“ตัวเมืองและบรอดเวย์มีตัวตนอยู่ในภาพยนตร์ การทำให้ภาพยนตร์ดูสมจริงมากที่สุดได้ จะมีที่ไหนดีไปกว่าที่นิวยอร์ค ความวิเศษอยู่ที่ที่นั่นเป็นศูนย์รวมของศิลปิน ผู้ชำนาญ และนักแสดงที่มีพรสววรรค์จำนวนมากที่นิวยอร์ค มันเหมาะกับละครเวทีและภาพยนตร์ที่อเลฮังโดรต้องการ” ผู้อำนวยการสร้างฯ จอห์น เลสเชอร์ กล่าว
ผู้สร้างภาพยนตร์ยังเลือกที่จะถ่ายทำภาพยนตร์เป็นส่วนใหญ่ เพื่อให้เรื่องราวมีความโดดเด่นสะดุดตา ต่างจากผลงานเรื่องอื่นๆ แต่ต้องใช้ความพยายามสูงเป็นพิเศษเพราะมีตารางเวลาถ่ายทำเพียงสั้นๆ “ความต่อเนื่องคือสิ่งสำคัญต่อการทำงานของอเลฮังโดร เช่นเดียวกับการศึกษาสิ่งที่อยู่ในตัวของริกแกน มันช่วยสนับสนุนภาพยนตร์ได้ครับ ในแต่ละวันไมเคิลสร้างผลงานสาธารณะ มีการกำหนดโทนที่เหมาะสมและจังหวะการเปลี่ยนแปลงงตัวละครของเขา เขาน่าทึ่งมากครับ” ผู้อำนวยการสร้างฯ จิม สกอตช์โดโพลกล่าว
กองถ่ายเก็บภาพในหนังส่วนใหญ่ที่โรงละครบรอดเวย์จริงที่ St. James on 44th Street ใจกลางย่านไทม์สแควร์ St. James มีเรื่องราวความเป็นมาถูกสร้างขึ้นบนพื้นที่ของ Sardi’s Restaurant แต่ดั้งเดิม เปิดตัวเมื่อปี 1927 และผลงานที่มีชื่อเสียงหลายเรื่องเปิดตัวกันที่นี่ อาทิเช่น “Native Son,” “Oklahoma,” “The King and I,” “The Pajama Game,” “Beckett” และล่าสุดคือ “Gypsy,” “American Idiot,” “Hair” และ “Bullets Over Broadway”
“ถือเป็นเรื่องที่คาดไม่ถึงที่มีการแสดงหนึ่งมาจัดที่โรงละครบรอดเวย์ และมีการถ่ายทำฉากภายในนานเหมือนกับที่เราทำ แต่โรงละครคือที่ตั้งมั่นสำหรับทุกอย่างในเรื่อง” ผู้จัดการด้านสถานที่วาคีน พรานเก้ กล่าว “นั่นเป็นความท้าทายที่ยิ่งใหญ่มาก การหาโรงละครที่สามารถใช้งานได้ตามตารางเวลาของพวกเรา เรามีการตัดออกประมาณ 6 แห่งจนอเลฮังโดรและทุกคนให้การยอมรับในประวัติความเป็นมา ภาพลักษณ์หน้าตา และอารมณ์ของที่นี่ ขณะที่มันมีความสง่างามมันก็มีชื่อเสียงมากด้วย มันมีความยากลำบากเป็นอุปสรรคและผมคิดว่ามันเหมาะกับสิ่งที่เขาตามหาเพื่อริกแกน เขาอยู่ในสถานที่ที่ไม่ใช่เวทีบรอดเวย์รอบปฐมทัศน์ มันอยู่ริมถนนไม่ใช่โรงละครบรอดเวย์ ซึ่งขณะที่การแสดงที่ประสบความสำเร็จอยู่รายล้อมรอบตัวเขา นี่คือโรงละครที่มีการแสดงหมุนเวียนหลายเรื่องและเรารู้สึกว่านี่คือสถานที่ที่จัดแสดงได้จริง”
“โลกของละครบรอดเวย์จะมีกำหนดเวลา พวกเขาทำการซ้อมทุกวันตั้งแต่ 8 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน ขณะที่เวลางานของเราขึ้นอยู่กับว่าเราจะถ่ายทำฉากไหนและเมื่อเราสิ้นสุด 1 วันล่วงหน้า ฉะนั้นสิ่งเล็กๆ น้อยๆ เหล่านั้นทำให้นักแสดงละครเวทีต้องใช้ชีวิตอย่างวนเวียน แต่พวกเขาก็เดินหน้าไปกับมันได้อย่างยอดเยี่ยม มันเป็นการเรียนรู้การทำงานสำหรับเราทุกคนเลย” พรานเก้กล่าวแน่นอนว่าภาพยนตร์เรื่อง BIRDMAN ต้องอาศัยโรงละคร St. James ซึ่งมีฉากหนึ่งที่นักแสดงต้องเลนฉากสุดท้ายของละครเรื่อง “What We Talk About When We Talk About Love” ต่อหน้าผู้ชมที่เป็นนักแสดงสมทบอย่างสดๆ มีการจัดล็อบบี้ของโรงละครและภายนอกขึ้นมาสำหรับภาพยนตร์
“ผมรู้ดีว่าเรื่องสำคัญของอเลฮังโดรคือการถ่ายทอดอารมณ์ของไทม์สแควร์และบรอดเวย์ กิจกรรมบนท้องถนน ผู้คน แสงไฟ การจราจร ความหนาแน่นของทุกสิ่ และ 44th Street ก็วิเศษมากเพราะมันตรงกับสภาพแวดล้อมของไทม์สแควร์ เราสัมผัสได้ถึงพลังที่อยู่ห่างออกไปเพียงหนึ่งช่วงตึก” พรานเก้อธิบาย
ผู้ออกแบบฉาก เควิน ธอมป์สันได้รับมอบหมายให้ประกอบ St. James เข้ากับฉากหลังเวทีที่สร้าขึ้นมาใหม่ และฉากห้องแต่งตัวที่ทีมงานของเขาสร้างขึ้นมาที่ Kaufman Astoria Studios “การคุยกันครั้งแรกระหว่างผมกับอเลฮังโดรคือโลกของเวทีของโรงละครและเบื้องหลังของมัน เขาให้ความสนใจกับสองสิ่งนั้นที่เหลื่อมล้ำกันมากผมคิดว่ามันคงเป็นความท้าทายอย่างน่าเหลือเชื่อหากมีโลกทั้งสองใบนี้มาบรรจบกัน รวมถึงไอเดียของการถ่ายทำภาพยนตร์ที่โรงละครบรอดเวย์ของจริง การออกแบบฉากต่างๆ สำหรับการแสดงและฉากห้องแต่งตัวหลังเวที ความซับซ้อนบนทางเดินที่มีความน่าสนใจมาก” ธอมป์สันอธิบาย
Birdman - All the World's a Stage : Making Birdman Featurette (ซับไทย) http://youtu.be/74lm0VqTsQMBirdman - Creating a World Featurette (ซับไทย)http://youtu.be/it6PGn3wYXQ
Birdman – มายาดาว
19 กุมภาพันธ์ นี้ในโรงภาพยนตร์
https://www.facebook.com/BirdmanMovieThailand
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit