ภายหลังจากการเพิ่มทุนในเดือนกรกฎาคม 2557 บริษัทก็มีเงินทุนที่แข็งแกร่งขึ้น โดยในวันที่ 22 กรกฎาคม 2557 บริษัทได้เพิ่มทุนจำนวน 532 ล้านบาทโดยวิธีเฉพาะเจาะจง (Private Placement) จากผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ได้แก่ ต.ล.ท. กระทรวงการคลัง และธนาคารออมสิน ทำให้ทุนจดทะเบียนของบริษัทเพิ่มขึ้นจาก 1,016 ล้านบาทเป็น 1,549 ล้านบาท โดย ต.ล.ท. เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดในสัดส่วน 40.65% ตามด้วยกระทรวงการคลัง 10.56% และธนาคารออมสิน 9.5% นอกจากนี้ ยังมีผู้ถือหุ้นอื่น ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ต่าง ๆ 11.89% บริษัทหลักทรัพย์ 10.9% บริษัทจัดการกองทุน 9.7% บริษัทประกัน 2.82% และอื่น ๆ อีก 0.03% อัตราส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทต่อสินทรัพย์รวมแข็งแกร่งขึ้นจาก 29.3% ในปี 2552 เป็น 53.1% ณ เดือนกันยายน 2557
บริษัทได้รับผลกระทบอย่างหนักจากวิกฤติการเงินเมื่อปี 2551 จากการหักขาดทุนที่ยังไม่รับรู้จากการลงทุนในหลักทรัพย์เผื่อขาย ภายหลังจากการปรับโครงสร้างหนี้ในปี 2552 ผลการดำเนินงานของบริษัทก็ยังไม่ฟื้นตัวตามที่คาดการณ์ไว้ ทั้งนี้ สาเหตุมาจากความสามารถในการแข่งขันที่ลดลงในธุรกิจสินเชื่อเพื่อซื้อหลักทรัพย์ อย่างไรก็ตาม ผลการดำเนินงานของบริษัทปรับตัวดีขึ้นตั้งแต่ปี 2556 และแข็งแกร่งกว่าที่ทริสเรทติ้งคาดการณ์ไว้ ซึ่งฐานทุนที่แข็งแกร่งขึ้นของบริษัทจะช่วยสนับสนุนการขยายธุรกิจตามแผน โดยบริษัทสามารถทำกำไรจำนวน 25 ล้านบาทในปี 2556 และต่อเนื่องเป็น 23 ล้านบาทในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2557
ณ เดือนกันยายน 2557 บริษัทมีสินทรัพย์รวมจำนวน 3,046 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นเงินให้สินเชื่อเพื่อซื้อหลักทรัพย์ในสัดส่วน 94% หรือ 2,875 ล้านบาท บริษัทยังคงเผชิญกับความท้าทายในธุรกิจหลักด้วยเหตุผล 2 ประการ ได้แก่ ความไม่แน่นอนของปัจจัยแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจและความท้าทายในตลาดหลังจากที่บริษัทกลับเข้าสู่ธุรกิจการให้สินเชื่อเพื่อซื้อหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์อื่น ๆ ได้ขยายพอร์ตสินเชื่อเพื่อซื้อหลักทรัพย์อย่างรวดเร็วในระหว่างปี 2553 ถึงเดือนกันยายน 2557 ซึ่งทำให้ขนาดของสินเชื่อเพื่อซื้อหลักทรัพย์ของทั้งอุตสาหกรรมขยายตัวจาก 16,000 ล้านบาทในปี 2552 เป็น 56,000 ล้านบาท ณ เดือนกันยายน 2557 ผลกระทบจากวิกฤติการเงินเมื่อปี 2552 ทำให้พอร์ตสินเชื่อเพื่อซื้อหลักทรัพย์ของบริษัทลดลงอย่างอย่างมากจาก 6,377 ล้านบาทในเดือนกันยายน 2551 เป็น 2,737 ล้านบาทในเดือนกันยายน 2557 ส่วนแบ่งทางการตลาดของบริษัทลดลงอย่างมากและอย่างต่อเนื่องจาก 24% ในเดือนกันยายน 2551 เหลือ 5% ในเดือนกันยายน 2557 จากสาเหตุที่บริษัทมีต้นทุนทางการเงินที่สูงกว่าคู่แข่งรายอื่น ๆ
ภายหลังการเพิ่มทุนในเดือนกรกฎาคม 2557 บริษัทก็สามารถลดต้นทุนทางการเงินให้ต่ำลงได้ โดยบริษัทได้ทำการหาแหล่งเงินกู้ระยะยาวใหม่ ๆ เพื่อนำมาจ่ายคืนเงินกู้ที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่า ปัจจุบันบริษัทมีความยืดหยุ่นทางการเงินมากขึ้นและมีต้นทุนทางการเงินที่ต่ำลง ณ เดือนกันยายน 2557 บริษัทได้รับวงเงินกู้จำนวน 53,300 ล้านบาทจากสถาบันการเงินในประเทศหลายแห่ง
ในด้านคุณภาพของสินทรัพย์นั้น ในปี 2556 บริษัทได้พัฒนาและใช้หลักเกณฑ์ที่เข้มงวดขึ้นในการจัดระดับของหลักทรัพย์ที่นำมาเป็นหลักประกันในการขอสินเชื่อเพื่อซื้อหลักทรัพย์ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์ดังกล่าวช่วยสะท้อนระดับความเสี่ยงของหลักทรัพย์ที่นำมาค้ำประกันและช่วยจำกัดความเสี่ยงจากการกระจุกตัวของสินเชื่อด้วย ทริสเรทติ้งคาดว่าบริษัทจะสามารถควบคุมความเสี่ยงด้านเครดิตของลูกหนี้ได้โดยมีความเข้มงวดในการเรียกหลักประกันเพิ่ม (Margin Call) และการบังคับขาย (Force Sell) รวมทั้งคงเกณฑ์การพิจารณาสินเชื่อและหลักประกันที่เข้มงวดกวดขันต่อไป
บริษัทมีแผนในการกลับมาทำธุรกิจให้สินเชื่อแก่บริษัทหลักทรัพย์อีกครั้งเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งคือการให้สภาพคล่องแก่บริษัทหลักทรัพย์ อย่างไรก็ตาม การดำเนินธุรกิจดังกล่าวก็อาจสร้างความท้าทายในการบริหารความเสี่ยง นอกจากนี้ บริษัทก็ยังมีผลงานในธุรกิจดังกล่าวไม่มากนัก??บริษัทหลักทรัพย์ เพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ จำกัด (มหาชน) (TSFC) อันดับเครดิตองค์กร: BB+แนวโน้มอันดับเครดิต: Positive
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit