1. ต้องเร่งวางมาตรการทำให้ยางพาราที่ค้างอยู่ในประเทศใช้ให้หมดโดยเร็ว โดยรัฐบาลต้องส่งเสริมในการนำยางพาราไปใช้ในกิจการต่างๆของรัฐ ทั้งโครงการสร้างถนน ระบบการป้องกันน้ำท่วม หรือกิจการอื่นๆ ที่มีความจำเป็นต้องใช้ยางพารา ขณะเดียวกันในเรื่องการโค่นยางเพื่อลดอุปทานยาง ต้องวางระบบการดำเนินงานให้มีความสะดวกมากยิ่งขึ้น ทั้งเรื่องการเคลื่อนย้ายต้นยาง และกระบวนการช่วยเหลือเกษตรกรภายหลังการโค่นยางแล้ว เป็นต้น
2. ในมาตรการระยะสั้น ต้องผลักดันให้เกิดการขายยางพาราได้จริง โดยรัฐบาลจะดูแลในเรื่องราคา เนื่องจากขณะนี้ตลาดอุตสาหกรรมขายกระดาษราคาตกต่ำลงมาก ดังนั้น ต้องหาผู้ซื้อจากตลาดที่มีการขายพาราให้มากยิ่งขึ้น
3. โครงการสนับสนุนสินเชื่อควรขยายไปถึงกลุ่มเกษตรกรอื่นๆ นอกจากสหกรณ์ เช่น วิสาหกิจชุมชน เพื่อส่งเสริมให้วิสาหกิจชุมชนนำยางพารามาแปรรูปใช้ให้เป็นประโยชน์มากยิ่งขึ้น และสนับสนุนการซื้อยางพาราภายในประเทศ เพื่อผลักดันให้ราคาสูงขึ้น
4.สนับสนุนให้เกิดความร่วมมือระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายในตลาดต่างประเทศให้มากขึ้น รวมถึงการกำหนดราคายางร่วมกันกับต่างประเทศ และการเก็บสต๊อกยางพาราร่วมกันกับต่างประเทศ เพื่อผลักดันให้ราคายางพาราสูงขึ้น
ทั้งนี้ ข้อเสนอทั้ง 4 ประเด็นดังกล่าว จะนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) ชุดใหม่ในสัปดาห์หน้า โดยการวางมาตรการแก้ไขปัญหายางพารายืนยันว่า จะไม่เน้นในเรื่องการแทรกแซงราคา และจะนำข้อเสนอแนะที่ได้รับฟังปัญหาจากตัวแทนกลุ่มเกษตรกรและสถาบันยางที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหายางทั้งระบบอย่างมีประสิทธิภาพ
“ การดำเนินงานในทั้ง 4 ประเด็นที่กล่าวมา คาดว่า จะเห็นผลในการดำเนินงานภายใน 2-3 เดือน โดยรัฐบาลมีความตั้งใจที่จะช่วยเหลือเกษตรกรที่ปลูกยางพาราอย่างเต็มที่และจะเร่งผลักดันให้ราคายางพาราเพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม เนื่องจากข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาจากตัวแทนกลุ่มเกษตรกรและสถาบันยางที่เกี่ยวข้องมีจำนวนมาก จึงต้องดำเนินการไปทีละเรื่อง ทั้งเรื่องจัดการสต๊อกยางพารา การโค่นยางพารา การสนับสนุนสินเชื่อโครงการให้กับเกษตรกร และการนำยางพาราไปใช้ในกิจการของรัฐด้านต่างๆ ซึ่งต้องศึกษารายละเอียดเพื่อนำไปสู่การดำเนินการต่อไป” นายปีติพงศ์กล่าว
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit