ผู้นำสมาคมพุทธศาสนาเรียกร้องทั่วโลกขจัดความยากจนและแบนอาวุธนิวเคลียร์ในโอกาสครบรอบ 70 ปีสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง

26 Jan 2015
ไดซาขุ อิเคดะ ประธานสมาคมพุทธศาสนาโซคา งักไก อินเตอร์เนชั่นแนล หรือเอสจีไอ (Soka Gakkai International: SGI) ได้เผยแพร่ข้อเสนอเพื่อสันติภาพประจำปี 2558 ในหัวข้อ “ความร่วมมือเพื่อเพิ่มพูนมนุษยธรรมในอนาคต: ขจัดความทุกข์ให้หมดไปจากโลกใบนี้”

ข้อเสนอประจำปีนี้ ท่านอิเคดะได้ชื่นชมความพยายามในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ซึ่งเรียกร้องให้ประชาคมโลกร่วมกันยุติปัญหาความยากจนทั่วโลก เนื่องในโอกาสที่ยูเอ็นก่อตั้งครบ 70 ปี ท่านอิเคดะได้เรียกร้องให้มีการรำลึกถึงจิตวิญญาณของการจัดตั้งองค์กรขึ้นมา รวมถึงการสร้างเสริมความร่วมมือระหว่างยูเอ็น และประชาสังคม

ประธานเอสจีไอ ยังได้เน้นย้ำถึงความจำเป็นในการฟื้นฟูความเห็นอกเห็นใจทางด้านการเมือง และเศรษฐกิจบนพื้นฐานของความสามัคคีของสามัญชน ตลอดจนการมอบอำนาจเพื่อให้ประชาชนสามารถเอาชนะความทุกข์ยาก และการเปิดโลกให้กว้างขึ้นเพื่อเปิดใจสัมผัสกับมิตรภาพ และความเป็นห่วงเป็นใยผู้อื่นซึ่งถือเป็นพื้นฐานในการสร้างสันติภาพ เพื่อวางรากฐานไปสู่การขจัดความทุกข์ทรมานของมนุษย์ที่เกิดจากความยากจน และปัญหาความขัดแย้ง

นอกจากนี้ ท่านอิเคดะได้เปิดตัวข้อเสนเฉพาะด้านต่างๆเพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้ไร้ที่อยู่อาศัย และผู้ที่อยู่นอกประเทศบ้านเกิดอันเนื่องมาจากเหตุผลด้านเศรษฐกิจ ประธานยังได้นำเสนอเรื่องการปกป้องศักดิ์ศรี และสิทธิมนุษยชนของบุคคลเหล่านั้น ซึ่งเป็นหนึ่งใน SDGs พร้อมกับเรียกร้องให้มีการพัฒนาความร่วมมือระดับภูมิภาคเพื่อมอบอำนาจให้กับประชาชนผู้ไร้ที่อยู่อาศัยโดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก และตะวันออกกลาง รวมถึงการเดินหน้าพัฒนาโครงการนำร่องต่างๆในแอฟริกาตะวันตก

สำหรับการปลดอาวุธนิวเคลียร์ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของข้อเสนอของท่านอิเคดะนั้น ท่านอิเคดะชื่นชมกับเหตุการณ์สำคัญในเดือนตุลาคม 2557 ที่เขตแดน และประเทศต่างๆทั้ง 155 ประเทศได้ลงนามในแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยผลกระทบด้านมนุษยธรรมของอาวุธนิวเคลียร์ โดยกว่า 80% ของประเทศสมาชิกยูเอ็นพร้อมใจกันแสดงจุดยืนอย่างชัดเจนแล้วว่า อาวุธนิวเคลียร์ไม่ควรถูกนำมาใช้ไม่ว่าจะในสถานการณ์ใดก็ตาม

ท่านอิเคดะยืนยันว่า ขณะที่ช่องว่างระหว่างประเทศที่ครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ และประเทศที่เรียกร้องการปลดอาวุธนิวเคลียร์จะดูห่างกันมาก แต่ทุกประเทศก็มีเจตนาร่วมเดียวกันซึ่งก็คือ การหลีกเลี่ยงผลกระทบอันเลวร้ายที่เกิดจากการใช้อาวุธนิวเคลียร์ นอกจากนั้น ท่านประธานเอสจีไอ ยังได้กระตุ้นให้บรรดาหัวหน้ารัฐบาลเข้าร่วมการประชุมทบทวนสนธิสัญญาห้ามแพร่กระจายอาวุธนิวเคลียร์ (Nuclear Non-Proliferation Treaty: NPT) ประจำปี 2558 พร้อมทั้งเรียกร้องให้ผู้นำเหล่านี้ประกาศเจตจำนงว่า รัฐบาลของตนเองจะขจัดอันตรายใดๆที่เกิดจากอาวุธนิวเคลียร์

ทั้งนี้ คณะผู้ดำเนินงานกำลังเตรียมจัดการประชุมสุดยอดเยาวชนโลกเพื่อปลดอาวุธนิวเคลียร์ที่เมืองฮิโรชิมาในเดือนกันยายน ในฐานะโครงการร่วมมือระหว่างเอสจีไอ และองค์กรเอ็นจีโอต่างๆ ท่านอิเคดะหวังว่า ปฏิญญาของเยาวชนเพื่อยุติยุคสมัยแห่งอาวุธนิวเคลียร์จะถูกนำไปสานต่อ ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการปฏิบัติตามสนธิสัญญาห้ามใช้อาวุธนิวเคลียร์อีกแรงหนึ่ง

ไม่เพียงเท่านี้ ท่านอิเคดะยังได้เรียกร้องให้มีการสร้างความร่วมมือระดับภูมิภาค และการแลกเปลี่ยนเยาวชนระหว่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศจีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่นที่ท่านประธานเรียกร้องให้ร่วมมือกันเพื่อเป็นต้นแบบของความร่วมมือในระดับภูมิภาค

ท่านอิเคดะเน้นย้ำถึงความสำคัญของในการฟื้นฟูการประชุมสุดยอดไตรภาคีระหว่างจีน-เกาหลี-ญี่ปุ่น ตลอดจนเรียกร้องให้ผู้นำของทั้งสามประเทศร่วมฉลองครบวาระ 70 ปีของการสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ด้วยการให้คำมั่นว่า จะไม่กลับไปทำสงครามอีก และจะร่วมมือกันสนับสนุน SDGs

ในการประชุมระดับโลกเพื่อการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติสมัยที่ ๓ (World Conference on Disaster Risk Reduction) ของยูเอ็นที่เมืองเซ็นไดของญี่ปุ่น เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ท่านอิเคดะกล่าวว่า SGI จะจัดเวิร์คช็อปซึ่งตัวแทนของประเทศทั้งสามจะร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับแนวทางในการพัฒนาความร่วมมือระดับภูมิภาค เพื่อป้องกันภัยพิบัติ จัดกิจกรรมบรรเทาทุกข์ และการฟื้นฟูช่วงหลังภัยพิบัติ

ท่านอิเคดะยังปรารถนาที่จะได้เห็นการสร้างความร่วมมือระหว่างเยาวชนจีน-เกาหลี-ญี่ปุ่น ซึ่งเป็นช่องทางให้คนวัยหนุ่มสาวมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของยูเอ็น รวมทั้งช่วยผลักดันโครงการไตรภาคีอื่นๆ

ไดซาขุ อิเคดะ นักพุทธปรัชญา นักประพันธ์ นักสร้างสันติภาพ (พ.ศ. 2471-ปัจจุบัน) และประธานของสมาคมพุทธศาสนาโซคา งักไก อินเตอร์เนชั่นแนล (เอสจีไอ) ซึ่งเป็นองค์กรพุทธศาสนา ได้เผยแพร่ข้อเสนอเพื่อสันติภาพที่ได้แนะนำแนวทางในการรับมือกับความท้าทายระดับโลกทุกๆปีนับตั้งแต่ปี 2526

ปีนี้เป็นการครบรอบปีที่ 40 ของเอสจีไอ หลังจากก่อตั้งขึ้นที่เกาะกวมในวันที่ 26 มกราคม 2518 ในปัจจุบัน เอสจีไอเชื่อมโยงผู้คนกว่า 12 ล้านคนใน 192 ประเทศ และเขตแดนทั่วโลก ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติตนตามแนวทางพุทธธรรมของพระนิชิเร็น และบำเพ็ญประโยชน์เพื่อชุมชน ทางสมาคมได้ดำเนินกิจกรรมส่งเสริมสันติภาพ วัฒนธรรม และการศึกษา ตามหลักมนุษยธรรมของศาสนาพุทธที่มีมาอย่างยาวนาน

แหล่งข่าว: โซคา งักไก อินเตอร์เนชั่นแนล

ติดต่อ:

โจน แอนเดอร์สัน

สำนักงานข้อมูลสาธารณะ

โซคา งักไก อินเตอร์เนชั่นแนล

โทร. +81-80-5957-4711

แฟกซ์: +81-3-5360-9885

อีเมล: janderson[at]sgi.gr.jp

AsiaNet 59289