นพ. ชาญพงค์ ตังคณะกุล ผู้อำนวยการศูนย์สมองและระบบประสาทกรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพกล่าวว่า ศูนย์สมองและระบบประสาทกรุงเทพ ให้ความสำคัญกับการดูแลผู้ป่วยโรคสมองแบบครบครัน ด้วยการเน้นด้านการให้ความรู้ เพื่อป้องกันการเกิดโรคด้านสมองและระบบประสาท ซึ่งเป็นโรคที่คนไทยเป็นมากเป็นอันดับต้น ๆ ของประเทศ เพื่อให้เข้าถึงการรักษาตลอดจนความพร้อมที่จะดูแลสุขภาพด้านสมอง ศูนย์สมองและระบบประสาทกรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพ นอกจากจะพร้อมด้วยทีมแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ ที่ได้รับการฝึกอบรมอย่างต่อเนื่องและที่สำคัญคือ พร้อมด้วยอุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์ทันสมัยอย่างครบครัน ยังจำแนกเป็นคลินิกเฉพาะทาง 5 ด้านคือ คลินิกป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง, คลินิกลมชัก, คลินิกความจำ, คลินิกปวดศีรษะ และคลินิกพาร์กินสันและการเคลื่อนไหวผิดปกติ ศูนย์สมองและระบบประสาทกรุงเทพได้รับรองมาตรฐานระดับสูงในด้านการป้องกัน และดูแลรักษาพยาบาลเฉพาะโรคหลอดเลือดสมอง หรือที่เรียกกันว่า โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต จาก JCI (Joint Commission International) ประเทศอเมริกา ชี้ให้เห็นถึงความพร้อมด้านการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเป็นอย่างมาก จึงเกิดเป็น คลินิกป้องกันโรคหลอดเลือดสมองเน้นการบริการ โดยมีทีมแพทย์สหสาขาวิชา ทั้งทางด้านสมอง อัมพฤกษ์ อัมพาต ทีมพยาบาล นักกายภาพบําบัด นักโภชนาการ นักจิตบําบัด เภสัชกร เพื่อคอยดูแลผู้ป่วย อีกทั้งให้ความรู้ญาติผู้ป่วยเมื่อผู้ป่วยสามารถกลับไปรักษาตัวที่บ้านได้ ส่วนคลินิกระบบประสาท เป็นการดูแลด้านอายุรกรรมประสาท ที่ครอบคลุมโรคต่าง ๆ อาทิ ปวดศีรษะเรื้อรัง ไมเกรน เวียนศีรษะบ่อยๆ โดยไม่ทราบสาเหตุ โรคอัมพฤกษ์จากหลอดเลือดสมองตีบ แตก หรือตัน โรคลมชักหรืออาการวูบ โรคการเคลื่อนไหวผิดปกติ และพาร์กินสัน ปวดแสบปวดร้อน จากเส้นประสาทอักเสบ โรคสมองเสื่อม โรคของเส้นประสาท เช่น ชามือ ชาเท้า เป็นต้น โรคหลอดเลือดสมองแตก-ตีบตัน อัมพฤกษ์ อัมพาต หรือที่เรียกรวมๆว่า สโตรค (stroke) นั้นเป็นสาเหตุของความพิการและการเสียชีวิต เกิดจากการที่หลอดเลือดซึ่งพาออกซิเจนไปเลี้ยงสมองอุดตัน ทําให้สมองขาดออกซิเจน และเกิดความเสียหายส่งผลกระทบต่อการพูด และการเคลื่อนไหวของร่างกาย อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ในกรณีที่รุนแรง อาการของโรคหลอดเลือดสมอง มักเริ่มจากแขนขาอ่อนแรง หรือชาบริเวณใบหน้าซีกใดซีกหนึ่ง ตาข้างใดข้างหนึ่งพร่ามัวหรือมองไม่เห็น มีปัญหาด้านการพูดหรือการเข้าใจบทสนทนา ปวดศีรษะเฉียบพลันแบบไม่มีสาเหตุ รวมถึงอาการวิงเวียนหรือวูบแบบเฉียบพลัน การดูแลสุขภาพสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองคือ การใช้ชีวิตแบบใส่ใจในสุขภาพ เช่น ควบคุมความดันโลหิต ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกําลังกายอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ และหมั่นตรวจสุขภาพเป็นประจํา เป็นวิธีที่ดีในการลดปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง
ด้าน ดร.นพ. โยธิน ชินวลัญช์ อายุรแพทย์สมองและระบบประสาท กล่าวถึง โรคลมชักเกิดขึ้นได้ตลอดชีวิต ตั้งแต่แรกคลอด วัยเด็ก วันรุ่น วัยผู้ใหญ่จนถึงผู้สูงอายุแต่กลุ่มที่พบมากได้แก่วัยเด็กและวัยสูงอายุที่มีโอกาสพบโรคนี้ได้ราว 1.5-1.8% และส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย คลินิกลมชักจึงเกิดขึ้น เพื่อดูแลผู้ป่วยโรคลมชัก โดยทีมแพทย์ เพื่อการรักษาที่มีมาตรฐานและเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ให้บริการตรวจรักษาผู้ป่วยโรคลมชักด้วยแพทย์เฉพาะทาง และบริการให้คำปรึกษาเมื่อมีอาการชักหรือสงสัยว่าเป็นโรคลมชัก เพื่อให้คำแนะนำที่เหมาะสมต่ออาการหรือปัญหา ลดความเสี่ยงต่ออันตรายที่เกิดขึ้นขณะชัก อาการชักที่แสดงออกไม่จําเป็นต้องเกร็งกระตุกเสมอไป โดยรูปแบบของอาการมีความหลากหลายและเกี่ยวเนื่องสมองที่ควบคุมส่วนต่างๆ ของร่ายกาย เช่น หากพบความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับสมองส่วนที่ควบคุมแขน อาการที่เห็นได้ชัดคือ แขน ขา มือ ใบหน้าหรือซีกหนึ่งมีการเกร็งกระตุกอย่างชัดเจน ในขณะที่ความผิดปกติเกิดขึ้นกับสมองส่วนควบคุมความจํา อารมณ์และพฤติกรรม สิ่งที่แสดงออกคือ อาการเหม่อลอย นิ่ง และไม่รู้สึกตัว ความผิดปกติของเซลล์สมองที่เกิดขึ้นจากพันธุกรรมเป็นตัวกําหนดและปัจจัยภายนอกจากอุบัติเหตุมีส่วนทําให้การวางเซลล์สมองผิดปกติและเมื่อใดที่ไฟฟ้าเกิดลัดวงจร อาการชักก็จะปรากฏให้เห็นอาการชักอาจเกิดขึ้นชั่วขณะ แล้วหายไปก่อนที่จะเกิดซ้ำคล้ายแบบเดิมเกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งการกระตุ้นในรูปแบบซ้ำๆ ทําให้สมองถูกทําลายอยู่เป็นประจํา เป็นปัจจัยสําคัญที่ทําให้เด็กมีพัฒนาการทางสมองช้าลง การเรียนรู้ที่ผิดปกติและเสี่ยงที่จะสมองพิการได้ในอนาคต การตรวจเอ็กซเรย์สมอง ตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง 24 ชั่วโมง การตรวจทางรังสีและEEG, MRI brain, SPECT PET จะช่วยยืนยันจุดกําเนิดความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับสมองได้ นําไปสู่การวางแผนรักษา มีการใช้เทคนิคใหม่ EEG simultaneous fMRI brain, high density EEG 128 channel ซึ่งเป็นการตรวจบันทึกคลื่นไฟฟ้าสมองพร้อมกับการตรวจ MRI brain และการทำงานของสมอง fMRI brain ทำให้สามารถตรวจหาจุดกำเนิดไฟฟ้าส่วนที่ผิดปกติได้แม่นยำขึ้น
นพ.ชาคร จันทร์สกุล อายุรแพทย์สมองและระบบประสาท กล่าวว่า อาการปวดศีรษะเป็นอาการที่มีผู้ป่วยเข้ามาปรึกษาแพทย์เป็นจำนวนมาก เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น อาการปวดศีรษะไมเกรน อาการปวดศีรษะจากกล้ามเนื้อตึงตัว (tension-type headache) หรือจากโรคหรือภาวะต่างๆ ที่อาจเป็นอันตรายต่อร่างกาย เช่น เนื้องอกในสมอง เลือดออกในสมอง การติดเชื้อในสมองหรือเยื่อหุ้มสมอง เป็นต้น คลินิกปวดศีรษะที่โรงพยาบาลกรุงเทพมีวิธีสำหรับคัดกรองการปวดศีรษะประเภทต่างๆ และเทคโนโลยีการตรวจวินิจฉัยที่ทันสมัย ช่วยในการวิเคราะห์ปัญหาได้ตรงจุด ทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ถูกต้อง แม่นยำ และรวดเร็ว คลินิกปวดศีรษะยังมีวิธีการรักษาอาการปวดศีรษะที่หลากหลาย เช่น การใช้ค็อกเทลหรือตัวยาหลายชนิดร่วมกันเพื่อช่วยรักษาอาการปวดศีรษะเฉียบพลัน ซึ่งวิธีนี้จะดีกว่าการฉีดยาเพื่อลดอาการปวดตามปกติเพราะยังช่วยลดการกลับมาปวดศีรษะซ้ำอีกภายใน 24 ชั่วโมงได้ นอกจากนี้ยังมีการทำหัตถการทางการแพทย์เพื่อลดอาการปวดศีรษะ เช่น การฉีดยาเข้าไปบริเวณเส้นประสาทหลังท้ายทอย (occipital nerve block) หรือการฉีดโบทูลินัมท็อกซิน (โบท็อกซ์) บางครั้งอาการปวดศีรษะของผู้ป่วยอาจจะมีสาเหตุมากกว่าหนึ่งอย่าง การรักษาแบบบูรณาการโดยอาศัยความร่วมมือจากแผนกต่างๆ ในโรงพยาบาลจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น ผู้ป่วยส่วนหนึ่งจะได้รับการรักษากับแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู แพทย์ฝังเข็มจีน หรือจิตแพทย์ เพื่อให้ได้รับผลการรักษาที่ดี นอกจากนี้ที่โรงพยาบาลกรุงเทพยังมีเทคโนโลยีซึ่งอาจจะนำมาใช้ในระยะปวดศีรษะเฉียบพลันได้ เช่น การรักษาด้วยการกระตุ้นไฟฟ้ากระแสตรงผ่านกระโหลกศีรษะ(Transcranial Magnetic Stimulation:TMS) โดยอาศัยคลื่นแม่เหล็ก (magnetic pulses) และไฟฟ้ากระแสตรง (direct current) มีวัตถุประสงค์เพื่อเหนี่ยวนำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในของสมองตามแนวทางที่เรียกว่า Non Invasive Brain Stimulation (NIBS) จัดว่าเป็นวิธีการที่ปลอดภัยมีผลกระทบต่อสมองเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับการรักษาด้วยวิธีการอื่น การรักษาด้วยวิธีนี้ไม่ต้องดมยาสลบ ไม่จําเป็นต้องฝังสายไฟหรือเครื่องมือใดๆไว้ในร่างกาย. ผู้ป่วยสามารถมารับการรักษาแบบผู้ป่วยนอกและเดินทางกลับบ้านได้หลังการรักษา
ไบโอฟีดแบค (biofeedback) เป็นเทคโนโลยีการรักษาที่ช่วยให้ผู้ป่วยผ่อนคลาย สามารถรับรู้สัญญาณการทํางานจากอวัยวะต่างๆ ในสถานการณ์เครียด โกรธ เจ็บปวด ผ่อนคลาย มีความสุข และนําการรับรู้ดังกล่าวมาปรับใช้ และควบคุมร่างกาย เช่น อัตราการเต้นของหัวใจ อัตราการหายใจ อุณหภูมิของร่างกาย การเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ และการทํางานของต่อมเหงื่อ เป็นต้น การบําบัดด้วยเครื่องมือไบโอฟีดแบค เจ้าหน้าที่จะทําการติดอุปกรณ์ตรวจวัดสัญญาณลงบริเวณร่างกายซึ่งไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดแต่อย่างใด และกระตุ้นให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลาย วิธีนี้ยังทําให้ผู้ป่วยลดการรับประทานยาได้อีกด้วย
นพ. อภิชาติ พิศาลพงศ์ อายุรแพทย์สมองและระบบประสาท กล่าวว่า คลินิกโรคพาร์กินสันเเละการเคลื่อนไหวผิดปกติ ให้การดูแลรักษาโรคเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติจะครอบคลุมไปถึงการเคลื่อนไหวที่ช้าเกินไปเช่น โรคพาร์กินสัน(Parkinson's Disease) ซึ่งนอกจากการเคลื่อนไหวที่ช้า แล้วผู้ป่วยจะมีอาการสั่น เกร็งปวดของกล้ามเนื้อ และสูญเสียการทรงตัวร่วมด้วยซึ่งปัจจุบันโรคนี้จะพบได้มากขึ้นจากสังคมที่มีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น ส่วนการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติที่เร็วเกินไปได้เเก่อาการสั่น (tremor) อาการกระตุก(myoclonus, tics disorders) อาการบิดเกร็งกระตุกของกล้ามเนื้อ(dystonia) หรืออาการเคี้ยวปาก หรืออาการคล้ายรำละคร (chorea) เป็นต้น ซึ่งโรคเหล่านี้ต้องพยายามตรวจค้นเพื่อหาสาเหตุ เพื่อการรักษาที่ต้นเหตุ ปัจจุบันมีการตรวจด้วยเครื่องสแกนสมองชนิดCT, MRI และ PET Scan โดยเฉพาะ F-DOPA PET จะใช้เพื่อวินิจฉัยยืนยันโรคพาร์กินสันโดยเฉพาะได้อย่างละเอียดเพิ่มขึ้น ส่วนการรักษาโรคพาร์กินสันที่ได้ผลคือการรักษาด้วยยาทดแทนโดปามีนที่ขาดไป ปัจจุบันมียาอยู่หลายชนิดที่มีประสิทธิภาพสูงทำให้อาการของผู้ป่วยดีขึ้น ส่วนในกลุ่มที่เกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยามานาน(motor fluctuations) สามารถรักษาด้วยวิธีฝังelectrode เพื่อกระตุ้นสมองส่วนลึก(deep brain stimulation) ร่วมด้วย เพื่อลดปริมาณยาที่ใช้และลดผลข้างเคียงจากการใช้ยาลงได้ โดยการผ่าตัดจะแบ่งเป็นสองขั้นตอนโดยขั้นตอนแรกจะทำการผ่าตัดเพื่อฝังelectrode ขนาดเล็กเข้าไปที่สมองส่วน subthalamic nucleus โดยทำการผ่าตัดที่สมองทั้งสมองข้างโดยเจาะรูเล็กๆที่กระโหลกศีรษะ เเละจะมีการทดสอบว่าผู้ป่วยอาการดีขึ้นไหมโดยการกระตุ้นสมองส่วนนั้นโดยที่ผู้ป่วยยังรู้ตัวตลอดเวลา เมื่อสำเร็จแล้วจะทำการผ่าตัดขั้นตอนที่สองคือผ่าตัดฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าขนาดเล็ก (IPG DBS battery) ไว้ที่หน้าอกเเล้วเชื่อมต่อกับสายelectrode ในสมอง หลังจากนั้น3-4สัปดาห์จะทำการตั้งโปรเเกรมตัวเครื่องที่หน้าอก เเละดูการตอบสนองของอาการของผู้ป่วยโดยสามรถลดอาการเกร็ง สั่นเเละช่วยให้การเคลื่อนไหวดีขึ้น โดยการเปิดปิดเครื่องหรือตั้งโปรเเกรมสามารถทำได้จากภายนอกโดยตัวremote programmer โดยเเพทย์หรือตัวผู้ป่วยเองก็สามารถทำได้โดยมีเครื่อง patient self programmer เช่นเดียวกัน
ส่วนการรักษาด้วย botulinum toxin injection เป็นการรักษาโรคหน้ากระตุก(Hemifacial spasm) โรคคอบิดเกร็ง (cervical dystonia) กล้ามเนื้อเกร็งจากโรคอัมพฤกษ์อัมพาต(muscle spasticity) เพื่อลดการเกร็ง การกระตุก เเละความปวดจากการเกร็งของกล้ามเนื้อลงได้ สารนี้จะไปยับยั้งการทำงานของกล้ามเนื้อชั่วคราว (transient focal muscle paralysis)โดยไปยับยั้งการปล่อยสาร acetyl choline ที่ปลายประสาทที่ต่อกับกล้ามเนื้อ หลังฉีดยาจะไม่ออกฤทธิ์ทันทีต้องใช้เวลา 3-4 วันเเละจะออกฤทธิ์สูงสุดในสัปดาห์ที่ 2 เเละผลของการรักษาจะอยู่ได้นานถึง 2-3เดือน นอกจากนี้สารนี้ยังสามารถลดการหลั่งเหงื่อซึ่งเป็นต้นเหตุของกลิ่นตัวได้อีกด้วย
นพ. พิพัฒน์ ชุมเกษียร แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู เผยว่า ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูระบบประสาท ให้บริการประเมินสมรรถนะความสามารถและโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพอย่างครบครัน ด้วยรูปแบบเฉพาะรายตามสภาพการสูญเสียความสามารถ เพื่อคืนความสุขให้ผู้ป่วยและญาติได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีสามารถกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้ปกติหรือใกล้เคียงปกติของผู้ป่วยทั้งสี่กลุ่ม คือโรคหลอดเลือดสมอง,พาร์กินสัน-การเคลื่อนไหวผิดปกติ,ลมชัก และ ปวดศีรษะ ดังนี้
บริการฟื้นฟูสมรรถภาพ ผู้ป่วยทางระบบประสาท ( เป้าหมาย) โรคหลอดเลือดสมอง พาร์กินสัน ลมชัก ปวดศีรษะ
1. การฝึกกลืนปลอดภัย
(ป้องกันสำลักอาหาร)
2.การพูดและสื่อสาร(สื่อสารได้ดีขึ้น)
3.เดินได้อย่างปลอดภัย(ป้องกันล้ม)
4.Vienna Test and CogniPlus Training
( เพิ่มเชาวน์ปัญญา)
5.ประเมินและปรับท่าทาง(ให้ท่าถูกต้อง)
6.การยศาสตร์ (ออกแบบอุปกรณ์และสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการทำงาน)
โรคหลอดเลือดสมอง พาร์กินสัน ลมชัก ปวดศีรษะ
7.การกลับเข้าทำงานหลังเจ็บป่วย(ได้งานที่เหมาะสมกับศักยภาพความสามารถ)
8.LASER Therapy ปวด
การประเมินและการฝึกทางเชาวน์ปัญญา(Vienna Test and CogniPlus Training) ผู้ป่วยทางสมองควรได้รับการประเมินและฝึกทุกราย ที่สามารถสื่อสารเข้าใจและร่วมมือทำได้ ผลลัพธ์ที่ได้จะมีรายงานผลเทียบกับค่าเฉลี่ยของคนที่มีอายุและเพศเดียวกัน (เทียบคนอื่น) และรายงานผลเทียบกับตนเองดูพัฒนาการจากการฝึกต่อเนื่อง (เทียบตนเอง)
การฝึกกลืนปลอดภัยเพื่อป้องกันสำลักอาหาร, การพูดและสื่อสารเพื่อสื่อสารให้ดีขึ้น, การเดินอย่างปลอดภัยเพื่อป้องกันลม เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องประเมินและฝึก ในผู้ป่วยทางสมองแทบทุกราย
ประเมินและปรับท่าทางให้ท่าถูกต้อง Posture Analysisโปรแกรมวิเคราะห์โครงร่างภายนอกของ คอ บ่า หลัง เพื่อประเมินความสมดุลในการทํางานของกล้ามเนื้อและลดอาการปวดศีรษะ การจัดท่าทางการนอน นั่ง ยืน เดิน ให้เหมาะสมในคนไข้โรคหลอดเลือดสมองและพาร์กินสัน
LASER Therapy เป็น LASER กําลังต่ำ ที่ให้พลังงานต่ำกว่า 500 มิลลิวัตต์ เป็นเป็นเครื่องมือทางกายภาพบําบัดที่ให้การรักษาผ่านผิวหนังโดยไม่ทําลายเนื้อเยื่อ ผลการรักษาเพื่อกระตุ้นหรือเร่งกระบวนการซ่อมแซมเนื้อเยื่อและการระงับความรู้สึกเจ็บปวด
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit