ทีมเยาวชนจากประเทศไทย คว้าชัยติดต่อกันเป็นปีที่ 5 ในการแข่งขัน เชลล์ อีโคมาราธอน เอเชีย
ทีมเยาวชนจากประเทศไทย พิชิต 3 รางวัลชนะเลิศ และกวาดรางวัลมากที่สุดจากการแข่งขันเชลล์อีโค-มาราธอน เอเชีย โดยปีนี้มีทีมนักเรียนนักศึกษากว่า 120 ทีม จาก 17 ประเทศทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก รวมทั้งตะวันออกกลางและออสเตรเลียเข้าร่วมการแข่งขัน ณ สนามลูเนต้า พาร์ค ใจกลางกรุงมะนิลา
ความโดดเด่นของการแข่งขันในปีนี้ นอกจากจะมีประเทศที่เข้ามาแข่งขันหน้าใหม่เป็นปีแรก นั่นคือ ออสเตรเลีย บังคลาเทศ โอมาน และ ซาอุดิอาระเบีย ทีมที่ชนะในปีนี้ได้สร้างสถิติใหม่ในการแข่งขันด้วยระยะทางที่ไปได้ไกลขึ้นถึง 5 ทีม โดยในปีนี้มีการเลือกใช้เชื้อเพลิงที่แตกต่างกันถึง 7 ประเภทด้วยกัน แต่ละทีมสามารถส่งรถประหยัดพลังงานเข้าร่วมการแข่งขันได้ 2 ประเภทได้แก่ ประเภท Prototype รถต้นแบบในอนาคตสร้างสรรค์โดยอาศัยหลักการพลศาสตร์และการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงอย่างมีประสิทธิภาพ และประเภท Urban Concept การออกแบบยานยนต์ที่ประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งมีรูปลักษณ์คล้ายกับรถยนต์ในปัจจุบัน รถทั้งสองประเภทสามารถเลือกเชื้อเพลิงได้ตามต้องการ
ผลการแข่งขันจะวัดว่า แต่ละทีมได้แสดงความสามารถอย่างเต็มที่ในการออกแบบรถที่ประหยัดน้ำมันสูงสุดในสภาพแวดล้อมจริง โดยตัดสินกันที่รถของทีมที่วิ่งได้ระยะทางไกลที่สุดด้วยน้ำมันเพียงหนึ่งลิตร หรือเทียบเท่าการใช้พลังงานไฟฟ้าหนึ่งกิโลวัตต์ หรือ ไฮโดรเจนหนึ่งลูกบาศก์เมตรและทีมที่ชนะในปีนี้ได้สร้างสถิติใหม่ในการแข่งขันด้วยระยะทางที่ไปได้ไกลขึ้นถึง 5 ทีมทีมเยาวชนไทยกวาด 3 รางวัลชนะเลิศ พร้อมสร้างสถิติใหม่
ทีม NSTRU Eco-Racing จากมหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช สามารถสร้างสถิติใหม่ประเภทรถยนต์ต้นแบบแห่งอนาคต ซึ่งใช้เชื้อเพลิงแบตเตอรี่ ด้วยระยะทาง 451 กิโลเมตร/กิโลวัตต์-ชั่วโมง ทีม ATE 1 จากโรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์ ช่างกล ขส.ทบ. ชนะเลิศประเภทรถต้นแบบแห่งอนาคต ซึ่งใช้เชื้อเพลิงเบนซิน ด้วยระยะทาง 1490 กิโลเมตร/ลิตร ขณะที่ทีมVIRGIN จากวิทยาลัยเทคนิคสกลนคร คว้ารางวัลชนะเลิศในปีนี้ ประเภทรถต้นแบบแห่งอนาคต ใช้เชื้อเพลิงเอทานอล สามารถทำสถิติวิ่งได้ในระยะทางไกลที่สุดในการแข่งขัน 1,572 กิโลเมตร/ลิตร ถือเป็นสถิติสูงสุดในการแข่งขันของปีนี้ และเทียบเท่ากับระยะทางจากกรุงมะนิลาไปยังกรุงโฮจิมินท์ ซิตี้
“ทีมของเราต้องการท้าทายตัวเองด้วยประเภทของเครื่องยนต์ เราตัดสินใจที่จะสร้างรถใหม่ด้วยวัสดุคาร์บอน ไฟเบอร์ ซึ่งทำให้รถมีน้ำหนักเบา” นายประมวล รอนยุทธ์ อาจารย์ที่ปรึกษาของทีมสกลนคร กล่าว “เราภูมิใจเป็นอย่างมากในผลการแข่งขัน เชลล์ อีโค-มาราธอน เอเชียเป็นเวทีการแข่งขันนานาชาติที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาที่สนใจสร้างรถประหยัดพลังงานได้เข้ามาแข่งขันพร้อมทั้งได้เรียนรู้จากทีมของประเทศอื่นๆ อีกด้วย”
นอกจากนี้ อีก 3 ทีมของประเทศไทย ยังคว้ารางวัลรองชนะเลิศในรถยนต์ประเภทต้นแบบแห่งอนาคต ใช้เชื้อเพลิงดีเซล ได้แก่ทีมปัญจะ จากวิทยาลัยเทคโนโลยีช่างฝีมือปัญจวิทยา ด้วยระยะทาง 530.7 กิโลเมตร/ลิตร ทีมลูกเจ้าแม่คลองประปา จากมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เชื้อเพลิงเอทานอล ด้วยระยะทาง 458.8 กิโลเมตร/ลิตร ทีมวิทยาลัยเทคโนโลยีรัตนโกสินทร์ ใช้เชื้อเพลิงประเภทแบตเตอรี่ไฟฟ้า ด้วยระยะทาง 368.7 กิโลเมตรต่อกิโลวัตต์-ชั่วโมง และทีมวิทยาลัยเทคนิคดอนเมืองได้ที่สองประเภทรถที่คล้ายกับรถปัจจุบันจากเชื้อเพลิงประเภทเบนซิน ด้วยสถิติ 76.9 กิโลเมตร/ลิตร
มร. นอแมน คอช ผู้อำนวยการด้านเทคนิค เชลล์ อีโค-มาราธอน กล่าวว่า “ผมมีความภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง ที่เห็นจำนวนทีมและจำนวนประเทศที่เข้าร่วมการแข่งขันกันมากขึ้นในปีนี้ เป็นที่น่าประทับใจว่า มีผู้เริ่มการแข่งขันใหม่จากประเทศ ออสเตรเลีย บังคลาเทศ โอมาน และ ซาอุดิอาระเบีย ซึ่งสามารถลงแข่งในสนามและทำสถิติได้ดี ผมยินดีต้อนรับทีมใหม่ๆ ที่จะเข้าร่วมการแข่งขันอีกในปีหน้า”5 ทีม สามารถสร้างสถิติใหม่ในการแข่งขัน ได้แก่ญี่ปุ่น อินโดนีเชีย เวียตนาม มาเลย์เชีย และประเทศไทย
ทีม Hyogo Prefectural Tajima Technical Institute จากญี่ป่น ซึ่งใช้เชื้อเพลิงดีเซล ลงแข่งขันในประเภทรถต้นแบบในอนาคต Prototype สามารถทำสถิติใหม่วิ่งได้ระยะทาง 1,245 กิโลเมตร/ลิตร ซึ่งวิ่งได้ไกลมากเป็น 2 เท่าของผู้ชนะในประเภทเดียวกันของปีที่แล้ว รวมถึงทีม Institut Teknologi Sepuluh Nopember จากอินโดนีเซีย ซึ่งใช้เชื้อเพลิงดีเซล สามารถทำสถิติวิ่งได้ระยะทาง 153 กิโลเมตร/ลิตร ในประเภทรถยนต์มีรูปลักษณ์คล้ายรถที่ใช้ในปัจจุบัน
อีก 3 ทีมทีสามารถทำสถิติใหม่ในการแข่งขันด้วยระยะทางที่วิ่งได้ไกลขึ้น ได้แก่ ทีม Gold Energy of Lac Hong University,จากเวียดนามซึ่งชนะการแข่งขันในประเภทรถยนต์มีรูปลักษณ์คล้ายรถที่ใช้ในปัจจุบัน ใช้เชื้อเพลิงเอทานอล ในระยะทาง164 กิโลเมตร/ลิตร ขณะที่ ทีม Team NSTRU Eco-Racing จากมหาวิทยาลัยราภัฏนครศรีธรรมราช ประเภทรถยนต์ต้นแบบแห่งอนาคต ซึ่งใช้เชื้อเพลิงแบตเตอรี่ ด้วยระยะทาง 451 กิโลเมตร/กิโลวัตต์-ชั่วโมง และทีม จากมหาวิทยาลัยUniversiti Teknologi Mara (UiTM) Shah Alam ประเทศมาเลเซีย สามารถทำสถิติใหม่ดีขึ้นจากสถิติเดิมที่เคยทำไว้เมื่อปีที่แล้ว ในประเภทรถยนต์ต้นแบบแห่งอนาคต ซึ่งใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจน ด้วยระยะทาง315 กิโลเมตร/ลูกบาศก์เมตร
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit