คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต และ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจเพื่อการปฏิรูป ผศ. ดร. อนุสรณ์ ธรรมใจ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ และ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้ให้ความเห็นว่า แนวคิดความสุขแบบยั่งยืนและการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Happiness and Sustainable Development) ควรเป็นกรอบความคิดสำคัญในการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศต่างๆโดยเฉพาะไทยในศตวรรษที่ 21 เพื่อแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนและปัญหาสิ่งแวดล้อม ความขัดแย้งจากการแย่งชิงทรัพยากรและผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ เพื่อทำให้เกิดการพัฒนาและเติบโตอย่างยั่งยืน ทำให้มนุษย์มีความสุขและคุณภาพชีวิตที่ดี ในทางวิชาการ เราจำเป็นต้องพัฒนาดัชนีเพื่อวัดความสุขที่ยั่งยืนเนื่องจาก “ความสุข” เป็นความรู้สึกและ “ความสุข” ของแต่ละคนก็ต่างกัน เราต้องสามารถวัดในเชิงปริมาณให้ได้ และ เราต้องสามารถเปรียบเทียบให้ได้ เพื่อประโยชน์ในการวางแผนการพัฒนาเพื่อความสุขและคุณภาพของชีวิตของสังคมโดยรวม ทาง ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจเพื่อการปฏิรูป คณะเศรษฐศาสตร์ ม. รังสิต จะได้พัฒนาดัชนีเพื่อวัดความสุขภายใน Inner Happiness Index ดัชนีพัฒนายั่งยืนแนวพุทธ Buddhist Sustainable Development เป็นต้น “เราไม่สามารถมีความสุขได้ในประเทศที่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชน ไม่มีสิทธิเสรีภาพ ไม่มีประชาธิปไตย ความสุขเกิดขึ้นได้ในสังคมที่มีเสรีภาพและสันติธรรม การพัฒนาอย่างยั่งยืนไม่สามารถเกิดขึ้นได้ในสังคมที่ไม่เป็นประชาธิปไตยเช่นเดียวกัน เพราะการพัฒนาอย่างยั่งยืนและความสุขอย่างยั่งยืนต้องเกิดขึ้นในสมาชิกสังคมร่วมกันกำหนดและทุกคนรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของสังคมนั้น ไม่ใช่อยู่ในฐานะผู้อาศัย”
ดร. วิทยา ปิ่นทอง ผู้บริหารสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้แสดงดัชนีการกินดีอยู่ดีของไทย(Well being Index) และ ดัชนีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ (Economic Strength Index) ถูกพัฒนาขึ้นในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 และ 9 เพื่อให้เกิดการพัฒนา
ดร. เสาวลักษณ์ กิตติประภัทร์ ผู้อำนายการศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจเพื่อการปฏิรูป คณะเศรษฐศาสตร์ ม. รังสิต กล่าวถึง ความสุขจากภายใน (Inner Happiness) ด้วยการลดความต้องการลงเพื่อให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืนและมีความสุข การลดการบริโภคและการลดการใช้ประโยชน์จากทรัพยากร Bishwa Nath Tiwari Program Specialist, Human Development Report, United Nations Development Program องค์การสหประชาชาติ กล่าวในงานสัมมนาว่า แนวคิดดัชนีการพัฒนามนุษย์ (Human Development Index) โดยให้มนุษย์เป็นศูนย์กลางสอดคล้องกับแนวคิดดัชนีแห่งความสุข (Happiness Index) HDI ได้มีการพัฒนาอย่างเป็นระบบ สามารถวัดได้และมีความเข้มแข็งทางทฤษฎี การพัฒนาอย่างยั่งยืนต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างประเทศจึงประสบความสำเร็จ
Dr. Nima Asgari, Public Health Administrator, World Health Organization (Who) องค์กรอนามัยโลก สำนักงานประเทศไทย กล่าวในความเห็นในงานสัมมนาแสดงความห่วงใยการเปลี่ยนแปลงชั้นบรรยากาศและปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน มีความเชื่อมโยงอย่างชัดเจนระหว่างสุขภาพที่ดี ความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมและระบบเศรษฐกิจ
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit