ยิบอินซอยและแย๊คส์ชูธุรกิจเพื่อการเกษตรแบบก้าวหน้าและยั่งยืน เน้นพัฒนาประเทศ ก่อนก้าวสู่เศรษฐกิจ AEC

14 Jan 2015
ปัจจัยที่แปรเปลี่ยนของธุรกิจการเกษตรส่งผลต่อทิศทางของตลาด จากการที่ภาคเกษตรเป็นอุตสาหกรรมหลักของประเทศ มีปัจจัยหลายด้านที่ส่งผลถึงธุรกิจการเกษตรโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยการเมือง เศรษฐกิจ สังคม นอกเหนือจากสภาวะทางธรรมชาติ ยิบอินซอยและแย๊คส์มีความเป็นห่วงเกษตรกรในภาวการณ์เช่นนี้ จึงเน้นทำหน้าที่หลักของบริษัทฯ คือ สรรหาผลิตภัณฑ์ เช่น ปุ๋ยหรือเคมีคุณภาพเพื่อตอบสนองการทำงานของเกษตรกร เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทำธุรกิจอย่างไม่เอารัดเอาเปรียบ ยิบอินซอยและแย๊คส์ถือว่าเกษตรกรมีบุญคุณต่อประเทศ และสิ่งที่ทำได้คือให้ความรู้และหาผลิตภัณฑ์คุณภาพมาให้ใช้

ตลาดหลักของยิบอินซอยและแย๊คส์ในส่วนของธุรกิจการเกษตร คือ ไม้ผล ปาล์ม ยาง ในส่วนไม้ผลนั้นจะเน้นเพื่อการส่งออกสู่ตลาดระดับพรีเมี่ยมเป็นหลัก สินค้าต้องคัดกรองตามมาตรฐานที่ชัดเจน ทั้งเรื่องคุณภาพ รูปลักษณ์ และ คุณภาพ ดังนั้น เกษตรกรผู้ใช้จะเลือกใช้เฉพาะสิ่งที่ดีที่สุดเท่านั้นเพื่อให้ผลผลิตออกมาดี จึงจะส่งออกได้ราคาดีเช่นกัน สำหรับยางและปาล์มเป็นกลุ่มตลาดที่ทำมาเป็นเวลานาน และมีแผนที่จะรุกสู่ตลาดอื่นตามกลไกความต้องการของตลาด อาทิ กลุ่มพืชไร่ เป็นต้น

ไม่เพียงลงทุนขยายธุรกิจ แต่หวังสร้างต้นแบบโรงงานเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

เพื่อขยายธุรกิจและกำลังการผลิตรองรับตลาดที่เติบโตขึ้น ยิบอินซอยและแย๊คส์ได้ดำริสร้างโรงงานผลิตปุ๋ยขึ้นที่อยุธยา ซึ่งยังอยูระหว่างการก่อสร้าง คาดว่าจะแล้วเสร็จในไตรมาสที่ 3 ของปี2558 จุดเด่นของโรงงานนี้คือ โรงงานต้นแบบอุตสาหการผลิตปุ๋ยแบบยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนท้องถิ่น คงสภาพธรรมชาติวิถีชีวิตท้องถิ่นดั้งเดิม มีการวางแผนการจัดการเพื่อให้โรงงานปลอดสารพิษ เป็นโรงงานตัวอย่างต้นแบบให้ชุมชนท้องถิ่นเปิดรับความเป็นไปได้ของการสร้างโรงงานที่ปราศจากสารพิษ และมีอยู่จริง สามารถดำรงชีวิตประจำวันปกติ เช่น เลี้ยงปลา ปลูกผักโดยรอบโรงงานเพื่อการบริโภคได้โดยที่ไม่เป็นพิษ ฉะนั้น ถือเป็นวิสัยทัศน์และนโยบายหลักของโรงงานที่จะต้องสร้างระบบปฏิบัติงานที่สภาพแวดล้อมไร้พิษ ไม่มีมลภาวะ และปราศจากสิ่งปฏิกูลที่เป็นพิษต่อพื้นที่ โดยจะได้แบ่งพื้นที่ส่วนหนึ่งจะเป็นแปลงทดลองให้กับบริษัท อีกส่วนหนึ่งมีบ่อน้ำ ส่วนหนึ่งจะเลี้ยงปลา หรือทำกสิกรรมเป้าหมายให้เหมือนกับโรงงานเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว และมีโรงงานอยู่ด้วย ทั้งนี้เมื่อเปิดทำการกำลังการผลิตน่าจะเติมเต็มตลาดส่วนนี้เพิ่มขึ้นได้อย่างสมบูรณ์

ปัญหาจากโรงงานผสมปุ๋ยเคมี คือ การฟุ้งกระจายของฝุ่น แต่โรงงานใหม่นี้เป็นระบบปิดทั้งหมด ตั้งแต่เริ่มกระบวนการปล่อยวัตถุดิบเข้าเก็บ ที่ออกแบบให้เป็นปล่องด้วยเทคโนโลยีขับเคลื่อนด้วยระบบลม จึงไม่มีการขนย้ายที่ผงฝุ่นฟุ้งกระจาย ขั้นตอนการผสมปุ๋ยนั้น เมื่อสิ้นกระบวนการ จะถ่ายลงมาสู่ถุงบรรจุโดยตรง ได้ความแม่นยำในการบรรจุถึง 99% จึงลดอัตราการฟุ้งกระจายของฝุ่น ถือได้ว่าเป็นโรงงานผลิตขนเข้าสู่กระบวนการบรรจุปุ๋ยที่เป็นระบบปิดสมบูรณ์แบบของประเทศไทย เป็นโรงงานปุ๋ยที่สร้างความตื่นเต้นทางนวัตกรรมอุตสาหกรรมนี้ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ยิบอินซอยและแย๊คส์พยายามจะทำให้เห็นว่าโรงงานเป็นเหมือนบ้านหลังหนึ่งที่เราสามารถดำเนินชีวิตควบคู่ไปกับการอยู่อาศัยและดำเนินชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการปลูกผัก เลี้ยงเป็ด เลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา และใช้ชีวิตอยู่ด้วยกันอย่างนั้นเลย ฉะนั้นโรงงานเรากับชุมชนไม่มีปัญหาแน่นอน

นอกจากนี้วิธีการปลูกสร้าง ยังเน้นรูปแบบวิถีถิ่นไทยภาคกลาง ออกแบบปลูกสร้างเพื่อรับมือฤดูน้ำหลาก จึงได้รับการขนานนามว่าเป็น ‘โรงงานลอยน้ำ’ แต่จริงแล้วตั้งอยู่บนเสาเข็มที่ออกแบบให้ใช้จำนวนค่อนข้างถี่ เพื่อตั้งตัวโรงงานให้ลอยขึ้นมาเหมือนบ้านไทยภาคกลางสมัยก่อนเพื่อหนีน้ำ และ สามารถใช้ประโยชน์ชั้นล่างได้อีก อาทิ จอดรถ เก็บของ การออกแบบชูแนวคิดเพื่อการดำรงอยู่แบบยั่งยืน สอดคล้องกับทำเลที่ตั้งของโรงงานซึ่งเป็นที่ลุ่ม หากมีกรณีน้ำท่วม น้ำจะไหลผ่านใต้โรงงานไปได้เลยเราไม่ต้องถมดินสูงขึ้นมา3 เมตรในเนื้อที่ 10 ไร่ ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายมหาศาล เป็นแนวความคิดที่ประยุกต์ใช้มาจากผู้ที่เคยทำแล้วประสบความสำเร็จมาก่อน และที่สำคัญโรงงานสามารถดำเนินการผลิตได้ต่อเนื่องขั้นตอนการผลิตแม่นยำด้วยเทคโนโลยี

จากเดิมโรงงานปุ๋ยเคยใช้ระบบการผสมวัตถุดิบแล้วตักแบ่งเข้ากระสอบชั่งน้ำหนัก ปัจจุบันได้นำเทคโนโลยีเข้ามาเป็นตัวบริหารควบคุม คือ bounce blending ทำให้การผสมปุ๋ยหนึ่งกระสอบบรรจุ 50 กก. ผสมทีละ 50 กก. และเข้าถุงบรรจุเลย ฉะนั้น จึงถูกต้องตามสูตรผสม ด้วยแม่ปุ๋ยแต่ละตัวที่เข้ามาอยู่ใน 50 กก. จะแม่นยำมีแร่ธาตุตรงตามที่กำหนด สำหรับปุ๋ยเม็ดผสมที่โรงงานที่อยุธยานี้ สำหรับปุ๋ยเกล็ดซึ่งอิงใกล้เคียงกับยามากกว่าจะอยู่อีกโรงงานหนึ่งที่บางปูไทยยังต้องการการพัฒนาอีกมาก ก่อนเข้าสนามเศรษฐกิจ AEC แรงงานเป็นเรื่องน่ากลัว

จากการศึกษาประเทศเพื่อนบ้านพบว่าเมื่อมองกลับมาที่ประเทศไทย ยังต้องการการพัฒนาอีกมาก จึงยังไม่จำเป็นต้องเร่งรุกเข้าตลาดอื่นหลังเปิดประเทศ ในส่วนที่บริษัทฯ เตรียมการ คือ การขยายกำลังการผลิตและการส่งออกสินค้า และใช้นโยบายสนับสนุนให้คู่ค้าเป็นผู้จัดการแต่ละตลาด ด้วยความเชี่ยวชาญ และความเข้าใจเฉพาะตลาดที่แตกต่างกันไป จึงต้องไว้วางใจและสนับสนุนความสามารถของพาร์ตเนอร์ในการปฏิบัติงานในประเทศต่างๆ แม้แต่ตามขอบชายแดน ตอนนี้บริษัทฯ เริ่มส่งสินค้าเข้าไปในพม่า ลาว โดยผ่านคู่ค้า ซึ่งเป็นผู้ทำตลาดและมีช่องทางการจัดจำหน่ายอยู่แล้ว เป็นวิธีการร่วมมือเพื่อความสำเร็จ

ทางการตลาด และคุณภาพจากแหล่งสินค้า ได้แก่ ยิบอินซอยและแย๊คส์ที่จัดหาคัดสรรสินค้าเพิ่อการขาย หลักการตลาดที่เรียบง่าย ทำในสิ่งที่ตนถนัด เติบโตไปได้ด้วยดีด้วยกัน

ประเด็นที่น่าห่วงสำหรับประเทศไทยคือแรงงาน เพราะเราใช้แรงงานที่มาประเทศเพื่อนบ้าน เมื่อใดที่ AEC เปิด แรงงานเหล่านี้จะกลับไปยังประเทศตน อาทิ นโยบายของผู้นำประเทศพม่าชัดเจนว่าจะดึงแรงงานของเขากลับ ฉะนั้น เขาจะสามารถดึงการลงทุนให้กลับไปอยู่ที่ประเทศได้ ดังนั้น บริษัทฯ จึงวางแผนเรื่องแรงงานให้อาศัยเครื่องจักรมากกว่าแรงงาน ปัจจุบันเราทดแทนการใช้แรงงานไปได้ 70% ด้วยเครื่องจักรที่นำมาติดตั้ง ก้าวสู่เศรษฐกิจ AEC คือการสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง

การเปิดประเทศเพื่อเข้าสู่ AEC ส่งผลเชิงบวกต่อธุรกิจของบริษัทฯ เนื่องจากธุรกิจของยิบอินซอยและแย๊คส์คือเทรดดิ้ง ดังนั้นการสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่งจึงเป็นการเสริมสร้างจุดแข็งที่แตกต่างให้แก่ธุรกิจ ซึ่งยั่งยืนมาจนถึงทุกวันนี้ได้ด้วย “แบรนด์” ที่เป็นที่ยอมรับ ผู้ใช้ให้ความเชื่อใจจากรุ่นสู่รุ่น การคัดสรรคุณภาพจะทำให้ลูกค้ามั่นใจและเชื่อใจในแบรนด์ว่าได้เลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้ลูกค้าเท่านั้น ดังนั้น แม้การเปิดเสรีจะสร้างความกังวลต่อหลายๆ ธุรกิจ แต่เคล็ดลับธุรกิจคือการสร้างแบรนด์ให้ได้รับความเชื่อถือจากกลุ่มลูกค้าอย่างมั่นคง แม้แต่ยักษ์ใหญ่อย่างจีนคงจัดการเราไม่ได้ง่ายๆ นวัตกรรมต้องเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ยิบอินซอยและแย๊คส์ทำธุรกิจแบบเทรดดิ้ง ได้พัฒนาการหลายด้านเพื่อปรับกลไกการดำเนินงานให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม เช่น การเปิดตัวสินค้าที่สามารถย่อยสลายได้เองไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม หรือการเปลี่ยนตัวผสมยาในกลุ่มยาฮอร์โมนเพื่อให้เป็นพิษน้อยลง และสิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การให้ความรู้ข้อมูลแก่เกษตรกรเพื่อการนำไปใช้อย่างถูกต้อง จะเกิดประโยชน์แบบยั่งยืน และสร้างความเข้าใจ อาทิ อายุการตกค้างและออกฤทธ์ของสารเคมีในปุ๋ยเกษตร เป็นต้น

การสร้างสังคมการเรียนรู้ และให้องค์ความรู้แก่ชุมชนเกษตรกรเป็นกลยุทธ์สำคัญที่ได้จัดให้มี Farmer Meeting โดยมีทีมส่งเสริมและทีม R&D ลงพื้นที่เพื่อพบปะให้ความรู้แก่เกษตรกร รวมทั้งเชิญลูกค้ามาแลกเปลี่ยนให้ข้อมูลเรื่องภาวะเศรษฐกิจ และข้อมูลของโปรดักส์ต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เป็นการต่อยอดสานความสัมพันธ์ธุรกิจจากรุ่นสู่รุ่นอย่างยั่งยืน เช่น ปีนี้ยิบอินซอยและแย๊คส์จะเริ่มจัดเซสชั่นของแผนกวัสดุก่อสร้างและเหล็กตามภาคต่างๆ โดยเชิญวิทยากรมาให้ข้อมูลความรู้

คุณยุพธัช ยิบอินซอย รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ยิบอินซอยและแย๊คส์ จำกัดกล่าวปิดท้ายว่า “ผมขอบอกว่ายิบอินซอยอยู่มาถึงวันนี้ 88 ปีได้ จริงๆ แล้วคือความซื่อสัตย์และความจริงใจต่อคู่ค้า ผมว่าเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เรามีวันนี้ได้เพราะคู่ค้า เราไม่เรียกว่าลูกค้า เราเรียกว่าคู่ค้าดีกว่า เพราะเราโตไปกับเขา เรามาอยู่ด้วยกัน เราโตด้วยกัน มันเหมือนครอบครัวมากกว่า ฉะนั้น เรามาอยู่ถึงวันนี้ได้ ต้องขอบคุณทุกคน ไม่ว่าจะเป็นผู้บริโภค คู่ค้าต่างๆ ซัพพลายเออร์ต่างๆ เราก็จะทำให้ดีที่สุด และจะอยู่คู่คนไทยไปตลอด ขอบคุณครับ”