พร้อมทั้งเผยว่า “อพท. เราตั้งหลักพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเพื่อให้เกิดความสมดุลย์ ทั้งเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เราจึงพัฒนาให้เกาะหมากเป็นโมเดลต้นแบบโลว์คาร์บอนเดสติเนชั่น เพื่อดึงนักท่องเที่ยว คุณภาพ ไม่ว่าจะเป็นชาวยุโรป เอเซีย หรือ คนไทยเอง เพราะกระแสการท่องเที่ยวของ คนรุ่นใหม่เริ่มมีการท่องเที่ยวแบบรักษ์โลก รักในธรรมชาติ ดังนั้น จึงพยายามดึงดูดและพัฒนากิจกรรมการ ท่องเที่ยวให้เป็นไลฟ์สไตล์ เช่น การล่องเรือใบข้ามไปยังเกาะใกล้เคียง การขี่จักรยานในเส้นทางธรรมชาติ ”
สำหรับความร่วมมือและความเข้มแข็งของท้องถิ่นในเกาะหมากเองก็มีการรวมกลุ่มกันเป็น Low Carbon Family ที่มีทั้งภาคธุรกิจ ภาคราชการและประชาชน จำนวน 45 ราย เพื่อลดการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศ ใน 4 ประเด็น คือ(1) การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและการใช้พลังงานทางเลือก(2) การใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ(3) การบริหารจัดการขยะ(4) รักษาวิถีชีวิตชุมชน
และมีการลงนามปฏิญญาเกาะหมาก Low Carbon Destination วันที่ 25 กันยายน 2555 นอกจากนั้นยังมีการพัฒนาอีกหลายกิจกรรม เกาะหมากจึงมีศักยภาพและความพร้อมในการเป็น โลว์คาร์บอนเดสทิเนชั่น
อพท.จึงร่วมกับ ISMED พัฒนาโมเดลการสร้างแบรนด์การพัฒนาท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน Low Carbon @ Koh Mak วางกลยุทธ์การพัฒนาภาพลักษณ์ (Brand Image) ในระยะเวลา 3 ปี ตั้งแต่พ.ศ. 2558-2560 วางแผนสร้างให้นักท่องเที่ยวเกิดการรับรู้และมาสัมผัสประสบการณ์การท่องเที่ยวสไตล์ Low Carbon เพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ก่อให้เกิด : การชื่นชอบ-รัก-ภักดีต่อแบรนด์ หรือ like-love-loyal
โดยในปีแรกนี้ เน้นวางรากฐานของแบรนด์ให้เข้มแข็ง โดยใช้ 3 กลยุทธ์
กลยุทธ์ระดับที่ 1 การวิจัยและสังเคราะห์แก่นของแบรนด์ Koh Mak Brand's DNA ที่จะนำมาสร้างเอกลักษณ์ ความเป็นตัวตนของ เพื่อใช้ในการสื่อสารคุณค่าที่แตกต่าง ไปยังกลุ่มเป้าหมายและนักท่องเที่ยวเป้าหมาย องค์ประกอบมี 5 องค์ประกอบ ดังนี้
1) Local determination ความมุ่งมั่น ตั้งใจของภาคธุรกิจที่หันมาร่วมมือกันรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อม
2) Sustainable Nature ความสงบ สวยงามของธรรมชาติบนเกาะหมาก
3) Community Being เสน่ห์ความน่ารักของชุมชนที่อยู่กันอย่างเกื้อกูลกัน
4) DASTA Initiatives การสนับสนุนของอพท.ทั้งด้าน วิชาการและด้านกิจกรรมโลว์คาร์บอน ช่วยสร้างเสริมให้เกิดการยอมรับและน่าเชื่อถือ
5) Tourist & Local Relationship มิตรไมตรีที่มีขึ้นระหว่างความเป็นเจ้าบ้านกับแขกผู้มาเยือน
องค์ประกอบทั้ง 5 ถูกนำมาใช้ในการสร้างความสัมพันธ์ของคนบนเกาะให้เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันและเป็นเนื้อหาหลักในสื่อสารไปยังนักท่องเที่ยวที่รักและห่วงใยในด้านผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
กลยุทธ์ที่ 2 การพัฒนา และสร้างสรรค์กิจกรรมเชิงสร้างประสบการณ์กับนักท่องเที่ยวเป้าหมาย Interactive Travelers ในลักษณะ Tourist Engagement เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมระหว่างนักท่องเที่ยวและการท่องเที่ยวบนเกาะหมาก
กลยุทธ์ระดับที่ 3 It's my brand การสร้างให้เกิดเป็นแบรนด์ในใจของลูกค้าจากคุณค่าต่างๆของแบรนด์ ซึ่งจะผ่านประสบการณ์ที่นักท่องเที่ยวมีส่วนร่วมและสัมผัสในกิจกรรมสร้างสรรค์สไตล์โลว์คาร์บอน จะสามารถทำให้แบรนด์เกาะหมากมีคุณค่าที่โดดเด่นและแตกต่างจากแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ จะเป็นแบรนด์ที่อยู่ในใจของนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ และนักท่องเที่ยวเหล่านี้ก็จะช่วยสื่อสารไปยังนักท่องเที่ยวอื่นๆให้หันมาท่องเที่ยวแบบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
นอกจากนี้ อพท. ยังให้ความสำคัญไปถึง การขับเคลื่อนการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนอย่างเป็นระบบให้เกิดการต่อยอดเป็นผู้นำในภิภาคนี้ โดยวางแผนให้มีการพัฒนาองค์ความรู้การพัฒนาและการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน Sustainable Tourism Excellence Center of Thailand พร้อมสร้างเครือข่ายด้านการพัฒนาในระดับสากล ซึ่งอยู่ในขั้นตอนการศึกษาและวางรูปแบบเพื่อจะดำเนินการในปีถัดไป โดยบทบาทของ อพท. เปรียบเสมือนพี่เลี้ยงในการสนับสนุน เผยแพร่และพัฒนาองค์ความรู้ไปสู่การต่อยอด โดยเรามีภาคีเครือข่ายต่างๆเป็นกำลังสำคัญของการผลักดันให้บรรลุเป้าหมายของการพัฒนาและบริหารจัดการให้เกิดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
HTML::image( HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit