จากกระแสความกังวลที่ลุกลามบานปลายไปทั่วสหรัฐเกี่ยวกับภัยคุกคามจากการระบาดของเชื้อไวรัสอีโบลา ส่งผลให้สหภาพพยาบาลแห่งชาติ (National Nurses United: NNU) เรียกร้องให้ประธานาธิบดีบารัค โอบามา “อาศัยอำนาจบริหาร” สั่งการให้โรงพยาบาลทุกแห่งปฏิบัติตาม “มาตรฐานและกฎเกณฑ์ระดับชาติในรูปแบบเดียวกัน” ในขั้นสูงสุด เพื่อ “คุ้มครองผู้ป่วย เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และประชาชนให้มีความปลอดภัย”
NNU ได้ส่งข้อเรียกร้องดังกล่าวในรูปของจดหมายไปยังประธานาธิบดี ก่อนหน้าที่ NNU ซึ่งเป็นองค์กรพยาบาลขนาดใหญ่ที่สุดในสหรัฐ เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมแห่งชาติทางโทรศัพท์ได้ 1 วัน โดยการประชุมดังกล่าวมีพยาบาลวิชาชีพ 11,500 คนจากทั่วทั้งสหรัฐเข้าร่วมการประชุมเพื่อหารือเรื่องมาตรการที่ควรนำมาใช้ในการรับมือโรคร้ายแรงนี้ โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า โรคดังกล่าวเป็นวิกฤตสาธารณสุขครั้งรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์
ในการเรียกร้องครั้งนี้ พยาบาลวิชาชีพจากแคลิฟอร์เนีย เขตปกครองพิเศษโคลัมเบีย ฟลอริดา แมสซาชูเซตส์ มิชิแกน นิวยอร์ก โอเรกอน และเท็กซัส ได้บอกเล่าถึงความกังวลที่แพร่สะพัดภายในโรงพยาบาลของตนเองเกี่ยวกับการเตรียมการที่ไม่เพียงพอ หลังจากที่พยาบาล 2 รายมีผลทดสอบอีโบลาเป็นบวก โดยพยาบาลรายนี้ได้ทำงานในโรงพยาบาลที่ผู้ป่วยติดเชื้ออีโบลารายหนึ่งได้เสียชีวิต
ข้อเรียกร้องดังกล่าวยังมีขึ้นในช่วงระยะเวลาไม่กี่ชั่วโมงภายหลัง NNU wfhออกแถลงการณ์ของพยาบาลวิชาชีพที่ทำงานในโรงพยาบาลเท็กซัส เฮลธ์ เพรสไบเทอเรียน (Texas Health Presbyterian Hospital) ในเมืองดัลลัส ซึ่งแสดงความคับข้องใจและกังวลในเรื่องการขาดความพร้อมและการฝึกอบรม ณ โรงพยาบาลแห่งนี้ ซึ่งป็นโรงพยาบาลแห่งแรกที่มีผู้ป่วยด้วยเชื้อไวรัสอีโบลาเข้ารับการรักษาและเสียชีวิตในเวลาต่อมา และปัจจุบันก็เป็นโรงพยาบาลแห่งแรกที่พยาบาลวิชาชีพติดเชื้อไวรัสดังกล่าว
แถลงการณ์ระบุว่า พยาบาลวิชาชีพในเท็กซัสอธิบายถึงความสับสนภายในโรงพยาบาลเกี่ยวกับนโยบายที่ใช้รับมือกับผู้ป่วยอีโบลา การฝึกอบรมขั้นสูงและอุปกรณ์ป้องกันบุคลากรอย่างเหมาะสมที่มีไม่เพียงพอ ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงแนวทางปฏิบัติ โดยพยาบาลกลุ่มนี้กล่าวในตอนท้ายว่า ตนเองรู้สึกไม่ได้รับการสนับสนุน ไม่รับการเตรียมความพร้อม และถูกปล่อยให้จัดการสถานการณ์เองตามลำพัง”
“รู้สึกเสียใจที่ปัญหาที่ได้มีการแสดงออกผ่านพยาบาลวิชาชีพเท็กซัส เฮลธ์ เพรสไบเทอเรียนผู้กล้าของเรานั้น ปัญหาเกิดขึ้นจนได้ในระบบสาธารณสุขเอกชนที่ดำเนินการไปคนละทิศละทางและขาดการประสานงานกัน สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นถึงความกังวลที่เราได้ยินจากพยาบาลทั่วสหรัฐ” โรสแอนน์ เดโมโร ผู้อำนวยการบริหารของ NNU กล่าว
ทั้งนี้ สถานการณ์ในเมืองดัลลัส ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความกังวลของพยาบาลทั่วประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการแสดงความกังวลผ่านทั้งทางโทรศัพท์และผลสำรวจออนไลน์ของ NNU ที่ตอบโดยพยาบาลกว่า 2,500 รายนั้น กระตุ้นให้ NNU ออกมาเรียกร้องให้ประธานาธิบดีโอบามาออกมาตรฐานความปลอดภัยที่ดีขึ้นในสถานพยาบาลสหรัฐ
“ผู้ป่วย พยาบาล และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขไม่ควรตกอยู่ในความเสี่ยงอีกแม้แต่คนเดียวจากการขาดความพร้อมของสถานพยาบาล” เดโมโรระบุในจดหมายถึงประธานาธิบดีโอบามา “สหรัฐควรเป็นตัวอย่างแนวทางในการควบคุมและขจัดไวรัสอีโบลา”
จดหมายยังระบุด้วยว่า
“หน่วยงานด้านสาธารณสุขทุกแห่งจะต้องได้รับคำสั่งให้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกัน รวมทั้งสถาบันด้วยเช่นกัน ดังต่อไปนี้
การแพร่ระบาดของอีโบลาและการสัมผัสเชื้อไวรัสของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขสะท้อนให้เห็นถึงอันตรายต่อวงการสาธารณสุขอย่างชัดเจน
เราทราบว่า หากไม่มีข้อบังคับเหล่านี้ในสถานพยาบาล จะทำให้พยาบาลวิชาชีพ แพทย์ และเจ้าหน้าสาธารณสุขอื่นๆตกอยู่ในความเสี่ยงขั้นรุนแรง ทั้งที่บุคลากรเหล่านี้ คือ ปราการด่านหน้า เราจะไม่ส่งทหารเข้าไปในสนามรบโดยปราศจากเกราะและอาวุธ
สุดท้ายนี้ พยาบาล และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขไม่ควรตกอยู่ในความเสี่ยงอีกแม้แต่คนเดียวจากการขาดความพร้อมของสถานพยาบาล สหรัฐควรเป็นตัวอย่างแนวทางในการควบคุมและขจัดไวรัสอีโบลา
“ข้อบังคับที่ใช้มาตรฐานที่เหมาะสมเท่านั้น จึงจะเป็นที่ยอมรับของพยาบาลประเทศนี้” เดโมโรทิ้งท้ายในจดหมายถึงประธานาธิบดี
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit