ทีมเยาวชนไทยสร้างชื่อในการแข่งขันเชลล์ อีโค-มาราธอน เอเชีย 2015 คว้า 3 รางวัลชนะเลิศ และมากที่สุดในเอเชีย

16 Mar 2015
ทีมเยาวชนไทยกวาด 3 รางวัลชนะเลิศ พร้อมสร้างสถิติใหม่ o ทีมVIRGIN จากวิทยาลัยเทคนิคสกลนคร คว้ารางวัลชนะเลิศในปีนี้ ประเภทรถต้นแบบแห่งอนาคต ใช้เชื้อเพลิงเอทานอล สามารถทำสถิติวิ่งได้ในระยะทางไกลที่สุดในการแข่งขัน 1,572กิโลเมตร/ลิตร ถือเป็นสถิติสูงสุดในการแข่งขันของปีนี้ และเทียบเท่ากับระยะทางจากกรุงมะนิลาไปยังกรุงโฮจิมินท์ ซิตี้o ทีม ATE 1 จากโรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์ ช่างกล ขส.ทบ. ชนะเลิศประเภทรถต้นแบบแห่งอนาคต ซึ่งใช้เชื้อเพลิงเบนซิน ด้วยระยะทาง 1,490 กิโลเมตร/ลิตรo ทีมNSTRU Eco-Racing จากมหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช สามารถสร้างสถิติใหม่ประเภทรถยนต์ต้นแบบแห่งอนาคต ซึ่งใช้เชื้อเพลิงแบตเตอรี่ ด้วยระยะทาง 451 กิโลเมตร/กิโลวัตต์-ชั่วโมง นอกจากนี้ อีก (4)ทีมของประเทศไทย ยังคว้ารางวัลรองชนะเลิศ ได้แก่

ทีมปัญจะ จากวิทยาลัยเทคโนโลยีช่างฝีมือปัญจวิทยา ประเภทรถยนต์ต้นแบบแห่งอนาคต ใช้เชื้อเพลิงดีเซล ด้วยระยะทาง 530.7 กิโลเมตร/ลิตร

ทีมลูกเจ้าแม่คลองประปา จากมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เชื้อเพลิงเอทานอล ด้วยระยะทาง458.8 กิโลเมตร/ลิตร

ทีมวิทยาลัยเทคโนโลยีรัตนโกสินทร์ได้ เชื้อเพลิงประเภทแบตเตอรี่ไฟฟ้า ด้วยระยะทาง 368.7กิโลเมตรต่อกิโลวัตต์-ชั่วโมง

และทีมวิทยาลัยเทคนิคดอนเมือง ประเภทรถที่คล้ายกับรถปัจจุบันจากเชื้อเพลิงประเภทเบนซิน ด้วยสถิติ 76.9 กิโลเมตร/ลิตร

ทีมเยาวชนจากประเทศไทย คว้าชัยติดต่อกันเป็นปีที่ 5 ในการแข่งขัน เชลล์ อีโคมาราธอน เอเชีย

การแข่งขันเชลล์อีโค-มาราธอน เอเชีย 2015 โดยปีนี้มีทีมนักเรียนนักศึกษากว่า 120 ทีม จาก 17 ประเทศทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก รวมทั้งตะวันออกกลางและออสเตรเลียเข้าร่วมการแข่งขัน ณ สนามลูเนต้า พาร์ค ใจกลางกรุงมะนิลา

ทีมVIRGIN จากวิทยาลัยเทคนิคสกลนคร คว้ารางวัลชนะเลิศในปีนี้ ประเภทรถต้นแบบแห่งอนาคต ใช้เชื้อเพลิงเอทานอล สามารถทำสถิติวิ่งได้ในระยะทางไกลที่สุดในการแข่งขัน 1,572 กิโลเมตร/ลิตร

ทีม ATE 1 จากโรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์ ช่างกล ขส.ทบ. ชนะเลิศประเภทรถต้นแบบแห่งอนาคต ซึ่งใช้เชื้อเพลิงเบนซิน ด้วยระยะทาง 1,490 กิโลเมตร/ลิตร

ทีมNSTRU Eco-Racing จากมหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช สร้างสถิติใหม่ประเภทรถยนต์ต้นแบบแห่งอนาคต ซึ่งใช้เชื้อเพลิงแบตเตอรี่ ด้วยระยะทาง451 กิโลเมตร/กิโลวัตต์-ชั่วโมง

ทีมปัญจะ จากวิทยาลัยเทคโนโลยีช่างฝีมือปัญจวิทยา รางวัลรองชนะเลิศในรถยนต์ประเภทต้นแบบแห่งอนาคตเชื้อเพลิงดีเซล ด้วยระยะทาง 530.7 กิโลเมตร/ลิตร

ทีมวิทยาลัยเทคนิคดอนเมือง รางวัลรองชนะเลิศประเภทรถที่คล้ายกับรถปัจจุบันจากเชื้อเพลิงประเภทเบนซิน ด้วยสถิติ 76.9 กิโลเมตร/ลิตร

ทีมลูกเจ้าแม่คลองประปา จากมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ รางวัลรองชนะเลิศในรถยนต์ประเภทต้นแบบ เชื้อเพลิงเอทานอล ด้วยระยะทาง 458.8 กิโลเมตร/ลิตร

ทีมวิทยาลัยเทคโนโลยีรัตนโกสินทร์ รางวัลรองชนะเลิศประเภทรถยนต์ต้นแบบแห่งอนาคต ใช้เชื้อเพลิงประเภทแบตเตอรี่ไฟฟ้า ด้วยระยะทาง 368.7 กิโลเมตรต่อกิโลวัตต์-ชั่วโมงบรรยากาศบนสนามแข่งงาน เชลล์ อีโค-มาราธอนบรรยากาศภายในงาน เชลล์ อีโค-มาราธอน

กอล์ฟ-พิชญะ นิธิไพศาลกุล ดาราชื่อดังจากประเทศไทย เข้าร่วมกิจกรรม Shell FuelSaveFact or Fiction จริงหรือมั่ว! นานาวิธีประหยัดน้ำมัน ร่วมกับดารานักแสดงจากประเทศฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย

สามารถดาวน์โหลดไฟล์รูปภาพแบบ high res ได้จาก : http://bit.ly/19b76ehเกี่ยวกับการแข่งขันเชลล์ อีโค-มาราธอนการแข่งขันเชลล์ อีโค-มาราธอนเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2482 ที่ห้องทดลองวิจัยของเชลล์ในสหรัฐอเมริกาโดยเป็นการเดิมพันกันในหมู่นักวิทยาศาสตร์ เพื่อดูว่าใครสามารถขับเคลื่อนยานยนต์ได้ไกลสุดด้วยน้ำมันเพียงหนึ่งแกลลอน โดยผู้ชนะการแข่งขันในครั้งนั้นสามารถขับเคลื่อนไปได้เพียง 50 ไมล์ต่อแกลลอน (21 กิโลเมตร/ลิตร)นับจากวันนั้นกลายเป็นจุดเริ่มต้นการแข่งขันที่เกิดขึ้นอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ 2528 ที่ประเทศฝรั่งเศส ส่วนการแข่งขันเชลล์ อีโค-มาราธอน เอเชียได้เริ่มขึ้นเป็นครั้งแรกที่ประเทศมาเลเซียในปี พ.ศ. 2553-2556 และย้ายสถานที่จากสนามแข่งรถสู่การแข่งขันบนท้องถนนจริง ณ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ เริ่มในปี พ.ศ. 2557 และจะจัดการแข่งขันที่กรุงมะนิลาติดต่อกันจนถึงปี พ.ศ. 2559