นายโอภาศ ธันวารชร กรรมการรองผู้จัดการใหญ่อาวุโส กล่าวว่า “กิจกรรมครั้งนี้ จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 3เป็นระยะเวลา 5 วัน 4 คืน ภายใต้แนวคิด ข้าว นา พา มันส์ โดยปีนี้มีเยาวชนคนรุ่นใหม่ จากสถาบันระดับอุดม ศึกษาทั่วประเทศ สมัครเข้าร่วมโครงการกว่า 1,318 คน จาก 42 สถาบัน เพื่อคัดเลือกเหลือเพียง 100 คน เข้ามาร่วมกิจกรรม เรียนรู้วิถีเกษตรแบบเจาะลึก ค้นพบมุมมองใหม่ ๆ เกี่ยวกับกระบวนการผลิต “ข้าวไทย” อันจะสอดคล้องกับวาระแห่งชาติในขณะนี้ ที่จะช่วยสร้างมุมมองว่าการทำเกษตรยุคใหม่ไม่ได้ยุ่งยาก และลำบากอย่างที่คิด สยามคูโบต้าได้ตระหนักถึงสถานการณ์นี้ จึงให้ความสำคัญด้วยการสร้างทัศนคติที่ดี ปลูกฝังจิตสำนึกโดยชี้ให้เห็นว่าการทำเกษตรยุคปัจจุบันมีทางเลือกที่หลากหลาย และยังสามารถนำเทคโนโลยีด้านเครื่องจักรกลการเกษตรเข้าไปช่วยทุ่นแรง ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าได้” นายโอภาศกล่าว
กิจกรรมในวันแรกของโครงการ Smart Farmer Camp เริ่มต้นด้วย การบรรยายเกี่ยวกับ วิวัฒนาการข้าวไทย โดย ดร.เฉลิมพล เกิดมณี นักวิจัยอาวุโส จากศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยี ชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) เล่าถึงอารยธรรมข้าว ตั้งแต่ยุคโบราณ จนถึงยุคสมัยใหม่ที่มีการพัฒนา และสร้างมูลค่าเพิ่มให้ข้าวไทย จึงถือว่าข้าวนั้นเป็นวัฒนธรรมพื้นฐานของคนไทยทุกยุคทุกสมัย
จากนั้น วันที่สองสยามคูโบต้าได้นำเยาวชนเดินทางไปที่จังหวัดสุพรรณบุรีเพื่อเรียนรู้ถึงวิธีการ ขั้นตอนและทักษะการเป็นเกษตรกรหรือชาวนา ณ “เพลินข้าวบ้าน” จังหวัดสุพรรณบุรี ที่เกิดจากการก่อตั้งกลุ่มโดยนางสาวณัฐวรรณ คำคล้าย หรือ “นกกบ” ด้วยแนวคิดที่อยากเปิดโอกาสให้คนเมืองได้เรียนรู้วิถีชีวิตของเกษตรกร การทำนาแบบเกษตรอินทรีย์ โดยมีนายอเนก เพชรหลักคำ ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ เพลินข้าวบ้านอู่ทอง มาร่วมถ่ายทอดกระบวนการปลูกและผลิตข้าวอินทรีย์ อธิบายเกี่ยวกับกระบวนการดำนา ฝัดข้าว สีข้าวรวมถึงเทคนิควิธีการบรรจุข้าวถุงแก่เยาวชน นายเอนกบอกว่าผู้บริโภคส่วนใหญ่เดินทางมาซื้อข้าว จากกลุ่ม “เพลินข้าวบ้าน” ด้วยตัวเอง เพราะมั่นใจว่าปลอดสารเคมี และเป็นข้าวคุณภาพดี และนอกจากผลิตภัณฑ์ข้าวแล้ว ทางกลุ่มยังมีการแปรรูปข้าวให้เป็นสินค้าต่างๆ เช่น สบู่ ไอศกรีมจากข้าว เป็นต้น
นอกจากการเรียนรู้ถึงแนวคิดและกระบวนการในการสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ผลิตภัณฑ์ข้าวแล้ว เยาวชนยังได้ เดินทางไปที่นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร เพื่อเยี่ยมชมโรงงานผลิตแทรกเตอร์ และรถเกี่ยวนวดข้าว ได้ทดลองขับเรียนรู้วิธีการใช้งานเครื่องจักรกลการเกษตรคูโบต้าอย่างถูกวิธี กิจกรรมในวันนี้ได้รับความสนใจจากเยาวชนเป็นอย่างมาก เนื่องจากได้ลองและสัมผัส การใช้งานจริงเพื่อให้เรียนรู้ถึงเทคนิคการทำเกษตรกรรมยุคใหม่ที่มีการใช้เทคโนโลยีเครื่องจักรกลการเกษตร เข้ามาช่วย และลดปัญหาด้านการขาดแคลนแรงงานในภาคการเกษตร
หลังจบกิจกรรมในภาคปฏิบัติ น้องๆ ได้มีโอกาสพูดคุยกับ “นิ้วกลม” หรือ นายสราวุธ เฮ้งสวัสดิ์ นักเขียนชื่อดังมาถ่ายทอดมุมมอง และประสบการณ์การใช้ชีวิต ที่ได้รับจากการเดินทางทั่วโลก เพื่อสร้างแรงบันดาลใจแบบสร้างสรรค์แก่เยาวชนที่ร่วมโครงการเมื่อได้รับแรงบันดาลใจแล้ว น้องๆ เยาวชนมีโอกาสได้ฝึกประลองความสามารถผ่านเกมบริหารธุรกิจ
“KUBOTA Smart Game”การบริหารฟาร์มของตนเอง โดยนำความรู้จากการเข้าร่วมโครงการมาปรับใช้ และจบโครงการนี้ด้วยการรับมอบประกาศนียบัตรจากผู้บริหารร่วมพิธีปิดโครงการในวันสุดท้ายของการอบรมหลากหลายกิจกรรมตลอดระยะเวลา 5 วันที่น้อง ๆ ได้ลงมือปฏิบัติ เพื่อให้รู้ลึก รู้จริงว่าข้าวแต่ละเม็ดนั้นมีคุณค่าเพียงใด นายนิษฐ์ เสริฐสุวรรณกุล สาขาชีววิทยา มหาวิทยาลัยนอร์ท แคโรไลน่า สเตท สหรัฐอเมริกา หนึ่งในผู้เข้าร่วมโครงการ บอกว่า“การมาเข้าค่ายครั้งนี้ถือ เป็นการเติมเต็มความฝันของตนเองที่อยากเรียนรู้เพิ่มเติม เกี่ยวกับพืชผลต่าง ๆ เพราะเชื่อว่า การมีความรู้ด้านวิชาการอย่างเดียวไม่พอ ต้องได้ลงมือปฏิบัติจริงด้วย จึงจะทำให้เข้าใจ ในเรื่องนั้นอย่างถ่องแท้ กิจกรรมครั้งนี้ทำให้ได้รู้ถึงการปลูกข้าว ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอน ของการทำนาแบบดั้งเดิมตั้งแต่ต้นน้ำ จนถึงปลายน้ำ ของกลุ่มเพลินข้าวบ้าน และการนำเครื่องจักรกล การเกษตรเข้ามาช่วย รวมทั้งการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าว ไม่ว่าจะเป็นโลชั่น น้ำข้าวกล้องงอก สบู่ และไอศกรีมและการเข้าร่วมโครงการนี้ทำให้ได้รับแรงบันดาลใจจากวิทยากรหลาย ๆ ท่าน ทำให้มีความเข้าใจเรื่องข้าว และรู้สึกหวงแหนอาชีพเกษตรกรรมของไทยมากขึ้น”
น.ส.ณัฐณิชา พงษ์เกลี้ยง นิสิตคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เล่าถึงความรู้สึก ในการร่วมกิจกรรมว่า “ตอนแรกมองว่าเกษตรกรรมเป็นเรื่องที่ค่อนข้างไกลตัว แต่เมื่อได้ทำกิจกรรม รู้สึกว่าวิชาเศรษฐศาสตร์นั้นสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการเกษตรได้ เช่น การนำข้าวที่เมล็ดไม่สวย ถูกคัดออกมา ก็สามารถนำเอาไปทำเป็นสินค้าอื่น เพื่อชดเชยส่วนที่เสียไป เกิดเป็นสินค้าจากชุมชน ที่มีความสด สะอาด สร้างรายได้ให้ชาวบ้าน เกษตรกรรมนั้นไม่ใช่เรื่องยากลำบากอย่างที่เข้าใจกัน หากเราตั้งใจและมีความรู้จริง
นายธนันดร ภูริวัฒนเผ่าพันธ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า “คุ้ยเคยกับอาชีพเกษตรกรอยู่แล้ว เพราะที่บ้านทำสวนลำไย แต่สิ่งที่ถือเป็นการเปิดโลกทัศน์ ในการร่วมกิจกรรมครั้งนี้ คือ เรื่องของกระบวนการปลูกข้าว พันธุ์ข้าวที่มีความหลากหลาย หากคนรุ่นใหม่ช่วยกันสานต่อด้วยการทำเกษตรอินทรีย์ หรือการนำความรู้มาประยุกต์ใช้กับการเกษตร ข้าวเหล่านี้ก็จะได้รับการอนุรักษ์และพัฒนา ส่งต่อไปยังคนรุ่นถัดไป”
กิจกรรม Smart Farmer Camp นับเป็นอีกหนึ่งโครงการที่สะท้อน ความพยายามของภาคธุรกิจ ที่จะช่วยสร้างจิตสำนึกให้เยาวชน มีความรู้ความเข้าใจ เห็นความสำคัญของเกษตรกรและชาวนาไทย สร้างแรงบันดาลในการดำเนินชีวิตที่ดีแก่เยาวชน ซึ่งถือเป็นการบ่มเพาะเมล็ดพันธุ์อันดีงาม ให้เติบโตขึ้นในสังคมไทย หากเยาวชน และประชาชนไทยทุกคนเป็นดั่งต้นกล้าพันธุ์ใหม่ ที่ตระหนักถึงความสำคัญ ของอาชีพเกษตรกรไทย และร่วมแรงร่วมใจกันสนับสนุน การบริโภคข้าวไทยอย่างเต็มที่ด้วยจิต สำนึกรักข้าวและชาวนาไทย การจะผนึกกำลังกัน เพื่อให้ภาคการเกษตร ของไทยเป็นหนึ่งในภูมิภาคนี้ ก็เป็นสิ่งที่อยู่ในความคาดหมาย
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit