โดยกระทรวงเกษตรฯ ได้จัดทำ (ร่าง) ยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ พ.ศ.2558 – 2564 โดยมีการกำหนดยุทธศาสตร์ คือ
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การบริหารจัดการองค์ความรู้และนวัตกรรม แบ่งเป็น 4 กลยุทธ์ ได้แก่
1) สนับสนุนการวิจัยและการพัฒนาองค์ความรู้เกษตรอินทรีย์พื้นบ้าน เกษตรอินทรีย์เชิงพาณิชย์ และจัดทำฐานข้อมูลเกษตรอินทรีย์
2) ส่งเสริมการถ่ายทอดองค์ความรู้เกษตรอินทรีย์พื้นบ้าน และเกษตรอินทรีย์เชิงพาณิชย์ให้ผู้เกี่ยวข้องทุกระดับ
3) เสริมสร้างนวัตกรรมผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ พัฒนาเทคโนโลยีและการผลิตเกษตรอินทรีย์พื้นบ้านและเกษตรอินทรีย์เชิงพาณิชย์
และ 4) สนับสนุนการศึกษา วิจัยและพัฒนาสารอาหารจากผลิตภัณฑ์อินทรีย์ที่มีคุณค่าต่อสุขภาพของผู้บริโภค
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาการผลิตเกษตรอินทรีย์ตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน แบ่งเป็น 4 กลยุทธ์ ได้แก่
1) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเกษตรอินทรีย์พื้นบ้านและเกษตรอินทรีย์เชิงพาณิชย์ และสนับสนุนเงินทุน
2) ส่งเสริมและสนับสนุนเครือข่ายการผลิต การแปรรูป การตลาด ทุกระดับให้เข้มแข็งทั้งเครือข่ายเก่าและใหม่
3) เสริมสร้างสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการผลิตเกษตรอินทรีย์
และ 4) สร้างและส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรและผู้เกี่ยวข้องให้เกิดความตระหนักในการปรับเปลี่ยนมาผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การสร้างความเข้มแข็งด้านการตลาดและมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ไทย แบ่งเป็น 4 กลยุทธ์ ได้แก่
1) สร้างและบริหารจัดการมาตรฐานสินค้าและผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ไทย
2) ส่งเสริมการขายและการพัฒนาตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์
3) ส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่มและการพัฒนาผลิตภัณฑ์
และ 4) ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเพื่อเปลี่ยนแปลงทัศนคติของผู้ผลิตและผู้บริโภคในประเทศ และ
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การบูรณาการเพื่อขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์ไทย แบ่งเป็น 4 กลยุทธ์ ได้แก่
1) จัดตั้งองค์กรกลางเป็นองค์กรหลักในการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์
2) พัฒนาระบบสารสนเทศให้เชื่อมโยงฐานข้อมูลเกษตรอินทรีย์ของทุกภาคส่วน
3) สร้างกลไกพัฒนาเกษตรอินทรีย์แบบบูรณาการในระดับพื้นที่
และ 4) ส่งเสริมให้ภาคเอกชน ประชาชน เป็นผู้นำการพัฒนาภาครัฐเป็นส่วนสนับสนุนปัจจัยพื้นฐาน
ทั้งนี้ การบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ผ่านมา กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมพัฒนาที่ดิน ร่วมกับ กองทัพอากาศ ดำเนินโครงการจัดการวัสดุอินทรีย์และขยะสด เพื่อผลิตปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพ ในปี 2557 ดำเนินโครงการใน 9 จังหวัด 11 ค่าย จัดทำปุ๋ยหมัก 19 แห่ง ปริมาณ 100 ตัน น้ำหมักชีวภาพ 15 แห่ง ปริมาณ 17,050 ตัน และจัดอบรม/สาธิตการทำปุ๋ยอินทรีย์ 18 ครั้ง เกษตรกร 1,675 ราย
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit