ประเทศไทยและกลุ่มประเทศในอาเซียนกำลังจะก้าวเข้าสู่ AEC ในปลายปี 2558 การท่องเที่ยวเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่จะเข้าสู่การเปิดเสรีตามข้อตกลงนี้ รัฐบาลจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมให้กับชุมชนและแหล่งท่องเที่ยว เพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่จะเกิดขึ้นนับจากนี้ไป
พันเอก ดร. นาฬิกอติภัค แสงสนิท ผู้อำนวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. กล่าวว่า อพท. ในฐานะหน่วยงานภาครัฐซึ่งมีภารกิจตามที่ได้รับมอบหมายในวัตถุประสงค์ของการก่อตั้งองค์กร คือ ต้องทำหน้าที่ประสาน ส่งเสริม และสนับสนุน ให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเกิดการพัฒนา ทั้งด้านการจัดการแหล่งท่องเที่ยว องค์ความรู้ การพัฒนาคนและกิจกรรมทางการท่องเที่ยว โดยมีเป้าหมายต้องเป็นการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยชุมชนเป็นผู้รับผลประโยชน์อันเกิดจากการพัฒนาและเติบโตของการท่องเที่ยว
ในปีงบประมาณ 2558 อพท. ได้รับจัดสรรงบประมาณ 505 ล้านบาท แบ่งเป็นใช้เพื่อดำเนินโครงการ 338 ล้านบาท จาก 66 โครงการทั้งโครงการต่อเนื่องและโครงการใหม่ใน 6 พื้นที่พิเศษ อีก 167 ล้านบาท เป็นงบดำเนินงานและค่าใช้จ่ายบุคลากร
สานต่อการทำงานผ่านภาคีเครือข่าย
การพัฒนาเพื่อให้เกิดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนตามรูปแบบของ อพท. คือมุ่งให้เกิดความสมดุลใน 3 มิติ คือ เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ด้วยรูปแบบการทำงานผ่านกระบวนการมีส่วนร่วม หรือโค-ครีเอชั่น (Co-Creation) ในรูปแบบการสร้างภาคีเครือข่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ การสร้างให้เกิดกระแสการท่องเที่ยวที่เป็นมิตร ต่อสิ่งแวดล้อม (Low Carbon Tourism) และการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ (Creative Tourism)
ดร. นาฬิกอติภัค กล่าวว่า การดำเนินงานของ อพท. ในช่วง 11 ปี ที่ผ่านมา มุ่งเน้น การพัฒนาศักยภาพชุมชนในพื้นที่พิเศษ ทั้งด้านการจัดการแหล่งท่องเที่ยว สถานประกอบการ และศักยภาพบุคลากร ซึ่งถือเป็นการวางรากฐานระบบการจัดการหลังบ้าน เพื่อให้ชุมชน พื้นที่ และผู้ประกอบการ มีความพร้อมในการรองรับนักท่องเที่ยว
สร้างกิจกรรมนำร่องให้นักท่องเที่ยวรับรู้
ในปี 2558 ซึ่ง อพท. เข้าสู่ปีที่ 12 ของการก่อตั้ง จะเพิ่มความเข้มข้นด้วยการขยายผลสำเร็จจากการวางรากฐานชุมชนในช่วง 11 ปี ที่ผ่านมา ออกมานำเสนอให้นักท่องเที่ยวได้รับรู้และสัมผัสกับกิจกรรมการท่องเที่ยวในรูปแบบของ อพท. ซึ่งจะเป็นกิจกรรมที่ก่อให้เกิดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนที่นักท่องเที่ยวสัมผัสได้จริง?
“จากที่ อพท. พัฒนาระบบหลังบ้านให้พื้นที่และชุมชนมีความรู้และความพร้อมด้านการจัดการรองรับนักท่องเที่ยวมาระดับหนึ่งแล้ว? ในปี 2558 อพท. ได้ขยายผลจัดทำโครงการนำร่อง เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสประสบการณ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในรูปแบบของ อพท. เป้าหมายให้นักท่องเที่ยวได้รับประสบการณ์ เกิดเป็นความรู้ความเข้าใจ และเป็นทางเลือกให้แก่นักท่องเที่ยว หรือเรียกว่าการปฏิบัติการทั้งระบบหลังบ้านและกิจกรรมหน้าบ้านควบคู่กันไป โดยมุ่งหวังให้ 6 พื้นที่พิเศษของ อพท. เป็นต้นแบบการบริหารจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ให้แก่พื้นที่ท่องเที่ยวอื่นๆ นำไปปรับใช้”
ทั้งนี้กำหนดจัดกิจกรรมนำร่อง 2 กิจกรรมให้กับโครงการ Low Carbon Tourism?คือกิจกรรม“แอ่วม่วนใจ๋ ไม่เอาถ่าน” ในพื้นที่พิเศษเมืองเก่าน่าน เป็นกิจกรรมนำร่องให้กับโครงการ Low Carbon การท่องเที่ยวแบบปลดปล่อยคาร์บอนต่ำ ?ให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสประสบการณ์การท่องเที่ยวแบบลดการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ กิจกรรมนี้มีแผนจะขยายไปยังพื้นที่พิเศษอื่นๆ ของ อพท. ด้วย ส่วนชื่อและรูปแบบกิจกรรมสามารถปรับให้เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่
ชุมชนมีรายได้เพิ่มจากการท่องเที่ยวกว่า 92%
อีกหนึ่งกิจกรรมในโครงการโลว์คาร์บอน คือ การท่องเที่ยวเชิงอาหาร (Gastronomy Tourism) นำเสนอเมนูโลว์คาร์บอนที่เป็นเมนูท้องถิ่นและใช้วัตถุดิบในการปรุงอาหารที่หาได้ในท้องถิ่นซึ่งไม่ต้องขนส่งจากพื้นที่อื่นไกล ช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในขั้นตอนการขนส่งวัตถุดิบ
ในด้านผลสำเร็จของการดำเนินงานปี 2557 ในส่วนของการจัดเก็บดัชนีชีวัดระดับความอยู่ดีมีสุขของชุมชนในพื้นที่พิเศษ 33 ชุมชน 748 ตัวอย่าง จาก 6 พื้นที่พิเศษ พบค่าดัชนีอยู่ที่ร้อยละ 75.47 ผ่านเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้ ที่ร้อยละ 60 ?
กิจกรรมเพื่อลดการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ ปี 2557 ดำเนินการใน 12 ชุมชนต้นแบบจาก 6 พื้นที่พิเศษ ลดการปล่อยคาร์บอนจากภาคการท่องเที่ยวได้ 436,722 กิโลคาร์บอน หรือลดลงจากปีก่อนร้อยละ 7.65 ส่วนกิจกรรมการเพิ่มรายได้ชุมชนให้แก่ 6 พื้นที่พิเศษ มีรายได้เพิ่มขึ้นจากปีก่อน ร้อยละ 92.26 เป็นรายได้ที่เกิดจากกิจกรรมการท่องเที่ยว โดยชุมชน การขายอาหารและของที่ระลึกให้แก่นักท่องเที่ยว
อย่างไรก็ตาม การพัฒนาชุมชนให้เกิดความเข้มแข็งและสามารถบริหารจัดการการท่องเที่ยวในชุมชนของตัวเองได้นั้น ย่อมส่งผลให้ชุมชนมีขีดความสามารถในการรองรับและจัดการการท่องเที่ยวได้อย่างยั่งยืนโดยมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการท่องเที่ยวอย่างแท้จริง
HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit