสเตโรสประเทศอเมริกา: คลีฟแลนด์, เอวันส์ตัน, ซีแอตเทิล
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit