“สำนักสิริพัฒนา”หวั่นภาคธุรกิจไทยแข่งขันสูงหลังเปิด AEC แนะคนไทยเน้นฝึกอบรมพัฒนาศักยภาพสู้บุคคลากรต่างประเทศ

24 Oct 2014
นางใจชนก ผู้อำนวยการสำนักสิริพัฒนา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยว่า ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ในปี 2558 ซึ่งจะส่งผลกระทบทำให้ประเทศไทยเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในภาคธุรกิจเอกชนและภาครัฐ การเปลี่ยนแปลงในการกำหนดกลยุทธ์และเป้าหมายขององค์กรทำให้เกิดภาระงานเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะด้านการบริหาร การจัดการ และการกำหนดแผนการปฏิบัติหน้าที่ในองค์กรเพื่อรองรับ AEC ก็ควรมีการปรับให้เหมาะสมกับสภาวะการณ์เพื่อพร้อมรับกับความต้องการใหม่ๆที่มากขึ้น ผู้บริหารขององค์กรจึงจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจ มองเห็นภาพรวมของการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน สามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อการบริหารและรองรับการพัฒนาองค์กร รวมถึงการพัฒนาบุคลากรซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่งให้สอดคล้องกับการเติบโตของประชาคมอาเซี่ยน (AEC) พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงสู่วิสัยทัศน์ใหม่ๆพร้อมที่จะแข่งขันในยุคของ AEC ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
“สำนักสิริพัฒนา”หวั่นภาคธุรกิจไทยแข่งขันสูงหลังเปิด AEC แนะคนไทยเน้นฝึกอบรมพัฒนาศักยภาพสู้บุคคลากรต่างประเทศ

ทั้งนี้สำนักสิริพัฒนาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เป็นสถาบันฝึกอบรมแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทยที่ได้รับการยอมรับและและมีความเป็นระดับสากล (WorldClass Organization) อีกทั้งยังได้รับรางวัลประกันคุณภาพติดต่อกันถึง 4 ปี โดยปัจจุบันมีหลักสูตรอบรมมากมายที่สามารถเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพบุคลากรเพื่อรองรับการเปิด AEC ได้เป็นอย่างดี ประกอบด้วย 1.In-house Training หลักสูตรที่ออกแบบตามความต้องการของหน่วยงาน โดยวิทยากรและทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านวิชาการ อาทิ นวัตกรรมการบริหารพัฒนาเมือง, การพัฒนาภาวะผู้นำสำหรับผู้บริหาร, นักบริหารระดับสูง, ผู้บริหารท้องถิ่นกับประชาคมอาเซียน 2.Public Training หลักสูตรสำหรับบุคคลทั่วไปที่ครอบคลุมทุกสาขาวิชาทั้งด้านการบริหารและสังคมศาสตร์ ประกอบด้วยหลักสูตรกว่า 80 หลักสูตร อาทิ หลักสูตรการเจรจาต่อรองในศตวรรษที่ 21 หลักสูตรการวางแผนกลยุทธืองค์กรสู่ความสำเร็จ และหลักสูตรการวางแผนและบริหารโครงการอย่างมืออาชีพ

3.Specialized Training หลักสูตรที่เน้นให้ความรู้ในสาขาวิชาชีพเป็นการเฉพาะทาง หรือให้บริการอบรมแก่บุคลากรในสาขาวิชาชีพนั้น รวมทั้งการจัดประเมินเฉพาะด้าน (Assessment) อาทิ หลักสูตรพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการเพื่อรองรับ AEC 4.International Training ให้บริการฝึกอบรมเป็นภาษาต่างประเทศให้กับชาวไทยและชาวต่างชาติ ทั้งในลักษณะ Public Training, In-house Training และ Tailor-Made Training ซึ่งผู้เข้าฝึกอบรมจะได้รับประโยชน์จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันบนความหลากหลายทางวัฒนธรรม และ 5.หลักสูตรเพื่อบริการวิชาการแก่สังคม โดยผู้เข้าอบรมไม่ต้องเสียค่าลงทะเบียน ได้แก่ การพัฒนาบุคลากรเพื่อรองรับอาเซียน, ทิศทางการค้าเพื่อรองรับอาเซียน, แนวคิดเชิงนวัตกรรมเพื่อรองรับ AEC

นอกจากนี้ยังมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิและมากด้วยประสบการณ์ ที่มีชื่อเสียงระดับประเทศ ทั้งจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน อาทิดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายกานต์ ตระกูลฮุน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ในเดือนพฤศจิกายนนี้ ทางสำนักสิริพัฒนาได้จัดอบรมหลักสูตรสำหรับบุคคลทั่วไป (Public Training) ได้แก่ “เทคนิคเชิงลึกในการจัดการความเสี่ยงสมัยใหม่แบบครบวงจร รุ่นที่ 6”ซึ่งจะเปิดอบรมในวันที่ 4 - 6 พฤศจิกายน 2557 และ “การวางแผนกลยุทธ์องค์กรสู่ความสำเร็จ รุ่นที่ 4” ซึ่งจะเปิดอบรมในวันที่ 13 - 14พฤศจิกายนนี้ พร้อมกันนี้ยังมีโครงการฝึกอบรมอีก 2 หลักสูตรเพื่อพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรและการกำหนดกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัย ได้แก่ หลักสูตร"พัฒนาศักยภาพผู้บริหารมหาวิทยาลัย รุ่นที่ 7" และ "การบริหารงานอุดมศึกษาระดับสูงรุ่นที่ 1” ซึ่งสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ได้รับรองให้เป็นหน่วยจัดจากสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.) ซึ่งผู้บริหารสายสนับสนุนระดับสูงของมหาวิทยาลัยทุกคนจะต้องผ่านหลักสูตรนี้ ตามที่ สกอ. กำหนด อย่างไรก็ตามสำนักสิริพัฒนาหลักสูตรการอบรมมากมาย หลายสาขาวิชา และจัดการอบรมตลอดทั้งปี โดยผู้ที่สนใจสามารถตรวจสอบข้อมูลต่าง ๆ หรือสำรองที่นั่งได้ที่ www.training.nida.ac.th หรือ Facebook: trainingnida, E-mail: [email protected] ทางโทรศัพท์ 02-727 3231, 02-727 3213 - 14

HTML::image( HTML::image( HTML::image(