รศ.ดร.จอมพงศ์ มงคลวนิช ผู้อำนวยการ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม (สยามเทค) กล่าวว่า “วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม (สยามเทค) ได้ปรับหลักสูตรที่รองรับความต้องการของโลกยุคใหม่ อาทิ เทคโนโลยีระบบความเร็วสูง (ระบบราง), เมคคาทรอนิกส์, การโรงแรมนานาชาติ และระบบทวิภาคีรูปแบบเยอรมัน ที่มุ่งเน้น ผู้เรียนฝึกฝนทักษะกับสถานประกอบการจริง ทั้งความร่วมมือกับสถาบันชั้นนำต่างๆ ด้วยความสำเร็จครั้งนี้ ทำให้ ได้รับรางวัลพระราชทานบัณณาสสมโภช พ.ศ.2558 ดีเด่นทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี มาบูรณา การในการเรียนรู้แก่เยาวชน ทั้งได้รับรางวัลนานาชาติระดับสากล จากการแข่งขัน World Skills และยังได้คัดเลือกให้เป็นต้นแบบแหล่งเรียนรู้เชิงคุณธรรมจากศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) กระทรวงวัฒนธรรมอีกด้วย” วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม (สยามเทค) เป็นสถานศึกษาเอกชนด้านอุตสาหกรรมแห่งแรกของประเทศไทย ก่อตั้งเมื่อปี 2508 เดิมชื่อช่างกลสยาม และในปี 2554 มีการปรับเปลี่ยนสถานะและเปลี่ยนชื่อเป็น ‘วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม (สยามเทค)’ จนถึงปัจจุบัน และในปี 2552 รศ.ดร.จอมพงศ์ มงคลวนิช ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม (สยามเทค) ได้นำแนวเทคโนโลยีและอาชีวะสู่โมเดลรูปแบบใหม่ หรือ อาชีวะสายพันธุ์ใหม่ ประกอบด้วย 4 สมรรถนะ ได้แก่ W I S E (Wise Model for Competitive Workforce) แบ่งเป็น W (Work – relate Competency) คือสมรรถนะทางวิชาชีพ รวมทั้งประสบการณ์ทักษะและการผ่านทดสอบทางวิชาชีพ, I ( Information Technology ) เป็นสมรรถนะสารสนเทศ รวมทั้งการค้นพบและความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์ ระบบสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ, S (Social Service And Discipline) เป็นสมรรถนะด้านคุณธรรม วินัย และการบริการ และ E (English and Language Skill ) เป็นสมรรถนะด้านภาษาอังกฤษและการสื่อสาร โดยสามารถใช้ภาษาสากลและการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
“อาชีวะโมเดล หรืออาชีวะสายพันธุ์ใหม่ เป็นความร่วมมือวิจัยทางด้านการศึกษากับมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เมื่อครั้งสมัยเรียน ได้นำแนวคิดนี้มาต่อยอดและประยุกต์ใช้ในสถานศึกษาแห่งนี้ เพื่อที่จะพัฒนาผู้ประกอบวิชาชีพการพัฒนานักศึกษาในการแข่งขันสู่ระดับสากล โดยหลักสูตรจะสอนแบบบูรณาการ คือมุ่งเน้นให้ผู้เรียนเรียนทั้งทฤษฎีและการปฏิบัติควบคู่กันไป ทั้งการฝึกงานนอกสถานที่ กิจกรรมเสริมหลักสูตร และการทดสอบสมรรถนะต่างๆ จากมาตรฐานฝีมือแรงงาน เพื่อสร้างความเข้มแข็ง และความเป็นผุ้นำทางวิชาชีพ ที่ผู้เรียนสามารถจะนำไประยุกต์ใช้เพื่อศึกษาต่อในระดับสูงต่อไป หรือจะไปเป็นผู้ประกอบการที่มีประสิทธิภาพ ให้กับสังคมและประเทศชาติต่อไป” รศ.ดร.จอมพงศ์ มงคลวนิช กล่าวปิดท้าย
HTML::image( HTML::image( HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit