กรณีปัญหาหมอกควันในภาคเหนือในพื้นที่ภาคเหนือ สร้างความเสียหายคิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจ 20,000 ล้านบาทต่อปี สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มูลนิธิชีววิถี เครือข่ายเกษตรพันธสัญญา ได้จัดเวทีเสวนาวิชาการเรื่อง “ปลาป่น ข้าวโพด หมอกควัน น้ำท่วม และ อาหาร” ขึ้น ณ ห้องประชุมสถาบันวิจัยสังคม เมื่อวันที่ 8 เม.ย.ที่ผ่านมา
ดร.สฤณี อาชวานันทกุล กรรมการผู้จัดการด้านการพัฒนาความรู้ บริษัท ป่าสาละ จำกัด ในฐานะผู้ทำวิจัยเรื่อง การวิเคราะห์ การจัดการห่วงโซ่อุปทานของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เพื่อส่งเสริมการจัดการลุ่มน้ำอย่างยั่งยืนในจ. น่าน กล่าวว่า จากการศึกษาภาพถ่ายดาวเทียม GISTDA พบว่าระหว่างปี 2545-2556 มีพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดเพิ่มขึ้น 109% และ 61% เป็นพื้นที่ป่า ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้ระบบนิเวศเสื่อมโทรม หน้าดินถูกชะล้าง เกิดมลภาวะจาการเผา เพราะเกษตรกรต้องเผาเตรียมพื้นที่ เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกที่เป็นที่ดอน ขณะที่พื้นที่ ที่เป็นที่ราบยังไถกลบได้ ดังนั้นปัญหาหมอกควันจึงเกิดจากการเผาในที่ดอน
นอกจากนี้เกษตรกรเพาะปลูกบนพื้นที่ชันยังยากจน มีอำนาจต่อรองน้อย ขณะที่ในประเทศมีความต้องการอาหารสัตว์สูง ที่ผ่านมานโยบายของรัฐเพิ่มแรงจูงใจทางเศรษฐกิจ ทั้งการรับจำนาข้าวโพด ประกันราคา นอกจากมลภาวะจากเผาแล้วยังใช้สารเคมี เพราะเมื่อปลูกบนที่ดอนการปลูกจะยากกว่าที่ราบ จำเป็นต้องใช้สารเคมีในปริมาณมากขึ้น เกิดส่งผลกระทบต่อสุขภาพตามมา มีโรคทางเดินหายใจ ผิวหนังดร.สฤณี กล่าวอีกว่า ปัญหาหาการทำเกษตรในพื้นที่ในป่ายังก่อให้เกิดให้ดินถล่ม น้ำท่วมรุนแรง ซึ่งหลักเกณฑ์การปล่อยสินเชื่อของธกส.หากปล่อยสินเชื่อประมาณ 70% ตามกฏระเบียบต้องมีเอกสารสิทธิ์ของที่ดินถูกต้องตามกฎหมาย แต่พบว่าแม้เกษตรกรไม่มีโฉนดถูกต้องก็ขอสินเชื่อได้ และอีกแรงจูงใจที่ทำให้เกษตรกรปลูกข้าวโพดมาจาก พ่อค้าคนกลาง อำนวยความสะดวกรับซื้อผลผลิตถึงไร่
“ทั้งนี้ โรงงานที่เป็นผู้กำหนดราคาข้าวโพด โดยไม่นำประเด็นผลกระทบสิ่งแวดล้อมมาพิจาณาด้วย ขณะที่อุตสาหกรรมปลาป่นเริ่มไม่รับซื้อจากการประมงที่ทำลายทะเล ซึ่งบริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์ มีความคิดจะพัฒนามาตรฐานนี้โดยได้รับทุนจากสกว.จึงต้องติดตามต่อไปจะให้รับความสำคัญขนาดไหน ทั้งนี้แนวโน้มการทำไร่บนภูเขาน้อยลง เพราะไม่มีป่าให้บุกรุกแล้ว ขณะที่ผู้ประกอบการใช้วิธีการขยายไปที่ประเทศเพื่อนบ้านแทน” ดร.สฤณี กล่าว
ด้าน นายเตโช ไชยทัพ ผู้ประสานงานมูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (ภาคเหนือ) กล่าวว่า ปัญหาหมอกควันเกิดจากพื้นที่บุกรุกพื้นที่เพาะปลูกใหม่ เพราะมีชีวมวลในแปลงเกษตร 20,000-50,000 กก.ต่อไร่ขณะที่พื้นทีป่ามีชีวมวล 2,000 กก.ต่อไร่ดังนั้นถ้าจัดการปัญหาหมอกควันต้องหยุดการบุกรุกป่าเพื่อขยายพื้นที่การเกษตรใหม่ นอกจากยังพบปัญหาว่าเชียงใหม่มีพื้นป่า 10 ล้านไร่ แต่จำนวนเจ้าหน้าที่กรมป่าไม้ที่มีอย่างจำกัดสามารถดูแลป่าได้เพียง 2 ล้านไร่
นายเตโช กล่าวว่า ที่ผ่านมาการแก้ปัญหาการบุกรุกป่าไม่ประสบความสำเร็จ เพราะไม่สามารถจำแนกพื้นป่าทับซ้อนกับพื้นที่ทำกินได้ ดังนั้นจึงเสนอให้ลดเชื้อเพลิงก่อนเดือนมี.ค.-เม.ย. หรือการชิงเผา เพราะเคยทดลองในพื้นที่ป่าแปลงออบหลวง1 แสนไร่สามารถช่วยลดปัญหาหมอกควันได้
ด้านนายบรรจง นะแส นายกสมาคมรักษ์ทะเลไทย กล่าวว่า ในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์นอกจากมีข้าวโพดเป็นส่วนผสมแล้วยังมีปลาป่นผสมอยู่ 65 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นสารให้โปรตีน ดังนั้นเมื่อมีโรงงานรับซื้อ เรือประมงได้ใช้อวนขนาดเล็กจับปลาตัวเล็กตัวน้อยหรือปลาเป็ดขึ้นมาวันละ 300,000 ตัน ส่งขายโรงงานปลาป่นที่มีอยู่ 149 แห่งทั่วประเทศ ขณะที่หากปล่อยให้สัตว์น้ำชนิดนี้เช่นลูกปลาทู ลูกปลาอินทรี เติบโตต่อไปจะเป็นอาหารทะเลให้คนทั้งประเทศเพิ่มขึ้น 18 % ด้วย ระบบนี้ทำให้คนทั้งประเทศไม่เชื่อมั่นในระบบทะเล เปลี่ยนความนิยมไปบริโภคปลาที่เลี้ยงด้วยอาหารอย่างปลาทับทิม และปลานิลแทน ดังนั้นบริษัทซีพี เบทาโกร ต้องหยุดโรงงานปล่าป่นให้ได้
ด้านนายวิฑูรย์ เลี่ยงจำรูญ ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี (BIOTHAI) กล่าวว่า จากข้อมูลฮ็อตสปอต (Hotspot) หรือจุดเผาไหม้ มีความเชื่อมโยงกับพื้นที่ปลูกข้าวโพด เป็นแรงกระตุ้นให้เกิดการเผาไม่เกี่ยวกับชาวบ้านที่หาผักหวานป่า หาเห็ด พบว่าในปี 2550 ข้าวโพดมีราคาสูงจาก 5 บาทเป็น 7 บาทจนกระทั่งปี 2555ราคาข้าวโพดเพิ่มเป็นกิโลกรัมละ 9.35 บาททำให้เกิดฮ็อตสปอตเพิ่มเป็น 27,000 จุดเพราะมีแรงจูงใจจากข้าวโพด ขณะที่บริษัทที่เกษตรยักษ์ใหญ่ที่ส่งเสริมให้ปลูกข้าวโพดได้ประโยชน์จากขายเมล็ดพันธุ์ เฉลี่ยปีละ 1,200 ล้านบาท การปลูกข้าวโพดมีต้นทุน 2,631 บาทต่อไร่ ซึ่งการสร้างยุทธศาสตร์ครัวของโลกต้องแลกกับธุรกิจอาหารสัตว์ที่ทำลายป่า
ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี กล่าวว่า ได้เสนอให้มีการผลิตข้าวโพดเชิงเดี่ยวไปสู่การผลิตที่ยั่งยืน แก้ปัญหาผูกขาดด้วยการปลูกข้าวโพดไปเป็นอาหารสัตว์ เปลี่ยนเป็นปลูกข้าวโพดเพื่อเป็นวัตถุดิบในการเลี้ยงหมู เลี้ยงไก่เอง
ด้าน นายไพสิฐ พาณิชย์กุล อาจารย์จากศูนย์ศึกษาความเป็นธรรม คณะนิติศาสตร์ ม.เชียงใหม่ เปิดเผยว่า ในที่ประชุมมหาวิทยาลัยมีแนวคิดในการแก้ปัญหาหมอกควันแบบเดียวกับสิงคโปร์ โดยใช้พลังงของนศ.คนรุ่นใหม่ จะจับมือกันไม่ซื้อสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่เป็นต้นเหตุของหมอกควัน เพราะในอนาคตหากประเทศไทยโดนกลุ่มอียูไม่ให้ส่งออกสินค้า ความเสียหายอยู่ที่คนทั้งประเทศต้องแบกรับ ขณะที่ต้นตออยู่ที่บริษัทเกษตรรายใหญ่ของประเทศ ทั้งนี้เพราะระบบกฏหมายไม่สามารถเอาผิดไปถึงต้นตอของผู้ก่อมลพิษ เพราะคนเผาไม่ใช่บริษัท แต่เป็นชาวบ้าน ต้องแบกรักความเสี่ยงไว้เองทั้งถูกจับดำเนินคดี ทั้งเรื่องของภัยธรรมชาติ การกดราคาข้าวโพดเป็นต้น
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit