นายอุดม วงศ์วิวัฒน์ไชย ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เปิดเผยผลการหารืออุตสาหกรรมเหล็กไทย – ญี่ปุ่น จากการเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมThe 10th Japan-Thailand Steel Cooperation Program Expert Committee และ The 12th Japan-Thailand Steel Dialogue ฝ่ายญี่ปุ่นได้เป็นเจ้าภาพจัดขึ้น เมื่อวันที่ 19-20 พฤศจิกายน 2557 ณ กรุงโตเกียว ว่า จากการที่ประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่นได้มีการลงนามในความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า JTEPA เมื่อปี 2550 โดยภายใต้ความตกลงฯ มีประเด็นเกี่ยวกับการสร้างความร่วมมือทางด้านการค้า การลงทุน การแลกเปลี่ยนข้อมูลสถานการณ์อุตสาหกรรมเหล็กของทั้ง 2 ประเทศ การกำหนดปริมาณโควตานำเข้าเหล็กแผ่นรีดร้อนจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งภายใต้ความตกลงฯ ไทยจะยกเว้นภาษีศุลกากรในบางพิกัดเป็นระยะเวลา 10 ปี (ปี 2550-2559) รวมทั้งการดำเนินโครงการความร่วมมือทางด้านวิชาการเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กไทย โดยผู้แทนของทั้งสองประเทศ จะมีการหารือร่วมกันในการประชุม Japan-Thailand Steel Cooperation Program Expert Committee และ Japan-Thailand Steel Dialogue ซึ่งจะจัดขึ้นอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และทั้งสองประเทศจะสลับกันเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม
สำหรับในการดำเนินการภายใต้ความตกลง JTEPA ที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2550 จนถึงปี 2557 ฝ่ายไทยได้ยกเว้นภาษีนำเข้าเหล็กแผ่นรีดร้อนจากประเทศญี่ปุ่น โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ 1. เหล็กแผ่นรีดร้อนกัดกรดเคลือบน้ำมัน (Q9) ประมาณปีละ 440,000-530,000 ตัน 2. เหล็กแผ่นรีดร้อนหน้ากว้างสำหรับนำไปรีดเย็นต่อ (ที่มีส่วนผสมของคาร์บอนน้อยกว่า 0.01%) (Q10) ประมาณปีละ 170,000-350,000 ตัน และ 3. เหล็กแผ่นรีดร้อนหน้ากว้างสำหรับนำไปรีดเย็นต่อเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์ (ที่มีส่วนผสมของคาร์บอน 0.01-0.1 %)(Q11) ประมาณปีละ 300,000-400,000 ตัน ซึ่งปริมาณโควตานำเข้าเหล็กแผ่นรีดร้อนนี้คิดเป็นประมาณร้อยละ 50-80 ของปริมาณนำเข้าเหล็กแผ่นรีดร้อนทั้งหมดจากญี่ปุ่น ส่วนความร่วมมือทางด้านวิชาการที่อุตสาหกรรมเหล็กของไทยได้รับจากญี่ปุ่นตั้งแต่ปี 2551 จนถึงปี 2556 มีดังนี้
อย่างไรก็ตาม สำหรับการหารือครั้งล่าสุด มี 2 ประเด็นสำคัญ คือ การกำหนดปริมาณโควตานำเข้าเหล็กแผ่นรีดร้อนจากประเทศญี่ปุ่นสำหรับปี 2558 และโครงการความร่วมมือทางด้านวิชาการ ซึ่งในเรื่องของโควตานั้นไทยจะพยายามลดปริมาณนำเข้าเหล็กลงให้มากที่สุด เพื่อที่จะส่งเสริมให้อุตสาหกรรมต่อเนื่องได้ใช้ผลิตภัณฑ์เหล็กภายในประเทศเพิ่มมากขึ้น โดยจะมีการหารือเพื่อสรุปปริมาณนำเข้าอีกครั้งในวันที่ 11 ธันวาคม 2557 ที่กรุงเทพฯส่วนโครงการความร่วมมือทางด้านวิชาการเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กฝ่ายไทยต้องการพัฒนาศูนย์ทดสอบ ของสถาบันเหล็กฯเพื่อยกระดับให้เป็นศูนย์ทดสอบของอาเซียนทั้งนี้เพื่อเป็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์เหล็ก และเพิ่ม ขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับอุตสาหกรรมเหล็กภายในประเทศให้มีความเข้มแข็งยิ่งขึ้น
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit