มาริต้า เชง เป็นชาวออสเตรเลียผู้ก่อตั้งบริษัท Robogals Global ซึ่งเป็นความคิดสร้างสรรค์ที่ได้รับการออกแบบขึ้นเพื่อสร้างแรงบันดาลใจสำหรับเด็กผู้หญิงอายุระหว่าง 10-14 ปีให้เลือกเส้นทางอาชีพทางด้านวิศวกรรมและเทคนิค และเพื่อเป็นการสร้างชุมชนของกลุ่มนักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ทั่วโลก โดยมุ่งเน้นไปที่การก่อให้เกิดความหลากหลายในกลุ่มมากยิ่งขึ้น ถึงแม้ว่าจะมีโครงการเวิร์คช็อป การฝึกอบรบและการแข่งขันระดับนักศึกษาอยู่มากมาย แต่โครงการ Robogal Ambassador รวมถึงโครงการที่อุทิศเพื่อเด็กด้อยโอกาสในบริเวณชนบทและบริเวณระดับภูมิภาค ก็ได้เข้าถึงเด็กผู้หญิงทั่วโลกแล้วกว่า 20,000 ราย ผ่านการใช้ความร่วมมือจากอาสาสมัครซึ่งเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยจำนวนมาก โดยภายในเวลา 6 ปี Robogals Global ได้เติบโตจากการเป็นเพียงส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยสู่การเป็นองค์กรระหว่างประเทศ
โลกนี้ยังต้องการวิศวกรอีกจำนวนมาก แอร์บัสและสภาคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ต่างเชื่อว่าทุกคนที่ไม่ว่าจะมีพื้นเพเช่นใดก็ตาม ควรได้รับโอกาสในการแสดงความสามารถของตัวเองในอนาคตร่วมของพวกเรา อย่างไรก็ตาม ยังคงมีเรื่องที่ต้องทำให้สำเร็จอีกมากมายเพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่าอุตสาหกรรมด้านวิศวกรรมจะสามารถสะท้อนความหลากหลายของชุมชนตามที่ได้ทำการสนับสนุน โดยความคิดสร้างสรรค์อย่างเช่นรางวัลครั้งนี้แสดงให้เห็นความมุ่งมั่นที่มั่นคงของแอร์บัสและสภาคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ในการสนับสนุนผู้ที่มีพรสวรรค์ทางด้านวิศวกรรมทั่วโลกอย่างแท้จริง
มร.ชาร์ลส์ แชมเปี้ยน รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายวิศวกรรมแอร์บัส ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะกรรมการตัดสินกล่าวว่า “ที่แอร์บัส เรามักจะมองหาหนทางไปสู่นวัตกรรมใหม่ๆเสมอ ซึ่งหมายถึงการสร้างทีมที่มีความหลากหลายมากขึ้น เพื่อศักยภาพที่เพิ่มสูงขึ้น รวมถึงวัฒนธรรมที่ครอบคลุมซึ่งช่วยสร้างจุดแข็งให้กับทุกคน ผู้รับรางวัลประจำปี 2557 ของเรานี้ ไม่เพียงแต่สร้างความประทับใจให้กับพวกเราด้วยความคิดสร้างสรรค์ของเธอ แต่เธอยังได้สร้างแรงบันดาลใจให้กับพวกเราด้วยความสามารถที่โดดเด่นในการคิดริเริ่มวิธีการที่ดีที่สุดในการเพิ่มความหลากหลายด้วยการสร้างแผนกลยุทธ์ที่ชัดเจนสำหรับผู้อื่นในการปฏิบัติตาม”
ผู้ผ่านการคัดเลือกรอบสุดท้ายทั้งหมด 3 คนได้รับคัดเลือกจากผู้แข่งขันจำนวนกว่า 20 คน จาก 12 ประเทศ โดยรางวัลอันทรงเกียรตินี้จะถูกมอบให้กับบุคคลที่ได้ปฏิบัติการเชิงรุกในด้านการนำความหลากหลาย*ที่เพิ่มขึ้นมาสู่สถาบันการศึกษาและมหาวิทยาลัยด้านวิศวกรรมศาสตร์ และเป็นการให้รางวัลตอบแทนแก่ผู้ที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์จากทั่วโลกซึ่งช่วยสนับสนุนให้เยาวชนรุ่นใหม่ที่มีประวัติและภูมิหลังทุกรูปแบบได้มาศึกษาและประสบความสำเร็จในการเรียนสาขาวิศวกรรมศาสตร์
ผู้ผ่านการคัดเลือกรอบสุดท้ายต่างนำเสนอแนวคิดของตนเองต่อคณะกรรมการตัดสินผู้มีชื่อเสียงในการอภิปรายการศึกษาด้านวิศวกรรมศาสตร์ทั่วโลก (World Engineering Education Forum: WEEF) ซึ่งจัดขึ้นในประเทศดูไบเมื่อเร็วๆนี้ โดย มร.จอห์น บีนอน คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ คอมพิวเตอร์และวิทยาศาสตร์เชิงคำนวณ มหาวิทยาลัยแอดิเลด และประธานบริหารสภาคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ รานา เอล เชไมเทลลี ผู้ก่อตั้ง The Little Engineerศาสตราจารย์ อาร์ นัทราจัน อดีตประธานบริหารสภาการศึกษาด้านเทคนิคอินเดีย (All India Council for Technical Education) และอดีตผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีมัทราส อินเดีย และด็อกเตอร์ ไคริญ่าฮ์ โมห์ด-ยูโซฟ ผู้อำนวยการศูนย์วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาเทคโนโลยีแห่งมาเลเซีย (Centre of Engineering Education, Universiti Teknologi, Malaysia) ได้ทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการตัดสินร่วมกับ มร.ชาร์ลส์ แชมเปี้ยน ในครั้งนี้ด้วย โดยเกณฑ์การคัดเลือกของพวกเขามุ่งเน้นไปที่ความสำเร็จที่วัดผลได้ของความคิดสร้างสรรค์ การนำแนวคิดไปใช้จริงได้ และศักยภาพในการสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้อื่น
“ผู้ผ่านการคัดเลือกรอบสุดท้ายทั้ง 3 คน จะได้รับการยกย่องสำหรับความเปลี่ยนแปลงที่พวกเขาทำให้เกิดขึ้น”มร.จอห์น บีนอน ประธานบริหารสภาคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ กล่าว “ความสำเร็จของพวกเขาคือข้อพิสูจน์ในความพากเพียรและความมุ่งมั่นของแต่ละคน ขณะนี้ พวกเราหวังว่าผู้นำทางด้านวิศวกรรมจากทั่วโลกของเราจะได้รับแรงบันดาลใจให้เดินตามรอยต้นแบบแบบพวกเขา และสร้างสรรค์ผลงานเพื่อสร้างความหลากหลายให้กับชุมชนวิศวกรทั่วโลกเช่นเดียวกัน”
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit