สาเหตุ มีเชื้อโรคหลายชนิดที่สามารถปล่อยสารพิษ (toxin) ออกมาปนเปื้อนในอาหารต่างๆ เช่น น้ำดื่ม เนื้อสัตว์ เป็ด ไก่ ไข่ นม อาหารทะเล และผลิตภัณฑ์จากนม เนยแข็ง ข้าว ขนมปัง สลัด ผัก ผลไม้ เป็นต้น เมื่อคนเรากินอาหารที่ปนเปื้อนสารพิษดังกล่าว ก็จะทำให้เกิดอาการปวดท้อง อาเจียน ท้องเดิน สารพิษหลายชนิดทนต่อความร้อน ถึงแม้จะปรุงอาหารให้สุกแล้ว สารพิษก็ยังคงอยู่และก่อให้เกิดโรคได้ ระยะฟักตัวขึ้นกับชนิดของเชื้อโรค บางชนิดมีระยะฟักตัว 1-8 ชั่วโมง บางชนิด 8-16 ชั่วโมง บางชนิด 8-48 ชั่วโมงอาการ อาหารเป็นพิษจากเชื้อโรคต่างๆ จะมีอาการคล้ายๆ กัน คือ ปวดท้องในลักษณะปวดบิดเป็นพักๆ อาเจียน (ซึ่งมักมีเศษอาหารที่เป็นต้นเหตุออกมาด้วย) และถ่ายเป็นน้ำบ่อยครั้ง บางรายอาจมีไข้และอ่อนเพลียร่วมด้วย โดยทั่วไป ถ้าเป็นไม่รุนแรง อาการต่างๆ มักจะหายได้เองภายใน 24-48 ชั่วโมง บางชนิดอาจนานถึงสัปดาห์ ในรายที่เป็นรุนแรง อาจอาเจียนและท้องเดินรุนแรง จนร่างกายขาดน้ำและเกลือแร่อย่างรุนแรงได้
อาจพบว่า ผู้ที่กินอาหารร่วมกันกับผู้ป่วย (เช่น งานเลี้ยง คนในบ้านที่กินอาหารชุดเดียวกัน) ก็มีอาการแบบเดียวกับผู้ป่วยในเวลาไล่เลี่ยกัน
1) การแยกโรค อาการท้องเดิน ท้องเสีย ถ่ายเป็นน้ำบ่อยครั้ง หรืออุจจาระร่วง อาจมีสาเหตุได้มากมาย ที่พบได้บ่อย มีดังนี้ถ้ามีไข้ร่วมด้วย นอกจากอาหารเป็นพิษแล้ว ยังอาจเกิดจากสาเหตุอื่น เช่น
แพทย์จะวินิจฉัยจากอาการแสดงของผู้ป่วยเป็นหลัก ได้แก่ อาการปวดท้อง อาเจียน ถ่ายเป็นน้ำ ซึ่งเกิดขึ้นฉับพลัน อาจมีประวัติว่าผู้ที่กินอาหารด้วยกันบางคนหรือหลายคน (เช่น งานเลี้ยง คนในบ้าน) มีอาการท้องเดินในเวลาไล่เลี่ยกัน ในรายที่มีอาการรุนแรง มีไข้สูง หรือสงสัยว่าเกิดจากสาเหตุอื่น แพทย์อาจทำการตรวจพิเศษเพิ่มเติม เช่น ตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ ตรวจอุจจาระ เป็นต้น ในรายที่เป็นเรื้อรัง อาจทำการถ่ายภาพลำไส้ด้วยรังสี หรือใช้กล้องส่องตรวจทางเดินอาหารเพิ่มเติมการรักษาแพทย์จะให้การรักษา ตามความรุนแรงของโรคดังนี้
1. ถ้ารุนแรงไม่มาก ยังกินได้ และขาดน้ำไม่มาก (ลุกเดินได้ ไม่หน้ามืด) ก็จะให้การรักษาตามอาการและให้ดื่มสารละลายน้ำตาลเกลือแร่ (แบบเดียวกับที่แนะนำในหัวข้อ “การดูแลตนเอง”)
2. ถ้ารุนแรง ถึงขั้นขาดน้ำรุนแรง (มีอาการใจหวิว ใจสั่น จะเป็นลม มือเท้าเย็น ปัสสาวะออกน้อยมาก) หรืออาเจียนรุนแรง ถ่ายรุนแรง หรือกินไม่ได้ ก็จะต้องรับตัวไว้รักษาในโรงพยาบาล โดยให้น้ำเกลือทางหลอดเลือดดำ จนกว่าจะทุเลา
3. ถ้าสงสัยเกิดจากสาเหตุอื่น ก็จะให้การรักษาตามสาเหตุที่ตรวจพบ เช่น ให้ยาปฏิชีวนะในรายที่พบว่าเป็นบิดชิเกลล่า หรืออหิวาต์ เป็นต้น การป้องกัน
1. ดื่มน้ำสะอาด
2. ควรล้างมือก่อนเปิบข้าวและหลังถ่ายอุจจาระ
3. กินอาหารที่สุกใหม่ ไม่มีแมลงวันตอม (แม้ว่าอาจป้องกันอาหารเป็นพิษจากเชื้อโรคบางชนิดไม่ได้ แต่ก็สามารถป้องกันการเกิดท้องเดินจากการติดเชื้ออื่นๆ เช่น บิด อหิวาต์) ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ คือ ภาวะขาดน้ำและเกลือแร่ ซึ่งพบในรายที่มีอาการถ่ายมาก อาเจียนมาก กินไม่ได้
ถ้าขาดน้ำรุนแรงและแก้ไขไม่ทันก็อาจเกิดภาวะช็อก (ตัวเย็น กระสับกระส่าย เป็นลม) ถึงขั้นเป็นอันตรายได้ โดยเฉพาะในเด็กเล็ก คนสูงอายุหรือมีโรคเรื้อรังประจำตัว (เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน)
การดำเนินโรคในรายที่เป็นเล็กน้อย มักจะหายได้เอง ภายใน 24-48 ชั่วโมง ในรายที่เป็นรุนแรง เมื่อได้รับสารละลายน้ำตาลเกลือแร่ หรือ น้ำเกลือ (ทางหลอดเลือดดำ) ก็มักจะป้องกันภาวะแทรกซ้อน และหายได้ภายใน 2-3 วัน (ไม่เกิน 1 สัปดาห์) ส่วนในรายที่เป็นรุนแรง และขาดการรักษาด้วยการทดแทนน้ำและเกลือแร่ ก็อาจเกิดภาวะขาดน้ำถึงขั้นอันตรายได้ภายใน 1 -2 วัน สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร สายด่วน 1645 กด 2 โรงพยาบาลธนบุรี 2 พุทธมณฑลสาย 2 ถนนบรมราชชนนี Facebook.com/Thonburi2Hospital
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit