"บลจ.ฟินันซ่า ประเมินว่า เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องแต่ยังขยายตัวในระดับต่ำ โดยแผนการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลมีความล่าช้า เนื่องจากต้องใช้เวลาในการศึกษาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการลงทุนในโครงการดังกล่าว ส่งผลให้การเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี 2558 ต่ำกว่าเป้าหมาย สำหรับทิศทางของอัตราดอกเบี้ยคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับต่ำที่ 2.00% ในการประชุมครั้งล่าสุด หากเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อยังคงขยายตัวในระดับต่ำเช่นนี้อาจมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มเติมในระยะถัดไป ด้านปัจจัยภายนอกประเทศ ยังมีความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกทั้งในยุโรป จีน ญี่ปุ่น และรัสเซีย แม้ว่าธนาคารกลางต่าง ๆ จะมีการใช้มาตรการผ่อนคลายทางการเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจแล้วก็ตาม โดยล่าสุดธนาคารกลางยุโรป (ECB) ประกาศเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลและเอกชนเดือนละ 60,000 ล้านยูโร โดยจะเริ่มเข้าซื้อตั้งแต่เดือนมีนาคม 2558 ถึงเดือนกันยายน 2559 และธนาคารกลางแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (PBOC) ได้ปรับลดอัตราการกันสำรองของธนาคารพาณิชย์ (RRR) ลง 0.50% ซึ่งจะช่วยเพิ่มสภาพคล่องในระบบได้ อย่างไรก็ตาม การกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยวิธีต่างๆ อาจต้องใช้เวลาระยะหนึ่งจึงจะเริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ชัดเจน นอกจากนี้กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้ปรับลดคาดการณ์ GDP โลกปี 2558 และ 2559 ลงมา ปัจจัยเหล่านี้เป็นปัจจัยที่กดดันการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง ท่ามกลางสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนเช่นนี้ การลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงในระดับต่ำและอัตราผลตอบแทนที่ดีจึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ”
บลจ.ฟินันซ่า จึงออกเสนอขายกองทุนตราสารหนี้ 6 เดือน ชื่อกองทุนเปิดฟินันซ่าตราสารหนี้พลัสโรลโอเวอร์ 6เดือน5 (FAM FIPR6M5) โดยมีอัตราผลตอบแทนโดยประมาณ 2.60% ต่อปี เปิดเสนอขายระหว่างวันที่ 23 ก.พ. - 2 มี.ค.2558 ซึ่ง เป็นกองทุนที่โรลโอเวอร์มาจากการขายกองทุนก่อนหน้านี้ เป็นกองทุน Specific fund ทั้งนี้กองทุนมีการป้องกันความเสี่ยงด้านการแลกเปลี่ยนเต็มจำนวนโดยกองทุนเปิดฟินันซ่าตราสารหนี้พลัสโรลโอเวอร์ 6เดือน5 (FAM FIPR6M5) จะพิจารณาลงทุนในตราสารแห่งหนี้ ตราสารทางการเงินและ/หรือ เงินฝากของภาครัฐและภาคเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ อาทิ เงินฝากธนาคารต่างประเทศสกุลเงิน USD, CNY, HKD, EUR, JPY กับธนาคาร BOC (Macau), Standard Chartered Bank (Hong Kong), ธนาคาร CIMB Niaga (Indonesia), ตั๋วเงินหรือเงินฝากธนาคารพาณิชย์ในประเทศ, ตั๋วแลกเงิน บมจ. ดั๊บเบิ้ล เอ(1991) (BBB), ตั๋วแลกเงิน บมจ. สวนอุตสาหกรรมโรจนะ (BBB+), ตั๋วแลกเงิน บมจ. ราชธานีลิสซิ่ง (BBB+) หรือตราสารหนี้ภาคเอกชนที่มีอันดับความน่าเชื่อถือตั้งแต่ BBB ขึ้นไป, ตั๋วเงินคลัง หรือ พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นต้น
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit