เอ็นคอนเส็ปท์ ชวนผู้ปกครอง และนักเรียนไทย “คิดข้ามช็อต” ชี้ปัญหาการศึกษาไทยต้องเริ่มปฏิรูปจากวิธีคิด

20 Mar 2015
โรงเรียนสอนภาษาอังกฤษ เอ็นคอนเส็ปท์ จัดงาน “Think Beyond 2015” ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 โดยเชิญชวนนักเรียนและผู้ปกครองร่วมคิดข้ามช็อต วางแผนอนาคตทางการศึกษาให้เด็กไทยประสบความสำเร็จ เผยเคล็ดลับใช้พลังความรักผลักดันสู่ความสุขและความสำเร็จ แบบเข้มข้น เข้าใจ เข้าถึง และเติมเต็มทุกช่องว่าง นำโดยกูรูด้านการศึกษาชั้นนำระดับประเทศ ได้แก่ นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ (ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ และ ผู้อำนวยการศูนย์จิตวิทยาการศึกษา มูลนิธิยุวสถิรคุณ), ครูพี่แนน อริสรา ธนาปกิจ ผู้อำนวยการโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษเอ็นคอนเส็ปท์ และ นพ.ธรรมศักดิ์ เอื้ออภิธร (ผู้จัดการทั่วไปโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษเอ็นคอนเส็ปท์ และโรงเรียนกวดวิชาภาษาไทยสังคมโซไซไทย ) พร้อมผนึกกำลังติวเตอร์ชื่อดังจากโรงเรียน อินเตอร์พาส ควอลิช และ โซไซไทย มาร่วมไขเคล็ดลับความสำเร็จ ณ โรงเรียนสอนภาษาอังกฤษเอ็นคอนเส็ปท์ สาขาสยามโอเอซิส ชั้น 13 อาคารวิทยกิตติ์ สยามสแควร์ วันอาทิตย์ที่ 22 มีนาคม 2558 เวลา 8.00-12.00 น. นี้
เอ็นคอนเส็ปท์ ชวนผู้ปกครอง และนักเรียนไทย “คิดข้ามช็อต” ชี้ปัญหาการศึกษาไทยต้องเริ่มปฏิรูปจากวิธีคิด

เด็กไทย....เปลี่ยนวิธีคิด ชีวิตเปลี่ยน

นพ.ธรรมศักดิ์ เอื้ออภิธร ผู้จัดการทั่วไปโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษเอ็นคอนเส็ปท์ เปิดเผยว่า “งาน Think Beyond คิดข้ามช็อต ในครั้งนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 3 ซึ่งได้รับการตอบรับจากคุณพ่อคุณแม่เป็นอย่างดีมีการจองที่นั่งล่วงหน้าถึง 800 คน ซึ่งในครั้งนี้จัดขึ้นภายใต้แนวคิด Visible Love, Visible Learning คือ ทำอย่างไรที่จะให้เด็กไทยประสบความสำเร็จ และมีความสุขในขณะเดียวกัน เพราะเราอยากให้เด็กไทยไม่ใช่แค่เรียนเก่ง สอบเข้ามหาวิทยาลัยได้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่เรามองไปไกลถึงว่าทำอย่างไรที่จะให้น้องๆพลิกความคิด พัฒนาชีวิต และเข้าถึงศักยภาพสูงสุดของตัวเองได้ ซึ่งเราพบว่า นอกจากระบบการศึกษาไทยจะต้องพัฒนาแล้ว เราต้องพัฒนาให้เด็กไทยรู้จักคิด วางแผน กล้าที่จะฝัน มีเป้าหมายให้กับชีวิตของตัวเอง พร้อมกับมีวินัยที่จะรับผิดชอบความฝันของตัวเองให้ประสบความสำเร็จ โดยเราจะใช้พลังความรักจากคุณพ่อ คุณแม่ ตัวเด็กๆเอง และสังคม ช่วยกันผลักดันน้องๆ ให้เป็นคนเก่งที่ประสบความสำเร็จในชีวิตจริงVisible Love: The Power of Motherhood

พลังของ “แม่” คือเบื้องหลังความสำเร็จ

ครูพี่แนน อริสรา ธนาปกิจ กล่าวถึงประสบการณ์ตรง ของพลังที่คุณแม่คอยผลักดันให้ตนเองประสบความสำเร็จและจากการ แลกเปลี่ยนกับผู้ปกครองกว่า 20 ปี ว่าคุณพ่อคุณแม่ต้องทำหน้าที่ในการเป็นโค้ชที่ดีให้กับลูก

โดยพัฒนาการเรียนรู้ของน้องๆจะแบ่งเป็น 4 ระยะ ซึ่งในแต่ละระยะนั้นจะต้องใช้เทคนิคการพูดคุยที่แตกต่างกัน ดังนี้

1. ระยะก้าวเดิน อายุ 3-6 หรือช่วงเริ่มต้นในการเรียนรู้ ปัญหาที่เจอในระยะเริ่มต้นเรียนรู้คือความล้มเหลว เมื่อล้มเหลวก็ไม่อยากทำต่อ เพราะฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรชื่นชมเพื่อเสริมแรงทางบวก ให้ลูกรู้สึกว่า แค่ลงมือทำก็สำเร็จแล้ว อาทิ คุณแม่ของพี่แนน ทุ่มเทฝึกภาษาอังกฤษโดยการย้ายบ้านให้ใกล้โรงเรียนที่อยากให้ลูกสอบเข้ามายิ่งขึ้น ลงทุนติด UBC ที่มีแต่รายการภาษาอังกฤษ เปิดเพลงภาษาอังกฤษบนรถทุกครั้งที่เดินทาง และสร้างห้องสมุดที่บ้านที่มีแต่หนังสือภาษาอังกฤษ ซึ่งทำให้รู้สึกว่าภาษาอังกฤษได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตไปแล้ว

2. ระยะเริ่มบิน 7-9 ปี ในช่วงพัฒนาการการเรียนรู้ 20 % แรก เป็นช่วงแห่งการทำสอบว่ารู้จริงหรือไม่ ควรให้ลูกได้เจอ ความล้มเหลวและความผิดหวังบ้างเพื่อป้องกันความประมาท ซึ่งในระยะนี้เอ็นคอนเส็ปท์ จะมี Simulations test ข้อสอบ เสมือนจริง เพื่อทดสอบว่าจุดอ่อนจุดแข็งของน้องๆคืออะไร ควรพัฒนาในจุดใด และที่สำคัญคือเป็นการฝึกให้น้องๆไม่กลัวความ ผิดหวัง หรือหากเก่งแล้วก็พัฒนาให้เรียนในแบบฝึกหัดที่ยากขึ้น โดยในระยะนี้คุณพ่อคุณแม่ควรชมเรื่องพัฒนาการ มากกว่า การชื่นชมเรื่องผลลัพธ์ อาทิ “วันนี้ร้องเพลงภาษาอังกฤษได้สามเพลงแล้ว เพิ่มจากวันก่อนนี่นา” หรือ “คะแนนลูกดีขึ้นกว่าเดิม ตั้ง 5 คะแนน เก่งขึ้นนะเรา” เป็นต้น

3. ระยะโตเร็ว ช่วงอายุ 10-12 ปี หรือ ในช่วงพัฒนาการการเรียนรู้ 20-80 % ในช่วงไต่ระดับนี้มีความสำคัญเป็นพิเศษ เด็กในช่วงนี้จะมีความเป็นของตัวเอง ต้องการพื้นที่ส่วนตัวที่มากขึ้น และเริ่มอยู่ตัวกับการเรียนและ ติดกรอบ ไม่ค่อยมีความ พยายามเท่าที่ควร ซึ่งระยะนี้อาจเกิดความไม่เข้าใจระหว่างคุณพ่อคุณแม่และน้องๆได้มากเป็นพิเศษ คุณพ่อคุณแม่ควรให้สัญญา และรักษาสัญญา โดยให้ยืมความเป็นส่วนตัว ผ่านการวางเงื่อนไข เช่น “แม่ให้ยืม โทรศัพท์มือถือใช้ชั่วคราวนะ ถ้าหากสอบติดแม่ถึง จะมอบให้เป็นรางวัล” นอกจากนี้ คือการพยายามหาต้นแบบ (Role Model) ให้เป็นกระบอกเสียง พูดแทนคุณแม่ ใบบางครั้งอาจ ต้องท้าทายลูกด้วยการบอกว่ายังดีไม่พอนะ ลูกต้องพัฒนาเพิ่มเติมอย่างไรบ้าง เป็นต้น

4.ระยะรักษาระดับ ในช่วงอายุ 13-15 ปี หรือในช่วงพัฒนาการการเรียนรู้ 80-100 % ในช่วงนี้คุณพ่อคุณแม่ห้ามพูดหรือบ่น ในเรื่องเล็กๆน้อยๆ เด็ดขาด และควรติดตามความเป็นไปของลูกผ่านเพื่อนๆ ซึ่งมีงานวิจัยว่าหากคุณพ่อคุณแม่รู้จักเพื่อนของลูก มากกว่า 5 คน ขึ้นไปนั้น จะทำให้ลูกมีโอกาสประสบความสำเร็จในการเรียนมากกว่า 50 % เลยทีเดียว

Visible Love, The Power of Fatherhood

พลังของ “พ่อ” ผู้สร้างย่างก้าวแห่งความสำเร็จ

ครูสอนภาษาอังกฤษจาก โรงเรียน InterPass ดีกรีนักเรียนทุนเต็มจำนวนจากมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ของโลก MBA University of Oxford ครูพี่กิ๊บ วลีรัตน์ หาญเมธีคุณา กล่าวถึงบทบาทของคุณพ่อ ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของตนว่า หากบทบาทของคุณแม่ คือผู้ที่อยู่ข้างหลังแล้วคอยประคองลูกๆแล้ว บทบาทของคุณพ่อ คือ ผู้ที่อยู่เบื้องหน้าเราอย่างห่างๆ ทำหน้าที่สร้างช่องว่างและดึงเราขึ้นไปสู่จุดที่สูงขึ้นในชีวิต ซึ่งเราจะเรียกว่า “The Power of Gap “ คุณพ่อของครูพี่กิ๊บ ถึงจะเป็นนักเรียนต่างจังหวัดมีฐานะยากจน แต่ท่านเป็นนักเรียนที่เรียนเก่งมีความพยายามจนสอบเข้าโรงเรียนนายร้อยตำรวจได้ จึงเป็นช่องว่างแรก ที่ทำเรารู้สึกว่าอยากเรียนเก่งให้เหมือนคุณพ่อ ส่วนช่องว่างที่สองเกิดเมื่อได้โอกาสเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนที่สหรัฐอเมริกา ในช่วง ม.3-ม.4 คือ ช่องว่างเกี่ยวกับการเรียน เพราะรู้สึกว่าทำไมเพื่อนฝรั่งจึงเก่งจัง ทำให้เราอยากเติมเต็มช่องว่างนั้น โดยการพัฒนาด้านภาษาและการเรียนให้เก่งเท่ากับเพื่อนนักเรียนเจ้าของภาษา และช่องว่างที่สาม เกิดขึ้นระหว่างการทำงาน เพราะเจ้านายเก่าของพี่กิ๊บ เป็นคนที่ทำงานเก่ง เป็นเจ้าของธุรกิจเกี่ยวกับจิวเวอรี่ ที่ส่งออกทองเป็นอันดับหนึ่งของประเทศไทย พี่กิ๊บอยากเป็นคนเก่ง มีธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ และเป็นคนที่รู้รอบด้าน เหมือนเจ้านาย พี่กิ๊บจึงทำงาน อย่างหนัก พร้อมกับได้รับโอกาสในการทำงานในต่างประเทศ เช่น ฮ่องกง นิวยอร์ก ชิคาโก และอีกหลายๆเมืองในหลายๆประเทศ โดยผู้เป็นพ่อต้องทำหน้าที่สร้างความท้าทาย ความสร้างสภาวะที่ไม่คุ้นเคยให้เราอออกไปนอกกรอบและเข้มแข็งมากขึ้น ผ่านวิธีการดังนี้

1. Dream and Challenge สร้างความฝันและความท้าท้าย โดยพูดถึงความสนุกสนาน ความท้าทาย และความสุขการทำงานของตนเองให้ลูกได้ฟัง กระตุ้นให้ลูกได้ลงมือทำ ให้เห็นคุณค่าของเงินทุกบาททุกสตางค์ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการเลือกอาชีพ และประกอบอาชีพอย่างมีความสุขในอนาคต

2. New Exposure เปิดประสบการณ์ใหม่ๆลูกให้ได้เจอโลกกว้าง เช่น พาลูกๆไปร้านหนังสือ ให้เลือกหนังสือที่สนใจมาอ่านร่วมกัน หรือการออกเดินทางไปเที่ยวต่างจังหวัดไปเจอโลกกว้างจริงๆ การพาไปทำกิจกรรมใหม่ๆ เช่นทำอาหาร นั่งสมาธิ หรือคุยเรื่องบุคคลสำคัญต่างๆที่ประสบความสำเร็จ รวมถึงการพาลูกๆไป Exam journey เช่น พาลูกๆไปยังโรงเรียนที่อยากสอบเข้า หรือมหาวิทยาลัยระดับโลกเพื่อให้รู้สึกถึงความเป็นไปได้มากยิ่งขึ้น

3. Teach and Talk สอนและคุยกับลูกทุกวัน จากการทดลองในประเทศญี่ปุ่นพบว่าพ่อแม่ที่คุยกับลูกเกินวันละ 1 ชั่วโมงนั้นทำให้เด็กมีโอกาสสอบติดมหาวิทยาลัยชั้นนำของญี่ปุ่นมากว่า 42 % ซึ่งวิธีการพูดที่เหมาะสมนั้นคุณพ่อคุณแม่ จะต้องสังเกตว่าลูกของเราเป็นเด็กประเภทใด หากลูกเป็นเด็กแบบ Intrinsic คือ เด็กที่สามารถบังคับตัวเองให้อ่านหนังสือ มีวินัย และเรียนเก่งอยู่แล้ว ควรให้โจทย์ที่ท้าทายมากขึ้น หรือหาลูกอยู่ในกลุ่มExtrinsic คือ น้องๆไม่สามารถบังคับตัวเองได้ คุณพ่อคุณแม่อาจพูดคุยและดูแลอย่างใกล้ชิด ให้รางวัลหากทำสำเร็จ และวางเงื่อนไขให้ลูกมีวินัยมากยิ่งขึ้น

Visible Learning : The Power of Yourself

สร้างพลัง สู่การผลักดันตนเอง

ครูพี่หมุย ธนัช ลาภนิมิตรชัย ติวเตอร์ชื่อดังจากโรงเรียนสอนภาษาไทยและสังคม โซไซไทย เปิดเผยถึงเคล็ดลับความสำเร็จจากเด็กต่างจังหวัด สู่การเป็นนักเรียนทุนเต็มจำนวนของสหภาพยุโรปได้รับโอกาสไป ศึกษาต่อในระดับปริญญาโท ในประเทศออสเตรีย และประเทศอังกฤษ ดังนี้

1.จินตนาการถึงความล้มเหลว “ จุดเปลี่ยนของพี่หมุยคือ คุณพ่อผู้เป็นเสาหลักของครอบครัวเสียชีวิตกะทันหัน ระหว่างที่พี่หมุยกำลังไปแลกเปลี่ยนที่สหรัฐอเมริกา ช่วง ม.6 จากที่ไม่เคยตั้งใจเรียนเลย ทำให้พี่หมุยต้องหันกลับมาคิดว่าเราจะดูแลทุกคนได้อย่างไร เลยมุ่งมั่นที่จะเข้าเรียนคณะดีๆ และมีอาชีพที่ดีทำ เพื่อดูแลทุกคนให้มีให้ความสุขได้ ดังนั้นพี่หมุยจึงต้องลุกขึ้นสู้เพราะสถานการณ์บังคับ ส่วนน้องๆหากไม่ได้เจอสถานการณ์แบบพี่หมุย อยากให้ลองจินตนาการถึงความล้มเหลว แล้วเปลี่ยนความกลัวมาเป็นพลังผลักดัน ในการทำสิ่งที่อยู่ตรงหน้าให้ดีที่สุด เพื่ออนาคตของตัวเราเองและคนที่เรารัก”

2.วางแผนอย่างเป็นระบบ “ในการสอบเพื่อชิงทุนไปต่างประเทศหรือการสอบเพื่อเข้ามหาวิทยาลัยมีเทคนิคคล้ายกัน คือ การวางแผนการอ่านอย่างเป็นอ่านหนังสืออย่างเป็นระบบ และ กำหนดเส้นตายในการอ่านหนังสืออย่างชัดเจน รวมถึงการหาสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม กับการอ่านหนังสือของเราและเริ่มต้นอ่านอย่างมีสติ ซึ่งถือเป็นสิ่งที่สำคัญมาก

3.รู้จุดอ่อนของตัวเอง “เวลาน้องๆอ่านหนังสือไม่ว่าวิชาอะไรก็แล้วแต่ จุดที่สำคัญมากคือการทำแบบทดสอบเพื่อดูพัฒนาการทั้งก่อนอ่านหนังสือและหลังอ่านหนังสือ เพื่อนำมาวิเคราะห์ว่า เรามีพัฒนาการไปในทิศทางใด พร้อมกับวิเคราะห์ว่าส่วนที่ยังเป็นจุดอ่อน เช่น ภาพรวมวิชาสังคมก่อนได้คะแนน 60 คะแนน หลังอ่าน ได้ 80 คะแนน ซึ่งถือว่าเป็นพัฒนาการที่ดี แต่นำส่วนวิชาพระพุทธศาสนา ผิดไปถึง 10 การวิเคราะห์อย่างละเอียดจะช่วยให้เรารู้จุดอ่อนของตัวเองและกลับไปอ่านทบทวนส่วนนั้น เพื่อให้ลบจุดอ่อนของตัวเองได้ในที่สุด ”

4. มีเทคนิค มีเทคนิค 2 เรื่องที่ถือเป็นเคล็ดลับความสำเร็จคือ เทคนิคการอ่านและเทคนิคการจด โดย การอ่านหนังสือควรฝึกวินัยการอ่านโดยแบ่งตามช่วงเวลา คือ ในช่วงเช้าเป็นช่วงที่สมองกำลังตื่นตัวฉะนั้น ควรอ่านเนื้อหาที่มีความยากเพราะสมองจะทำความเข้าใจได้ง่ายกว่าช่วงเวลาอื่น ในขณะที่ช่วงบ่าย หรือค่ำ จะเหมาะกับการทบทวน หรืออ่านวิชาที่ใช้ความจำมากกว่า และควรตั้งรางวัลให้กับตัวเองหลังอ่านจบด้วย จะได้เป็นแรงผลักดันในการอ่านหนังสือมากขึ้น ในส่วนของการจด มีผลการวิจัยจากญี่ปุ่นว่า สีมีส่วนช่วยในเรื่องการจดจำได้ โดยมนุษย์จะมีปฏิกิริยากับสีสองโทน คือสีโทนร้อนและสีโทนเย็น ควรนำสีโทนร้อนเช่นสีแดง หรือสีส้มมาใช้เน้นสิ่งที่เรามักจะผิดบ่อยๆ ส่วนเรื่องทั่วๆควรใช้สีโทนเย็นเช่น สีฟ้า หรือ สีน้ำเงิน เทคนิคที่ดีในการจดคือไม่ควรจดติดกัน และเว้นบรรทัด สิ่งสำคัญอีกอย่างคือ ควรมีสมุดจด 3 เล่ม เล่มหนึ่งจดเลคเชอร์ เล่มสองสรุปของเราเอง และเล่มสามจดจุดที่ผิดพลาดถือเป็นการ double check ให้ตัวเองด้วย

ท้ายสุด ครูพี่หมุย ฝากถึงน้องๆที่คิดว่าตัวเองเป็นเด็กต่างจังหวัด แล้วกำลังคิดว่าคงสอบมหาวิทยาลัยที่ดี สู้เด็กๆในกรุงเทพฯไม่ได้ ให้คิดถึงนิทานเรื่องกระต่ายกับเต่า เพราะกรุงเทพฯมักมีลักษณะที่คล้ายกัน คือ ประมาท คิดว่าตัวเองเก่งกว่าเสมอ ส่วนเด็กต่างจังหวัดให้เอาข้อดีที่เราคิดว่าตัวเองไม่เก่ง สู้ใครไม่ได้ นั้นมาเร่งพัฒนาตนเองให้เก่งยิ่งขึ้น เพราะอดีต นักเรียนหลังห้อง จากจังหวัดราชบุรีอย่างครูพี่หมุย พิสูจน์มาแล้วว่าสามารถทำได้ และ เราทุกคนล้วนมีความเป็น “เด็กบ้านนอก” อยู่เสมอ เหมือนกับครูพี่หมุยเปลี่ยนจากเด็กราชบุรี มาเรียนโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ย้ายมาเรียนยังจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แม้จะได้รับเกียรตินิยมอันดับหนึ่งจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแล้ว เมื่อต้องไปเผชิญโลกกว้างในมหาวิทยาลัยระดับโลกอย่าง University of Vienna ประเทศออสเตรีย และ London School of Economic แล้ว ครูพี่หมุยก็ยังรู้สึกว่าตัวเองยังคงเป็น “เด็กบ้านนอก” อยู่เช่นเดิม โดยเชื่อว่าคำนี้มีนัยยะเชิงบวกสื่อให้เห็นถึงการได้เติบโต ออกไปเผชิญกับโลกกว้าง ด้วยความพยายามที่เต็มเปี่ยมเสมอ และเป็นเคล็ดลับแห่งความสำเร็จของพี่หมุยในทุกวันนี้

Visible Learning: The Power of School

พลังแห่งสังคมส่งเสริมการเรียนรู้ครูพี่ลิซ่า นาริสา ฮานาซากิ และครูพี่นิสชิน พิชญ์สินี วงศ์กาสิทธิ์ ครูสอนภาษาอังกฤษจาก โรงเรียน ควอลิช พูดถึงวิธีการพัฒนาทักษะทางภาษาและการเรียนให้ประสบความสำเร็จ ว่าจะต้องมีสองปัจจัยด้วยกัน คือ การประกาศความสำเร็จ (Declarations of Success) และวาจาชื่อชมที่ถูกต้อง (Praise) โดยการประกาศความสำเร็จ คือ การสร้างพันธะสัญญาร่วมกันและลงมือปฏิบัติให้ได้ เช่น สัญญาว่าจะท่องศัพท์ทุกวันวันละ 10 คำ หรือ สัญญาว่าจะอ่านหนังสือทุกวันวันละ 10 หน้า เป็นต้น ส่วนคำชื่นชมที่ถูกต้องนั้น คุณพ่อ คุณแม่ส่วนใหญ่มักเข้าใจผิด มักชื่นชมลูกที่ความเก่ง ความฉลาด โดยไม่รู้ตัวว่ากำลังทำให้ลูกติด “กับดักอัจฉริยะ” เช่น เมื่อพ่อแม่ชมว่า เก่งมากลูก หรือ ฉลาดมากลูก ตามทฤษฎีการเรียนรู้แบบวางเงื่อนไขนั้นจะทำให้สมองของเด็กจะตีความทันทีว่า ความฉลาดคือสิ่งที่ได้รับคำชม ดังนั้นเมื่อสอบได้คะแนนลดลง หรือ ไม่ได้คะแนนสอบเป็นที่หนึ่ง เด็กจะรู้สึกล้มเหลวและรู้สึกพ่ายแพ้ทันที ดังนั้นคำชื่นชมที่ถูกต้องควรชมจากสามปัจจัย คือ ชมที่ความพยายาม ชมที่วิธีการ และความไม่ย่อท้อ อาทิ “ เมื่อก่อนหนูท่องศัพท์ไม่ได้เลย แต่หนูเก่งมากที่คิดวิธีการท่องศัพท์แบบเป็นเพลง เก่งมากๆเลยลูก “ หรือ “ลูกได้คะแนนดีขึ้นมาก แม่ภูมิใจจังที่ลูกของแม่มีความพยายาม อ่านหนังสือทบทวนทุกวันเลย” ซึ่งการชื่นชมในลักษณะนี้จะทำให้เกิดวงจรแห่งความสุข โดยเริ่มจาก สัญญา (Promise) >> สำเร็จ (Successes) >> วาจาชื่นชม (Praise) >> ประจักษ์ด้วยตนเอง (Qualia) >> การเรียนรู้จากสังคม (Social Learning) และเกิดวงจรแบบนี้เรื่อยๆ ตามเป้าหมายใหม่ตามพัฒนาการที่มากยิ่งขึ้น

นพ.ธรรมศักดิ์ กล่าวทิ้งท้ายว่า “เราอยากเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยสะท้อนและตอบปัญหาเกี่ยวกับการศึกษาไทย ว่าทำไมงบประมาณการศึกษาไทยที่มีสัดส่วนถึง 20.5 % ของงบประมาณประเทศ เป็นอันสองในกลุ่มอาเซียน แต่ทำไมผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของไทยจึงรั้งท้ายในอาเซียน ,ทำไมคะแนนเฉลี่ยโอเน็ตของเด็กไทย คณิตศาสตร์ 20.48 % ภาษาอังกฤษ 25.35 % และวิทยาศาสตร์ 33.02% จากคะแนนเต็ม 100 และยังมีการคาดการณ์ว่าบัณฑิตจบใหม่ 4.5 แสนคนในปีนี้ จะตกงาน 1.5 แสนคน หากสภาพเศรษฐกิจยังเป็นแบบนี้ แต่ในขณะเดียวกัน ก็ยังมีเด็กไทยส่วนหนึ่งคว้า 30 เหรียญจากโอลิมปิกวิชาการปีล่าสุด เป็นอันดับต้นๆของอาเซียน ที่เป็นแบบนี้เพราะผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาไทยมีเด็กเก่งกระจุก โง่กระจาย ทางเราคิดว่าระบบการศึกษาไทยไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของโลกที่รวดเร็วได้ ระบบการศึกษาไทยตามหลังเทคโนโลยี เศรษฐกิจและการเมืองหลายสิบปี ดังนั้นหากต้องการที่จะพัฒนาการศึกษาไทย เราต้องศึกษาและนำข้อดีของระบบการศึกษาระดับโลกและเทคโนโลยีการศึกษาระดับโลกมาปรับใช้ซึ่งเอ็นคอนเส็ปท์และโรงเรียนในเครือพยายามที่จะเป็นส่วนหนึ่งที่จะแก้ไขปัญหาดังกล่าวผ่านการนำกระบวนการและเทคโนโลยีการศึกษาระดับโลกมาปรับใช้ในองค์กร เพื่อให้นักเรียน เข้าถึงศักยภาพสูงสุดของตนเอง ภายใต้การเรียนที่เข้มข้น เข้าใจความแตกต่างของนักเรียนแต่ละคน และสามารถเข้าถึงการเรียนได้ทุกที่ ทุกเวลาโดยในปัจจุบันโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษเอ็นคอนเส็ปท์และโรงเรียนในเครือ พัฒนาเทคโนโลยีและนำระบบการศึกษาระดับโลกมาใช้ ไม่ว่าจะเป็น X-Class ห้องเรียนที่มาพร้อมแท็บเล็ต และโปรแกรมถามตอบ สร้างการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน โดยที่ครูสามารถประเมินผลความเข้าใจของนักเรียนในชั้นเรียนได้ในขณะที่สอนทันที เพื่อกำหนดความช้าเร็วของบทเรียนได้ หากนักเรียนส่วนใหญ่ในห้องยังไม่เข้าใจสามารถกลับมาทบทวนสอนซ้ำในบทเรียนดังกล่าวได้ทันที แก้ปัญหาเด็กๆที่ไม่กล้ายกมือถามในชั้นเรียน ระบบการเรียนด้วยตนเอง หรือระบบ Self เรียนผ่านคอมพิวเตอร์ที่บ้าน ที่สาขา หรือ เรียนผ่านเเท็บเล็ต นั้นจะชวนให้นักเรียนกลับไปทบทวน และเรียนอย่างเป็นขั้นตอนและปรับความช้าเร็วของบทเรียนได้ตามศักยภาพของตัวเอง เรามี Mobile Applications เป็นสื่อการเรียนรู้ให้นักเรียนเรียนได้ทุกที่ทุกเวลา รวมถึงระบบการโค้ชที่เรามีโค้ชที่เป็นบุคคลจริงๆคอยพูดคุยให้คำแนะนำน้องๆผ่านเครื่องมือต่างๆอย่างใกล้ชิด และล่าสุดยังเปิดชั้นเรียนแบบที่ใช้โมเดลเกี่ยวกับ ประเทศฟินแลนด์ ต้นแบบการศึกษาของโลก

เอ็นคอนเส็ปท์ ชวนผู้ปกครอง และนักเรียนไทย “คิดข้ามช็อต” ชี้ปัญหาการศึกษาไทยต้องเริ่มปฏิรูปจากวิธีคิด เอ็นคอนเส็ปท์ ชวนผู้ปกครอง และนักเรียนไทย “คิดข้ามช็อต” ชี้ปัญหาการศึกษาไทยต้องเริ่มปฏิรูปจากวิธีคิด เอ็นคอนเส็ปท์ ชวนผู้ปกครอง และนักเรียนไทย “คิดข้ามช็อต” ชี้ปัญหาการศึกษาไทยต้องเริ่มปฏิรูปจากวิธีคิด