คณะนักวิจัย ลงพื้นที่ศึกษาดูงานและประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อแสวงหาแนวทาง ปัจจัยเอื้ออำนวย และนวัตกรรมในการเข้าถึง รู้เท่าทัน และใช้ประโยชน์จาก “สื่อใหม่” ในยุคหลอมรวมเทคโนโลยี เวทีภาคตะวันออก ณ จังหวัดชลบุรี

26 Mar 2015
คณะนักวิจัยสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ลงพื้นที่ศึกษาดูงานและประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อแสวงหาแนวทาง ปัจจัยเอื้ออำนวย และนวัตกรรมในการเข้าถึง รู้เท่าทัน และใช้ประโยชน์จาก “สื่อใหม่” ในยุคหลอมรวมเทคโนโลยี เวทีภาคตะวันออก ณ เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี --- มุ่งแสวงหาแนวทางเพื่อกำหนดกรอบยุทธศาสตร์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการเรียนรู้ของคนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส ในยุคหลอมรวมเทคโนโลยี และสร้างอาสาสมัครแกนนำถ่ายทอดความรู้ในยุคหลอมรวมเทคโนโลยีสู่คนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส ในพื้นที่
คณะนักวิจัย ลงพื้นที่ศึกษาดูงานและประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อแสวงหาแนวทาง ปัจจัยเอื้ออำนวย และนวัตกรรมในการเข้าถึง รู้เท่าทัน และใช้ประโยชน์จาก “สื่อใหม่” ในยุคหลอมรวมเทคโนโลยี เวทีภาคตะวันออก ณ จังหวัดชลบุรี

เมื่อวันศุกร์ที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะนักวิจัยโครงการวิจัยยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพชีวิตและการเรียนรู้ของคนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาสในยุคหลอมรวมเทคโนโลยี สถาบันวิจัยและให้คําปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นำโดย นางสาวพรรณราย ขันธกิจ นักวิจัย ดร.อุดม มุ่งเกษม ที่ปรึกษาโครงการวิจัยฯ นายนุกูล สัญฐิติเสรี นักวิจัย และ นางสาววัชรา ไชยสาร นักวิจัย พร้อมคณะ ลงพื้นที่เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี ศึกษาดูงาน ณ มูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อพัฒนาคนพิกา(www.mahatai.org) “คุณธรรมนำฟื้นฟู พัฒนาสู่ประชาสังคม” มูลนิธิฯ เป็นองค์กรสาธารณะประโยชน์ จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๔๓ โดยคุณพ่อเรย์ มอนด์ เบรนเนน หรือ “คุณพ่อเรย์” ริเริ่มขึ้นเพื่อสร้างความมั่นคงให้โรงเรียนอาชีวพระมหาไถ่ พัทยา ซึ่งเปิดดำเนินงานมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๐ และเพื่อให้การส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการของคณะพระมหาไถ่เป็นไปตามจิตตารมณ์ได้อย่างยั่งยืน จิตตารมณ์ของคณะพระมหาไถ่คือ การช่วยเหลือผู้ที่ยากลำบากให้สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ไม่เป็นภาระแก่ผู้อื่นและเป็นผู้มีน้ำใจเสียสละเพื่อสังคม

คณะผู้วิจัย ได้เข้าเยี่ยมชมและจัดเก็บข้อมูลเพื่อประกอบการวิเคราะห์เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อความสุขและคุณภาพชีวิตของคนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส โดยร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและอำนวยความสะดวกในการศึกษาดูงานอย่างดียิ่งจาก คุณสุภรธรรม มงคลสวัสดิ์ เลขาธิการมูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อพัฒนาคนพิการ อาจารย์สัมฤทธิ์ ชาภิรมย์ และอาจารย์สายใจ ชาภิรมย์ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ของมูลนิธิฯ ซึ่งได้นำเยี่ยมชมหน่วยงานภายใต้มูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิการ ได้แก่ โรงเรียนอาชีวพระมหาไถ่ พัทยา (www.rvsd.ac.th) ศูนย์พัฒนาเด็กพิเศษพระมหาไถ่ ศูนย์พัฒนาธุรกิจเพื่อสังคม ศูนย์พิทักษ์สิทธิคนพิการ ศูนย์จัดหางานคนพิการ ศูนย์ Call Center 1479 สายด่วนคนพิการ (https://www.facebook.com/PWDCall.1479) นอกจากมูลนิธิฯ จะมีรายได้จากเงินบริจาคการกุศลแล้ว ยังได้เป็นต้นแบบของการทำธุรกิจเพื่อสังคม ได้แก่ การให้บริการสถานที่พัก และอบรมสัมมนา สำหรับบุคคลทั่วไป หรือหน่วยงาน โดยผู้เข้าพัก หรือใช้บริการก็ถือว่าได้ร่วมทำบุญไปด้วยในตัว นอกจากนี้ ยังมีการประสานความร่วมมือกับบริษัทเอกชนในการจัดตั้ง Call Center, การตั้งศูนย์ซ่อมสินค้าของบริษัท ของบริษัทในบริเวณมูลนิธิฯ เพื่อสร้างอาชีพให้คนพิการ มูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิการ นับเป็นต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการเรียนรู้ของคนพิการอย่างครบวงจรอีกแห่งหนึ่งของประเทศไทย ...ท่านใดที่เดินทางไปพัทยาอย่าลืมไปใช้บริการที่พักของศูนย์คณะพระมหาไถ่ พัทยา โทร. ๐๓๘-๔๒๘-๙๒๓ หรือ www.redemptorists.or.th เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการเรียนรู้ของคนพิการในสังคมไทย.

ส่วนวันเสาร์ที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๕๘ ช่วงเช้า เป็นการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อแสวงหาแนวทาง ปัจจัยเอื้ออำนวย และนวัตกรรมในการเข้าถึง รู้เท่าทัน และใช้ประโยชน์จาก “สื่อใหม่” ในยุคหลอมรวมเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการเรียนรู้ของคนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส โดยมีการแบ่งกลุ่มย่อยระดมสมอง ๓ หมู่บ้าน (กลุ่ม) คือ หมู่บ้านม่วงเทพรัตน์ หมู่บ้านพิทักษ์สิทธิ และหมู่บ้านจิตหรรษา ทั้งนี้ เพื่อแสวงหาแนวทาง ปัจจัยเอื้ออำนวย และนวัตกรรมที่เหมาะสม โดยการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และประสบการณ์ พร้อมกับร่วมกันให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีในยุคหลอมรวมในการเข้าถึง รู้เท่าทัน และใช้ประโยชน์จากสื่อใหม่เพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมการเรียนรู้ของคนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส รวมทั้งการสร้างอาสาสมัครแกนนำในการสื่อสารและถ่ายทอดองค์ความรู้ และแนวทางการจัดบริการโทรคมนาคม เพื่อเสนอให้ กสทช.พิจารณาจัดบริการโทรคมนาคมและเงินกองทุน กทปส.สนับสนุนการจัดบริการโทรคมนาคมที่เหมาะสม

จากนั้น ช่วงในช่วงบ่าย เป็นการนำเสนอผลการระดมความคิดเห็นกลุ่มย่อยพร้อมการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ พร้อมเสนอความเห็นเกี่ยวกับ (๑) ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการเข้ารับบริการโทรคมนาคมพื้นฐาน (๒) การใช้อุปกรณ์ เครื่องมือ อินเทอร์เน็ต การสื่อสาร และโทรคมนาคม ในการเข้าถึง รู้เท่าทัน และใช้ประโยชน์จาก "สื่อใหม่" เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการเรียนรู้ของคนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส รวมทั้งทักษะในการสื่อสาร

ผลการลงพื้นที่ศึกษาดูงานและจัดประชุมเชิงปฏิบัติการฯ เวทีภาคตะวันออกในครั้งนี้ ประสบความสำเร็จอย่างดียิ่ง มีผู้แทนองค์กรคนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการและสมัครเข้าเป็นอาสาสมัครแกนนำถ่ายทอดความรู้ในยุคหลอมรวมเทคโนโลยีสู่คนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส ในพื้นที่ จำนวนกว่า ๔๔ คน และมีข้อเสนอแนะแนวทาง ปัจจัยเอื้ออำนวย และนวัตกรรมในการเข้าถึง รู้เท่าทัน และใช้ประโยชน์จาก “สื่อใหม่” ในยุคหลอมรวมเทคโนโลยี ที่สำคัญ เช่น ขอให้เสียงของผู้เข้าร่วมเวทีในครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งที่นำไปสู่ยุทธศาสตร์ และนำไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม และเห็นว่าการสร้างอาสาสมัครแกนนำสำคัญมากๆ ต่อความสำเร็จของโครงการวิจัยในครั้งนี้

หลังจากการประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ ทางโครงการวิจัยฯ จะได้ลงพื้นที่ศึกษาดูงาน และจัดประชุมเชิงปฏิบัติการในภูมิภาคอื่นต่อไป สำหรับท่านที่สนใจร่วมแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะแนวทาง ปัจจัยเอื้ออำนวย และนวัตกรรมในการเข้าถึง รู้เท่าทัน และใช้ประโยชน์จาก “สื่อใหม่” ในยุคหลอมรวมเทคโนโลยี หรือแนวทางการวางแผนยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการเรียนรู้ของคนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส ในยุคหลอมรวมเทคโนโลยี สามารถแสดงร่วมแสดงความคิดเห็นได้ www.convergencebtfpfund.net

สำนักงานโครงการวิจัยยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพชีวิตและการเรียนรู้ของคนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส ในยุคหลอมรวมเทคโนโลยี เลขที่ 23/19-20 ซอยแจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 41 ถนนแจ้งวัฒนะ ตำบลคลองเกลือ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120 โทร. 08 1933 0388 , 08 1833 7730 โทรสาร 0 2980 9183Email: [email protected] สามารถติดตามข่าวสารของโครงการฯ ได้ที่ www.convergencebtfpfund.net

คณะนักวิจัย ลงพื้นที่ศึกษาดูงานและประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อแสวงหาแนวทาง ปัจจัยเอื้ออำนวย และนวัตกรรมในการเข้าถึง รู้เท่าทัน และใช้ประโยชน์จาก “สื่อใหม่” ในยุคหลอมรวมเทคโนโลยี เวทีภาคตะวันออก ณ จังหวัดชลบุรี คณะนักวิจัย ลงพื้นที่ศึกษาดูงานและประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อแสวงหาแนวทาง ปัจจัยเอื้ออำนวย และนวัตกรรมในการเข้าถึง รู้เท่าทัน และใช้ประโยชน์จาก “สื่อใหม่” ในยุคหลอมรวมเทคโนโลยี เวทีภาคตะวันออก ณ จังหวัดชลบุรี คณะนักวิจัย ลงพื้นที่ศึกษาดูงานและประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อแสวงหาแนวทาง ปัจจัยเอื้ออำนวย และนวัตกรรมในการเข้าถึง รู้เท่าทัน และใช้ประโยชน์จาก “สื่อใหม่” ในยุคหลอมรวมเทคโนโลยี เวทีภาคตะวันออก ณ จังหวัดชลบุรี