ตามการคาดการณ์ตลาดโลกของแอร์บัสในอีก 20 ปีข้างหน้า (ปีพ.ศ. 2557-2576) การขยายตัวการขนส่งผู้โดยสารทางอากาศจะเพิ่มขึ้นปีละ 4.7% ส่งผลให้เกิดความต้องการเครื่องบินขนส่งผู้โดยสารและขนส่งสินค้า (100 ที่นั่งขึ้นไป) ลำใหม่ประมาณ 31,400 ลำ ซึ่งมีมูลค่าเท่ากับ 4.6 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยฝูงเครื่องบินที่ใช้ขนส่งผู้โดยสารและขนส่งสินค้าจะเพิ่มขึ้นจาก 18,500 ลำในปัจจุบันไปสู่ 37,500 ลำในปีพ.ศ.2576 ซึ่งเท่ากับจะมีจำนวนเครื่องบินเพิ่มมากขึ้นถึง 19,000 ลำ โดยจะมีการปลดระวางเครื่องบินขนส่งผู้โดยสารและขนส่งสินค้าที่เสื่อมสภาพตามอายุการใช้งานจำนวน 12,400 ลำด้วย
อัตราการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจในตลาดที่มีศักยภาพอย่างเอเชีย ละตินอเมริกา แอฟริกา และตะวันออกกลางนั้น มีอัตราที่สูงล้ำหน้าภูมิภาคของประเทศที่ได้รับการพัฒนาแล้วเสียอีก ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบดังกล่าวมาจากการคาดการณ์ว่าจำนวนประชากรชนชั้นกลางในทวีปเอเชียจะเพิ่มขึ้นเป็น 4 เท่าของจำนวนประชากรในปัจจุบันภายในปีพ.ศ.2576 ซึ่งจะส่งผลให้จำนวนประชากรโลกเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าจาก 33% เป็น 63% การเพิ่มขึ้นของชุมชนเมืองและความหนาแน่นของความมั่งคั่งส่งผลให้จำนวนเมืองขนาดใหญ่ด้านการบิน*ทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นสองเท่าเป็น 91 เมือง โดยเมืองเหล่านี้จะเป็นศูนย์กลางของการสร้างความมั่งคั่งของโลกจากการเป็นศูนย์กลางของ 35% ของค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศทั่วโลก (World GDP) ซึ่งเป็นผลมาจากการที่ 95% ของการบินระยะไกลทั้งหมดจะทำการเดินทางผ่านเมืองเหล่านี้
ในระบบเศรษฐกิจของประเทศที่พัฒนาแล้ว ปริมาณการจราจรระหว่างประเทศจะเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ในระบบเศรษฐกิจที่กำลังเติบโตอย่างในละตินอเมริกา แอฟริกา และเอเชียแปซิฟิค ปริมาณการจราจรระหว่างภูมิภาคและภายในประเทศจะเติบโตขึ้นเร็วยิ่งกว่า ตัวอย่างเช่น การกระตุ้นการจราจรทางอากาศครั้งใหม่ร่วมกับการเข้าถึงได้ง่ายขึ้นของการเดินทางทางอากาศส่งผลให้ปริมาณการจราจรภายในประเทศอินเดียเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วที่สุด และจะกลายเป็น 1 ใน 10 ตลาดที่ใหญ่ที่สุดในปีพ.ศ.2576
“ภาคการบินมีการเติบโตในระดับที่น่าประทับใจและการคาดการณ์ล่าสุดของพวกเรายืนยันให้เห็นว่าเป็นการเติบโตในระยะยาว ในขณะที่ภูมิภาคการบินขนาดใหญ่อย่างทวีปยุโรปและอเมริกาเหนือจะเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทวีปเอเชียจะเติบโตขึ้นมาอย่างเด่นชัดด้วยตลาดที่กำลังมาแรงจากการพัฒนาอย่างกะตือรือร้น” มร.จอห์น ลีฮีห์ ประธานบริหารฝ่ายปฏิบัติการลูกค้าสัมพันธ์ของแอร์บัส กล่าว “แนวโน้มในการเติบโตดังกล่าวยืนยันมาจากการขยายตัวของการจราจรทางอากาศภายในประเทศจีน ซึ่งจะกลายเป็นตลาดด้านการบินอันดับหนึ่งของโลกภายในอีก 10 ปีข้างหน้า”
ในตลาดเครื่องบินรุ่นลำตัวกว้าง แอร์บัสเล็งเห็นถึงแนวโน้มต่อเนื่องไปสู่ตลาดในระดับที่ใหญ่ขึ้น จากการใช้เครื่องบินบินในเส้นทางระยะไกล รวมถึงการเดินทางภายในภูมิภาคและภายในประเทศที่เพิ่มขึ้นมากมาย ส่งผลให้แอร์บัสคาดการณ์ว่าจะมีความต้องการเครื่องบินรุ่นลำตัวกว้างสำหรับขนส่งผู้โดยสารและสินค้าในอนาคตมากถึง 9,300 ลำในอีก 20 ปีข้างหน้า ซึ่งมีมูลค่าเท่ากับ 2.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งคิดเป็น 30% ของการส่งมอบเครื่องบินใหม่ทั้งใหม่ในอนาคตและคิดเป็นมูลค่า 55%
“เรามองเห็นการเติบโตที่แข็งแกร่ง โดยเฉพาะในเครื่องบินรุ่นลำตัวขนาดกว้างฝาแฝดอย่าง เอ350 รุ่นลำตัวกว้างพิเศษและ เอ330 นีโอ อุปสงค์ที่มีต่อเครื่องบินรุ่นใหม่เหล่านี้มีปริมาณมากกว่าอุปทาน โดยเฉพาะในช่วงปีพ.ศ.2560 ไปจนถึง พ.ศ.2565 และหลังจากนั้นต่อไป เราจึงพยายามหาวิธีการเพิ่มกำลังการผลิตที่มากขึ้นสำหรับเครื่องบินดังกล่าวทั้งสองรุ่น” มร. จอห์น ลีฮีห์ กล่าว เครื่องบิน เอ 350 รุ่นลำตัวกว้างพิเศษ ลำแรกจะถูกส่งมอบในปลายปีนี้ ส่วนเครื่องบิน เอ330 นีโอ ลำแรกจะถูกส่งมอบในปีพ.ศ.2560
ความต้องการที่มีต่อเครื่องบินรุ่นลำตัวกว้างยังรวมถึงเครื่องบินแบบทางเดินคู่จำนวน 7,800 ลำระหว่าง 250-400 ที่นั่ง และเครื่องบินขนาดมหึมาจำนวน 1,500 ลำที่มีจำนวนที่นั่งมากกว่า 400 ที่นั่งสำหรับดำเนินการในเส้นทางการบินที่คึกคัก สะท้อนให้เห็นถึงการเติบโตที่สูงกว่าปกติรวมถึงความหนาแน่นของประชากรในเมืองได้จากการที่กว่าครึ่งของจำนวนเครื่องบินรุ่นลำตัวกว้างที่ใช้สำหรับขนส่งผู้โดยสารจะถูกส่งมอบให้กับสายการบินต่างๆที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคมากที่สุด ตามด้วยตะวันออกกลาง (16%) ยุโรป (15%) และอเมริกาเหนือ (9%)
เครื่องบินของแอร์บัสได้รับการวางแผนเป็นอย่างดีในการที่จะเป็นผู้นำในตลาดเครื่องบินรุ่นลำตัวกว้าง ด้วยเครื่องบินรุ่น เอ330 และ เอ380 ที่แสดงให้เห็นถึงการเป็นเครื่องบินจำนวนที่นั่งระหว่าง 200-500 ที่นั่งที่มีความทันสมัยและครอบคลุมความต้องการที่สุดจากผลิตภัณฑ์ประเภทเดียวกันทั้งหมด
ในตลาดเครื่องบินแบบแถวทางเดินเดี่ยว ซึ่งเครื่องบินแอร์บัสตระกูล เอ320 และรุ่นใหม่ล่าสุดอย่างตระกูล เอ320 นีโอ ได้รับการออกแบบเพื่อเป็นผู้นำในตลาดระดับโลก การคาดการณ์ล่าสุดจากแอร์บัสเล็งเห็นว่าความต้องการที่มีต่อเครื่องบินประเภทนี้จะมีมากกว่า 22,000 ลำหรือมีมูลค่าเท่ากับ 2.1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในอีก 20 ปีข้างหน้า ซึ่งมีจำนวนมากกว่าการคาดการณ์ครั้งก่อนถึง 2,000 ลำ แสดงให้เห็นถึง 70% ของเครื่องบินลำใหม่ทั้งหมดและ 45% ของมูลค่าการส่งมอบทั้งหมด
ความต้องการที่มีต่อเครืองบินแบบแถวทางเดินเดี่ยวจะยังคงมีอัตราที่สูงในตลาดต่างๆอย่างต่อเนื่อง เช่น ยุโรปและอเมริกาเหนือ ซึ่งจะมีอัตราการรับมอบเครื่องบิน 22% และ 21% ของเครื่องบินแบบแถวทางเดินเดี่ยวตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ทั้งสองภูมิภาคจะถูกไล่ตามทันด้วยความต้องการที่มีต่อเครื่องบินอแบบแถวทางเดินเดี่ยวในเอเชีย ซึ่งในเบื้องต้นจะถูกผลักดันโดยตลาดภายในประเทศจีนและอินเดียก่อน รวมถึงส่วนตลาดของสายการบินต้นทุนต่ำที่กำลังเติบโตในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยจะมีเครื่องบินจำนวน 37% ของเครื่องบินแบบแถวทางเดินเดี่ยวทั้งหมดถูกส่งมอบไปที่ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค
การเติบโตด้านการจราจรทางอากาศได้นำไปสู่ ‘การเติบโต’ ของขนาดเครื่องบินทั่วไปถึง 40% เริ่มต้นตั้งแต่ในช่วงปีพ.ศ.2523 จากการที่สายการบินต่างๆเลือกสั่งซื้อเครื่องบินที่มีขนาดใหญ่ขึ้นหรือเปลี่ยนขนาดเครื่องบินที่ยังไม่ได้รับการส่งมอบเป็นเครื่องบินขนาดที่ใหญ่ขึ้น เครื่องบินขนาดใหญ่กว่าอย่างเครื่องบินรุ่น เอ380 ทำให้สามารถจุน้ำหนักได้มากขึ้น ส่งผลให้สามารถทำงานตามกำหนดเวลาที่จำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดและสามารถบรรทุกผู้โดยสารได้ในจำนวนที่มากขึ้นโดยไม่ต้องให้บริการเที่ยวบินเพิ่มเติม จากการประกาศของสนามบินฮีทโธรว์ ณ กรุงลอนดอน ความมุ่งมั่นในการเติบโตอย่างยั่งยืนส่งผลให้เกิดการเผาผลาญพลังงานและเสียงรบกวนที่ลดลงถึง 70% ในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา และแนวโน้มเช่นนี้จะยังคงดำเนินต่อไปด้วยนวัตกรรมต่างๆ เช่น เครื่องบินรุ่น เอ320 นีโอ เอ330 นีโอ และเอ350 รุ่นลำตัวกว้างพิเศษ
เมืองขนาดใหญ่ด้านการบิน: เมืองที่มีผู้โดยสารจากเส้นทางบินระยะไกลระหว่างประเทศมากกว่า 10,000 คนต่อวัน
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit