2. การมีส่วนร่วมในโครงการตลาดเกษตรกรที่พบว่าสินค้าเกษตรโดยส่วนใหญ่ยังไม่ใช่สินค้าในกลุ่มพรีเมี่ยมหรือได้รับการรับรองมาตรฐาน Q มากนัก ดังนั้น กลุ่มเกษตรกรที่มีการรวมกลุ่มและผลิตสินค้าที่มีคุณภาพอยู่แล้วก็สามารถที่จะเข้ามาร่วมดำเนินการในโครงการนี้ได้ ซึ่งนอกจากจะเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าเกษตรไปยังผู้บริโภคกลุ่มรายได้ปานกลางถึงสูงแล้ว ยังเป็นอีกหนึ่งกลไกสำคัญที่จะทำให้กลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตสินค้าเกษตรได้รับทราบถึงความต้องการของผู้บริโภคได้โดยตรงว่าต้องการสินค้าประเภทใด ควรจะปรับปรุงรูปแบบสินค้าไปในทิศทางไหนเพื่อให้การผลิตสินค้าตรงตามความต้องการของตลาดได้
3. การให้ข้อมูลเกษตรกรที่ควรจะได้รับความช่วยเหลือจากภาครัฐอย่างแท้จริง ซึ่งคาดว่าในอีกประมาณ 2 – 3 เดือนข้างหน้านี้จะได้มอบหมายให้กรมส่งเสริมสหกรณ์และกรมส่งเสริมการเกษตรจะลงพื้นที่สำรวจข้อมูลเกษตรกรที่ยากจนจริงๆ และยังไม่เคยได้รับการช่วยเหลือจากภาครัฐผ่านโครงการต่างๆ ที่ก่อนหน้านี้รัฐบาลได้ดำเนินการไปแล้ว เช่น ช่วยเหลือชาวนา และชาวสวนยางไร่ละ 1 พันบาท หรือโครงการสร้างรายได้และ พัฒนาการเกษตรแก่ชุมชน เพื่อบรรเทาปัญหาภัยแล้งระดับจังหวัด หรือโครงการเกษตรแก้ภัยแล้งตำบลละล้านบาท ที่พบว่าโดยส่วนใหญ่เป็นในเรื่องโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ ซึ่งกลุ่มเกษตรกรในหลายๆ กลุ่มได้รับประโยชน์จากโครงการดังกล่าว แต่ก็ได้เน้นย้ำแนวคิดในการนำเสนอโครงการหากภาครัฐมีโครงการช่วยเหลือดังกล่าวในอนาคตอีกว่า ควรจะเป็นโครงการที่สร้างประโยชน์ในหลายระดับไม่เพียงแค่การจ้างงานและเก็บเกี่ยวผลผลิตเท่านั้น แต่น่าจะช่วยเพิ่มรายได้และลดต้นทุนไปควบคู่กันด้วย
“รัฐบาลชุดปัจจุบันให้ความสำคัญกับการรวมกลุ่มเกษตรกรเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นรากฐานในการพัฒนาการเกษตร และเป็นกุญแจสำคัญในการเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆ ไปถึงหน่วยงานภาครัฐ และการเข้าถึงมาตรการโครงการช่วยเหลือต่างๆ ซึ่งหลายโครงการที่จะดำเนินการต่อไปนั้นขณะนี้อยู่ในระหว่างการนำเสนอคณะรัฐมนตรี เช่น การจัดตั้งศูนย์ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวให้เพียงพอต่อความต้องการในการผลิตแต่ละปี หากผ่านมติครม.แล้วก็จะมีการประกาศแนวทางการให้ความช่วยเหลือที่ชัดเจนต่อไป แต่ทั้งนี้ เกษตรกรต้องร่วมกลุ่มกันในขนาดที่พอเหมาะไม่ใช่เพียงแค่ 10 – 20 คน เพื่อให้การเข้าถึงมาตรการต่างๆ ได้ประโยชน์ถึงเกษตรกรรายย่อยอย่างแท้จริง” นายปีติพงศ์ กล่าว