เมื่อสอบถามความเห็นว่าปัจจุบัน รายได้และสภาพคล่องการเงินของครอบครัวท่าน ส่งผลต่อความเชื่อมั่นในการใช้จ่ายเงินของท่านอย่างไร กลุ่มตัวอย่างกว่าร้อยละ 62.3 รายได้ เห็นว่ารายได้และสภาพคล่องการเงินของครอบครัวส่งผลต่อความเชื่อมั่นในการใช้จ่ายเงินในระดับปานกลาง รองลงมาร้อยละ 28.1 เห็นว่าอยู่ในระดับที่แย่ ร้อยละ 6.9 เห็นว่าอยู่ในระดับดี มีเพียงร้อยละ 2.7 ที่เห็นว่าอยู่ในระดับแย่มาก ทั้งนี้ไม่มีใครตอบว่าอยู่ในระดับดีมากเลย
เมื่อสอบถามความเห็นของชาวอีสานในอีกประมาณ 2- 3 เดือนข้างหน้า ต่อภาวะเศรษฐกิจและการค้าของจังหวัดจะเป็นอย่างไร กลุ่มตัวอย่างกว่าร้อยละ 65.5 เห็นว่าเศรษฐกิจและการค้าของจังหวัดจะยังคงทรงตัว รองลงมาร้อยละ 23.3 เห็นว่าเศรษฐกิจและการค้าจะดีขึ้น และอีกร้อยละ 11.2 ที่เห็นว่าจะแย่ลง
เมื่อสอบถามกลุ่มตัวอย่างว่า ในอีกประมาณ 2-3 เดือนข้างหน้า รายได้ต่อเดือนจากแหล่งต่าง ๆ ของครอบครัวท่านจะเป็นอย่างไรเมื่อเทียบกับปัจจุบัน กลุ่มตัวอย่างกว่าร้อยละ 73.0 เห็นว่ารายได้ของครอบครัวจะยังเท่า ๆ เดิม รองลงมาร้อยละ 15.8 เห็นว่าจะเพิ่มขึ้น และอีกร้อยละ 11.3 ที่เห็นว่ารายได้ต่อเดือนจากแหล่งต่าง ๆ ของครอบครัวจะลดลง
ในส่วนประเด็นของการหมุนเงิน/สภาพคล่องการเงินของครอบครัวในอีกประมาณ 2-3 เดือนข้างหน้าเมื่อเทียบกับปัจจุบันจะเป็นอย่างไร กลุ่มตัวอย่างกว่าร้อยละ 70.4 เห็นว่าการหมุนเงิน/สภาพคล่องการเงินของครอบครัวจะยังเท่า ๆ เดิม รองลงมาร้อยละ 17.2 เห็นว่าจะดีขึ้น และอีกร้อยละ 12.4 เห็นว่า จะแย่ลง
เมื่อนำข้อมูลมาคำนวณดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจอีสานในไตรมาสที่ 1/2558 พบว่าอยู่ที่ระดับ 107.1 ซึ่งแผ่วลงจาก 120.4 เมื่อเทียบกับผลสำรวจในไตรมาสที่ 4/2557 ค่อนข้างมาก ทั้งนี้เมื่อจำแนกตามเขตที่อยู่อาศัยระหว่างเขตเมือง และเขตชนบท จะเห็นว่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ ลดลงจาก ไตรมาสที่ 4/2557 ในการสำรวจครั้งที่แล้วพอสมควร โดยเขตเมืองมีดัชนีความเชื่อมั่นฯ อยู่ที่ระดับ 102.2 ซึ่งลดลงจาก 117.4 ส่วนเขตชนบทมีดัชนีความเชื่อมั่นฯ อยู่ที่ระดับ 110.6 ซึ่งลดลงจาก 123.5
เมื่อจำแนกตามการบริหารงานแบบบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด พบว่า กลุ่มจังหวัด อีสานตอนกลางเขต 12 ได้แก่ จังหวัดอุบลราชธานี อำนาจเจริญ ศรีษะเกษ และยโสธร มีดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจในอีก 3 เดือนข้างหน้าสูงสุด โดยอยู่ที่ระดับ 114.2 ซึ่งลดลงจาก 123.5 เมื่อเทียบกับผลสำรวจไตรมาสก่อน รองลงมา คือ กลุ่มจังหวัดอีสานตอนบนเขต 11 ได้แก่จังหวัด สกลนคร นครพนม และมุกดาหาร (หรือกลุ่มจังหวัดสนุก) มีดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจอยู่ที่ระดับ 109.7 ซึ่งลดลงจาก 122.0 ในไตรมาสที่แล้ว ตามมาด้วย กลุ่มจังหวัด อีสานตอนกลางเขต 12 ได้แก่ จังหวัดร้อยเอ็ด ขอนแก่น มหาสารคาม และกาฬสินธุ์ (หรือกลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์) มีดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจอยู่ที่ระดับ 109.4 ซึ่งลดลงจาก 128.9 ในไตรมาสที่แล้ว กลุ่มจังหวัดอีสานตอนล่างเขต 14 ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา สุรินทร์ ชัยภูมิ และบุรีรัมย์ มีดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจอยู่ที่ระดับ 109.0 ลดลงเล็กน้อยจาก 116.6 เมื่อเทียบกับผลสำรวจไตรมาสก่อน ส่วนกลุ่มจังหวัดกลุ่มอีสานตอนบนเขต 10 ได้แก่ จังหวัดอุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู และเลย (หรือกลุ่มจังหวัดสบายดี) พบว่ามีดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจอยู่ในระดับต่ำที่สุดลดต่อเนื่องติดต่อกัน 3 ไตรมาส โดยอยู่ที่ระดับ 92.2 ลดลงค่อนข้างมากจาก 115.5 เมื่อเทียบกับผลสำรวจไตรมาสก่อน เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่ปลูกยางพารามากที่สุดในภาคอีสานซึ่งต้องเผชิญกับราคายางที่ตกต่ำ
โดยสรุปเศรษฐกิจอีสานในไตรมาสที่ 1/2558 ยังต้องเผชิญกับปัญหาราคาตกต่ำของพืชเศรษฐกิจหลัก ปัญหาซบเซาของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในหัวเมืองจังหวัดใหญ่ และปัญหาระดับหนี้ครัวเรือนที่พุ่งสูงขึ้น ซึ่งภาคอีสานมีระดับหนี้ครัวเรือนต่อรายได้ครัวเรือนสูงที่สุด จึงส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นเศรษฐกิจอยู่ในระดับต่ำ ถึงแม้ราคาน้ำมันจะปรับลดลงมาค่อนข้างมาก แต่ก็ไม่ได้ช่วยสร้างความเชื่อมั่นในการใช้จ่ายของประชาชนมากนัก เนื่องจากระบบเศรษฐกิจต้องใช้เวลาซักพักเพื่อให้ภาคธุรกิจปรับลดราคาสินค้าตามต้นทุนการผลิตที่ลดลง ดังนั้นภาครัฐควรต้องเร่งให้ภาคธุรกิจปรับลดราคาสินค้าตามต้นทุนน้ำมันที่ลดลงและการเร่งใช้จ่ายของภาครัฐที่ยังไม่เป็นไปตามเป้า
ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง มีความเชื่อมั่นในการพยากรณ์ 99% และคลาดเคลื่อนได้บวกลบ 4% ประกอบด้วย เพศหญิง ร้อยละ 51.7 เพศชาย ร้อยละ 48.3 ส่วนใหญ่อายุ 36-45 ปี ร้อยละ 29.5 รองลงมา ร้อยละ 27.0 อายุ 46-55 ปี ร้อยละ 25.0 อายุ 26-35 ปี ร้อยละ 6.9 อายุ 56-60 ปี ร้อยละ 6.5 อายุ 18-25 ปี และร้อยละ 5.1 อายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป
ส่วนระดับการศึกษาส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษา/ต่ำกว่า ร้อยละ 39.0 รองลงมามัธยมศึกษาตอนต้น ร้อยละ 22.0 ปริญญาตรี ร้อยละ 21.5 มัธยมศึกษาตอนปลาย/ระดับปวช. ร้อยละ 10.7 อนุปริญญา/ปวส. ร้อยละ 4.7 ปริญญาโทหรือสูงกว่า ร้อยละ 2.1 ด้านอาชีพส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร ร้อยละ 39.1 รองลงมารับจ้างทั่วไป/ใช้แรงงาน ร้อยละ 16.3 อาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 13.2 พนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 10.3 รับราชการ/รัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 10.0 พ่อบ้าน/แม่บ้าน ร้อยละ 5.0 นักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 3.4 อื่นๆ ร้อยละ 2.5
ด้านรายได้เฉลี่ยต่อเดือนส่วนใหญ่อยู่ที่ 5,001-10,000 บาท ร้อยละ 33.1 รองลงมามีรายได้อยู่รายได้ไม่เกิน 5,000 บาท ร้อยละ 23.3 รายได้ระหว่าง 10,001-15,000 บาท ร้อยละ 19.8 รายได้ 15,001-20,000 บาท ร้อยละ 13.4 รายได้ 20,001-40,000 ร้อยละ 8.7 และรายได้มากกว่า 40,001 บาทขึ้นไป ร้อยละ 1.8
หมายเหตุ: นอกเหนือจากผลสำรวจซึ่งนำเสนอข้อมูลตามวิธีทางสถิติแล้ว ความคิดเห็นอื่นๆ ในผลสำรวจนี้เป็นความเห็นของผู้รับผิดชอบโครงการ ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับความเห็นของศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่นรายชื่อคณะผู้วิจัยรศ.ดร.กัลปพฤกษ์ ผิวทองงาม คณบดีคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่นและ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสานผศ.ดร.ศิริลักษณ์ ศุทธชัยรองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารผศ.ประเสริฐ วิจิตรนพรัตน์รองผู้อำนวยการฝ่ายอุตสาหกรรมสัมพันธ์ ผศ.ดร.สุทิน เวียนวิวัฒน์หัวหน้าโครงการสำรวจอีสานโพลเจ้าหน้าที่เก็บข้อมูลและประมวลผลนางสาวศิริพรรณ ยศปัญญานางสาวสงบ เสริมนา นางสาวศิรินันท์ บุตรพรมนางสาวกมลทิพย์ ศรีหลิ่งนางสาวกุสุมาวดี คำคอนสารนางสาวนันท์นภัส คำนำโชคนางสาวปุณิกา สิ่วศรีนางสาวพรสวรรค์ สว่างวงษ์นางสาวพิชญาภา จันศรีนางสาววลัยพร พิมศรนางสาววิไลวรรณ แปนเมือง