เครือข่ายวิชาชีพสุขภาพเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ โดย ศ.เกียรติคุณ พญ.สมศรี เผ่าสวัสดิ์ ประธานเครือข่ายวิชาชีพสุขภาพเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ มอบรางวัลศิลปิน ดารา และสื่อสารมวลชน เพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ หวังให้ศิลปินดารา เป็นต้นแบบ ให้กับประชาชน พร้อมเสนอแนะวิธีลดจำนวนผู้สูบบุหรี่รายใหม่ เน้นเก็บภาษีเพื่อเพิ่มราคาขายปลีก ควบคุมการโฆษณา และผลักดัน(ร่าง) พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ ฉบับใหม่ หวังลดจำนวนผู้สูบ 1 แสนคนต่อปี
ศ.เกียรติคุณ พญ.สมศรี เผ่าสวัสดิ์ ประธานเครือข่ายวิชาชีพสุขภาพเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ กล่าวว่า การจัดพิธีมอบรางวัลศิลปิน ดารา และสื่อสารมวลชนเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ ครั้งนี้เป็นปีที่ 6 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้กลุ่มบุคคลดังกล่าว เป็นต้นแบบที่ดีต่อประชาชนในการเลิกบุหรี่ พร้อมทั้งสร้างองค์ความรู้ และความเข้าใจเรื่องพิษภัยบุหรี่ และสถานการณ์ยาสูบในประเทศไทยต่อสื่อมวลชนและประชาชนโดยตรง ซึ่งการเลือกศิลปิน ดารา เข้ารับรางวัลในครั้งนี้ เนื่องจากเป็นกลุ่มที่เข้าถึงประชาชนได้ง่าย และเป็นที่รู้จักในวงกว้าง ดังนั้น เมื่อมีต้นแบบที่ประชาชนชื่นชอบเป็นตัวอย่างที่ดี ไม่ยุ่งเกี่ยวกับบุหรี่ ก็จะทำให้กลุ่มที่ชื่นชอบมีพฤติกรรมที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ในการที่จะไม่ยุ่งเกี่ยวกับบุหรี่ ดังนั้น ในปี 2558 ทางเครือข่ายฯได้มอบรางวัลให้ศิลปิน ดารา สื่อมวลชน โดยรางวัลมีดังนี้- รางวัลศิลปินต้นแบบเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ ได้แก่ อาจารย์ช่วง มูลพินิจ- รางวัลศิลปินต้นแบบผู้รณรงค์ให้สังคมไทยปลอดบุหรี่ ได้แก่ คุณวสันต์ ไชยวรศิลป์(โจโจ้ โดมิแนนท์)- รางวัลศิลปินช่วยเหลือสังคม (หญิง) ปลอดบุหรี่ดีเด่น ได้แก่ คุณทอฝัน ดาวพันแสง- รางวัลศิลปินช่วยเหลือสังคม (ชาย) ปลอดบุหรี่ดีเด่นได้แก่ คุณธีรพล เสงี่ยมวงษ์ (เอ็ม ธีรพล)- รางวัลโปรดิวเซอร์ปลอดบุหรี่ดีเด่น ได้แก่ คุณบรรจง เวียงพล- รางวัลนักจัดรายการวิทยุ (หญิง) ปลอดบุหรี่ดีเด่นได้แก่ คุณยารีนา สถาปนานันท์ (ลีน่า ยารีนา)รางวัลนักจัดรายการวิทยุ (ชาย) ปลอดบุหรี่ดีเด่นได้แก่ คุณภัคพัต พิบูลย์ (เบียร์ คิมหันต์)- รางวัลเพลงลูกทุ่งยอดเยี่ยมปลอดบุหรี่ดีเด่นได้แก่ คุณฐิภารินทร์ ยอดธนาสวัสดิ์ (กล้วย คลองหอยโข่ง)- รางวัลนักร้องเพลงเพื่อชีวิต (หญิง) ปลอดบุหรี่ดีเด่นได้แก่ คุณธีราพร ศรีกิจรัตน์ (อ้อม ไม้เมือง ถนนคนเดิน)- รางวัลนักร้องเพลงเพื่อชีวิต (ชาย) ปลอดบุหรี่ดีเด่น ได้แก่ คุณสุพจน์ สุวรรณพันธ์ (พจน์ สุวรรณพันธ์)- รางวัลนักร้องลูกทุ่งเพื่อชีวิต (หญิง) ปลอดบุหรี่ดีเด่นได้แก่ คุณศรัญญา มะหาวงศ์ (เอิ้นขวัญ วรัญญา)- รางวัลนักร้องลูกทุ่งเพื่อชีวิต (ชาย) ปลอดบุหรี่ดีเด่นได้แก่ คุณพีรพัฒน์ สวัสดิ์มูล (พี สะเดิด)- รางวัลนักร้องเพลงลูกทุ่งสมัยใหม่ปลอดบุหรี่ดีเด่น ได้แก่ คุณนิภาพร บุญยะเลี้ยง (กระแต อาร์สยาม)รางวัลนักร้องดาวรุ่ง (หญิง) ปลอดบุหรี่ดีเด่น ได้แก่- คุณจิราพร จันทร์ปัญญา (มดแดง จิราพร)- คุณสิริรัศมิ์ สมบัติเจริญ (ลูกแก้ว สมบัติเจริญ)- คุณภวรัญชน์ นันทะราช (ไอซ์ อูคูเลเล่)- รางวัลนักร้องลูกทุ่ง (หญิง) ปลอดบุหรี่ดีเด่นได้แก่ คุณธิดารัตน์ ศรีจุมพล (หญิงลี ศรีชุมพล)- รางวัลนักร้องลูกทุ่ง (ชาย) ปลอดบุหรี่ดีเด่นได้แก่ คุณศรายุทธ บุญหวา (อาร์ม ชิงช้าสวรรค์)- รางวัลพิธีกร(หญิง)ปลอดบุหรี่ดีเด่นได้แก่ คุณอาลิซาเบธ แซ๊ดเลอร์ ลีนานุไชย- รางวัลพิธีกร(ชาย)ปลอดบุหรี่ดีเด่นได้แก่ คุณเบญจพล เชยอรุณ (กอล์ฟ)- รางวัลนางแบบปลอดบุหรี่ดีเด่นได้แก่ คุณรวิวรรณ บุญประชม (โยเกิร์ต)- รางวัลเยาวชนต้นแบบ (ชาย) ปลอดบุหรี่ดีเด่น ได้แก่ คุณนริศสันต์ โลกวิทย์ (นิวส์)- รางวัลนักแสดงตลกปลอดบุหรี่ดีเด่นได้แก่ คุณภาณุพันธ์ ครุฑโต (พัน พลุแตก)- รางวัลนักแสดงหน้าใหม่ปลอดบุหรี่ดีเด่นได้แก่ คุณพงศธร ศรีปินตา (ฟลุ๊ค)- รางวัลนักร้องเพลงไทยสากล (หญิง) ปลอดบุหรี่ดีเด่นได้แก่ คุณพรรณวรท ด้วยเศียรเกล้า (แกรนด์ เดอะ สตาร์)- รางวัลนักร้องเพลงไทยสากล (ชาย) ปลอดบุหรี่ดีเด่นได้แก่ คุณยุทธนา เปื้องกลาง (ตูมตาม เดอะ สตาร์)รางวัลนักแสดงดาวรุ่ง (หญิง) ปลอดบุหรี่ดีเด่นได้แก่- คุณณปภัช วัฒนากมลวุฒิ (มด)- คุณป่านทอทอง บุญทอง (กุญแจซอล AF 6)รางวัลนักแสดงดาวรุ่ง (ชาย) ปลอดบุหรี่ดีเด่นได้แก่- คุณณัฏฐ์ กิจจริต (นัท)- คุณสิทธา สภานุชาติ (เอี๊ยง)- รางวัลนักแสดงนำ (หญิง) ปลอดบุหรี่ดีเด่นได้แก่ คุณกัญญ์ณรัณ วงศ์ขจรไกล (ปราง)- รางวัลนักแสดงนำ (ชาย) ปลอดบุหรี่ดีเด่น ได้แก่ คุณจรณ โสรัตน์ (ท็อป)- รางวัลละครโทรทัศน์ปลอดบุหรี่ดีเด่น ได้แก่ บางระจัน- รางวัลสถานีโทรทัศน์ปลอดบุหรี่ดีเด่น ได้แก่ ไทยรัฐทีวี- รางวัลองค์กรสนับสนุนรณรงค์ให้สังคมไทยปลอดบุหรี่ ได้แก่ บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน)
ทั้งนี้ เกณฑ์การคัดเลือกศิลปิน ดารา และสื่อสารมวลชนเข้ารับรางวัลในครั้งนี้ ทางเครือข่ายฯ คัดเลือกจากผลงานดีเด่นในวงการบันเทิงแต่ละสาขาและเป็นผู้ที่ไม่สูบบุหรี่หรือเคยสูบแต่เลิกแล้ว และเชื่อว่าบุคคลเหล่านี้ล้วนเป็นต้นแบบที่ดีให้กับเยาวชนและประชาชน
ประธานเครือข่ายวิชาชีพสุขภาพเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ กล่าวต่อว่า จากการติดตามข้อมูลอัตราผู้สูบบุหรี่ของประชากรไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป ในรอบ 18 ปีที่ผ่านมา มีแนวโน้มลดลงจากเดิมที่มีผู้สูบบุหรี่ 12.3 ล้านคน ในปี พ.ศ.2534 ลดลงเป็น 10.9 ล้านคน แต่ในปี พ.ศ.2554 อัตราการสูบบุหรี่กลับเพิ่มขึ้น เป็น 11.5 ล้านคน โดยเพิ่มขึ้นในทุกกลุ่มอายุ ซึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดผู้สูบบุหรี่รายใหม่ในประเทศเพิ่มขึ้น เพราะมีการสูบบุหรี่มวนเอง ยาเส้นมีอัตราภาษีที่ต่ำมาก ขาดการควบคุมการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ การรณรงค์ยังเข้าไม่ถึงกลุ่มเป้าหมายในชนบท รวมถึงการบริการเลิกบุหรี่ยังไม่อยู่ในระบบการบริการสุขภาพแห่งชาติ
“อย่างไรก็ตาม องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ตั้งเป้าหมายในการลดจำนวนผู้สูบบุหรี่ในโลกภายในปีพ.ศ. 2568 เพื่อการป้องกันโรค NCD (โรคไม่ติดต่อ) ลง 25% ซึ่งในประเทศไทยจากการสำรวจผู้สูบบุหรี่ เมื่อปีพ.ศ.2554 มีจำนวน 11.5 ล้านคน ดังนั้นในปี 2568 จะต้องเหลือเพียง 9 ล้านคน เท่ากับว่าจะต้องลดจำนวนผู้สูบบุหรี่เฉลี่ยปีละ 1.3 แสนคน แต่ในความเป็นจริงแต่ถึงแม้จะมีกิจกรรมรณรงค์อย่างต่อเนื่อง จากการสำรวจในประเทศไทยมีแนวโน้มลดลงได้เพียงปีละ 3.3 หมื่นคนเท่านั้น
ดังนั้น การป้องกันเพื่อลดจำนวนผู้สูบบุหรี่รายใหม่ จึงควรมีการเก็บภาษี เพื่อเพิ่มราคาขายปลีกมีการควบคุมการโฆษณา คุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบบุหรี่ นอกจากนี้จะต้องมีการสนับสนุน (ร่าง) พระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ ฉบับใหม่ ให้เข้าสู่วาระการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี เพื่อคุ้มครองเด็กและเยาวชนไม่ให้ตกเป็นผู้สูบบุหรี่รายใหม่ รวมถึงมีการสร้างต้นแบบที่ดี ที่ไม่ยุ่งเกี่ยวกับบุหรี่ให้เยาวชนและเด็กนำไปเป็นแบบอย่าง เหมือนกับที่เครือข่ายวิชาชีพสุขภาพเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ได้มอบรางวัลในครั้งนี้ ซึ่งหากสามารถดำเนินการเรื่องเหล่านี้ได้ เชื่อว่า เป้าหมายที่จะลดจำนวนผู้สูบบุหรี่ในประเทศให้ได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ก็คงไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป” ศ.เกียรติคุณ พญ.สมศรี กล่าวในที่สุด