ส่วนวาระที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนผ่านการรับชมดิจิตอลทีวี ได้แก่ วาระความคืบหน้าพื้นที่ครอบคลุมสัญญาณและจำนวนครัวเรือนที่ครอบคลุมโครงข่ายโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล (39 สถานีหลัก) และข้อแนะนำประเภทสายอากาศเพื่อการรับสัญญาณโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล วาระผลการดำเนินการติดตั้งสถานีวิทยุคมนาคม เพื่อให้บริการโครงข่ายโทรทัศน์ภาคพื้นดิน วาระข้อมูลเบื้องต้นของสถานีเสริมบนโครงข่ายโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอลจำนวน 75 สถานี และวาระการรายงานผลดำเนินการติดตั้งสถานีวิทยุคมนาคมเพื่อให้บริการโครงข่ายโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล(สถานีหลัก) และการขอขยายระยะเวลาติดตั้งสถานีวิทยุคมนาคมเพื่อให้บริการโครงข่ายโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล(สถานีหลัก)ของกรมประชาสัมพันธ์ และเรื่องร้องเรียน กรณีขอให้สำนักงานกสทช.เร่งตรวจสอบการให้บริการโครงข่ายทีวีดิจิตอล ของ บ.อสมท. จำกัด(มหาชน) และวาระสำหรับการปูพรมประชาสัมพันธ์ทีวีดิจิตอล และเสนอกรอบงบประมาณปี 2558 ให้บอร์ด กสท. พิจารณาก่อนเสนอบอร์ดใหญ่
วาระอื่นๆน่าสนใจ ได้แก่ การพิจารณาร่างประกาศ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์การจัดทำผังรายการสำหรับการให้บริการกิจการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์(ฉบับที่3) พ.ศ. หลังรับฟังความคิดเห็น และวาระ(ร่าง)ประกาศ สำนักงาน กสทช. เรื่อง การกระทำที่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2557 ซึ่งนาวสาวสุภิญญา กล่าวว่า ร่างประกาศสำนักงาน ฉบับนี้เป็นการแก้ปัญหาระดับเสียงในทีวีดิจิตอลให้สม่ำเสมอ หลังจากก่อนนี้ที่ประชาชน ร้องเรียนเรื่องเสียงโฆษณาดังกว่ารายการโดย ทางสำนักงานได้ให้ผู้เชี่ยวชาญจาก NECTEC ศึกษาและมีข้อเสนอให้ใช้มาตรฐานของ European Broadcasting Union (EBU) และ ITU ถ้าหากผ่านประกาศฉบับนี้ โครงข่าย MUX ก็มีหน้าที่ช่วยดูแลเรื่องนี้เพื่อการคุ้มครองระดับเสียงในทีวีให้ผู้บริโภค
“วันจันทร์นี้ดิฉันจะเสนอบอร์ดให้นัดประชุมอนุกรรมการเปลี่ยนผ่านสู่ทีวีดิจิตอลอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวแทนดิจิตอลทีวี 24 ช่อง พร้อมกับโครงข่ายฯ เพื่อมาสะท้อนทางแก้ปัญหาโครงข่าย ร่วมกัน รวมทั้งสรุปเรื่องปัญหาจากการแจกคูปองที่ผ่านมาด้วย ทั้งนี้ หลังจากที่ บอร์ด กสท.ได้แก้ปัญหาการออกคู่ขนานแล้ว ยังพบปัญหาเรื่องการแจกคูปองที่ดูแลโดยสำนักงานยังต้องเร่งแก้ไข รวมทั้งความพร้อมของโครงข่ายดิจิตอลทีวีสำหรับการจัดสรรให้ทีวีสาธารณะเพิ่มเติม รวมถึงปัญหาเดิม ในการประชุมครั้งนี้จะพิจารณาการเสริมสัญญาณในพื้นที่ที่ยังไม่สามารถรับชมได้ Portable Indoor (PI Gap Filler) ที่จะช่วยเพิ่มการรับชมสัญญาณได้ทั่วถึงมากขึ้น หากประชาชนพบปัญหาด้านเทคนิคหรืออื่นๆที่เกี่ยวข้อง สามารถโทรมาสอบถามฟรีได้ที่หมายเลข 1200 จะมีช่างเทคนิคช่วยตอบปัญหา” นางสาวสุภิญญา กล่าว
ส่วนผลการประชุมทั้งหมดเป็นอย่างไร ชวนจับตา
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit