มะเร็งผิวหนังพบปีละ 400 คน ทำอย่างไรไม่ให้เป็นคนที่ 401

08 Dec 2014
มะเร็งผิวหนังพบปีละ 400 คน ทำอย่างไรไม่ให้เป็นคนที่ 401” ร่วมเสวนาโดย พ.ญ. พรภุชงค์ เลาห์เกริกเกียรติ แพทย์ผู้เชี่ยวเฉพาะด้าน ผิวหนังและ ศัลยกรรมเลเซอร์ ดำเนินการเสวนาโดย ดร.อรณัฏฐ์ นครศรี ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ นักวิจัย และผู้ทรงคุณวุฒิกระทรวงสาธารณสุข ในวันที่ 2 ธันวาคม 2557 ณ ห้อง จูปิเตอร์ 9 อิมแพค เมืองทองธาน (ในงาน Motor Expo 2014)
มะเร็งผิวหนังพบปีละ 400 คน ทำอย่างไรไม่ให้เป็นคนที่ 401

จากที่กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้ออกมาให้ข้อมูลว่าตากแดดนานเพียง 15 นาที เสี่ยงรับรังสียูวีที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพผิว ทำให้เกิดการเจริญเติบโตของเซลล์ผิวหนังที่ผิดปกติ เนื่องจากการได้รับแสงแดดปริมาณมาก ทั้งยูวีเอ และยูวีบี ส่วนยูวีซี มีพลังงานสูงที่สุด อันตรายมากที่สุด แต่พบได้น้อยเนื่องจากจะถูกชั้นบรรยากาศกรองเอาไว้ การป้องกันผิวหนังจากการสัมผัสแสงแดดเป็นสิ่งจำเป็น แต่ความกังวลเรื่องบรรยากาศในชั้นโอโซนที่ถูกทำลาย จะทำให้รังสีต่างๆทะลุชั้นบรรยากาศมาสู่โลกมากขึ้น

ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้มะเร็งผิวหนัง 300- 400 รายต่อปี เป็นอันดับ 7 ของโรคมะเร็งในอวัยวะต่างๆ การตากแดดนานเกิน 15 นาที รังสียูวีสามารถทำลายภูมิคุ้มกันร่างกาย ผิวหนัง นัยน์ตา และก่อให้เกิดมะเร็งผิวหนัง ดร.อรณัฏฐ์ กล่าวว่าแสงแดดนั้นก็มีทั้งประโยชน์และโทษ ประโยชน์ คือช่วยฆ่าเชื้อ การรับแสงแดดในยามเช้าที่เป็นแสงแดดอ่อนๆ ก็จะลดอาการตัวเหลืองของเด็กทารกได้ สำหรับผู้ใหญ่ก็จะทำให้ร่างกายสร้างวิตามินดีได้ แต่ต้องเลือกช่วงเวลาที่เหมาะสม ไม่ใช่ช่วงที่แดดแรงจนเกินไป นอกจากนั้นยังพบสถิติผู้ป่วยโรคต้อก็เพิ่มจำนวนขึ้นทุกปี

แพทย์หญิงพรภุชงค์ ให้ความรู้ เพิ่มเติมว่าแสงแดดที่ควรหลีกเลี่ยง คือ แสงแดดในช่วงเวลา 10.00-16.00 น. UV มีอยู่ทุกที่ทั้งในที่ทำงาน ในรถ ในบ้านจึงควรใช้ครีมกันแดดที่มี SPF 15 หรือมากกว่า ควรทามอยส์เจอไรเซอร์บำรุงผิวมือบ่อย ๆ และทาครีมกันแดดร่วมด้วย แพทย์แนะให้ความสำคัญ 3 จุดสำคัญบนร่างกาย ได้แก่ ริมฝีปาก ผิวตัว ผิวมือ ที่ต้องได้รับการปกป้องเพื่อป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลต มิใช่เพียงฝ้า กระ หรือผิวดำแล้ว ในปัจจุบันพบผู้ป่วยมะเร็งผิวหนังเพิ่มขึ้นจากแสงแดดที่รุนแรง เรื่องใกล้ตัวคือเรื่องการทาครีมกันแดด ปริมาณที่เพียงพอคือ 2 ไมโครกรัม ต่อ ตารางเซนติเมตร หรืออธิบายง่ายๆคือ ประมาณ 2 ข้อนิ้วมือ บางตำราก็บอกว่าประมาณ 6 ซีซี และควรทาก่อนออกแดด 20-30 นาที โดยทาซ้ำทุกๆ 2 ชั่วโมง เพื่อให้คงประสิทธิภาพในการปกป้องรังสี UV พร้อมการสาธิตวิธีการทาครีมกันแดดอย่างถูกวิธี ควรทามอยส์เจอไรเซอร์ก่อนแล้วตามด้วยครีมกันแดด

“การรับประทานคลอลาเจนจะช่วยลดการทำลายของเซลล์ผิวจากยูวีได้หรือไม่” แพทย์แนะนำว่า คลอลาเจนเป็นโปรตีนชนิดหนึ่ง หากเรารับประทานโปรตีนที่มีประโยชน์อยู่แล้ว ร่างกายก็จะผ่านกระบวนการย่อยและเปลี่ยนเป็นกรดอะมิโนเพื่อมาใช้ในการทำงานของเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย การรับประทานคลอลาเจนร่างกายก็จะผ่านกระบวนการย่อยเช่นเดียวกัน ลองนึกภาพผู้หญิงที่ติดม่านบังแดด ใส่เสื้อแขนยาวใส่แว่นดำ คลุมตัวมิดชิด แล้วขับรถ ก็จะเป็นภาพที่คุ้นตากันดี ในส่วนของดวงตา ควรสวมแว่นกันแดดที่ป้องกัน UV 400 เน้นแว่นยิ่งดำหากไม่กัน UV จะยิ่งอันตรายเพราะจะทำให้ม่านตาขยาย และรับรังสี UV โดยตรง ทุกที่ที่มีแสงสว่างให้ตาเรามองเห็นได้ ไม่ว่าจะเป็นจากหลอดไฟ ในที่ทำงาน ในบ้าน ในรถ ก็มียูวีอยู่ทั้งสิ้น ลองสังเกตผิวข้างที่ขับรถ หรือข้างที่โดนแดดเป็นประจำจะมีกระ หรือคล้ำกว่าอีกข้างหนึ่ง

สำหรับคนที่ไม่ชอบทาครีมกันแดดหรือคิดว่าทาแต่อาจจะมีปริมาณไม่เพียงพอ ก็อาจจะเลือกฟิลม์ติดรถยนต์ที่มีประสิทธิภาพในการป้องกัน UV 400 และ UV A1 ซึ่งอีกสิ่งหนึ่งที่เราจะรู้สึกได้คือ การป้องกันความร้อน (TSER) ฟิลม์ที่มีค่ากันความร้อนสูงๆ ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง หากเราสามารถป้องกันรังสียูวีได้มากขึ้น ก็จะลดปฏิกิริยาการเกิดอนุมูลอิสระในร่างกาย ช่วยถนอมผิวและ ยืดอายุการทำงานของจอประสาทตา เป็นการช่วยปกป้องอีกทาง

นอกจากนั้น การอยู่กลางแจ้งในช่วงแดดแรงๆ ก็ควรกางร่ม หรืออยู่ในรถก็ควรติดฟิลม์เพื่อป้องกันยูวีเพื่อลดอาการไหม้ ผิวหนังอักเสบจากแสงแดด ฝ้า กระ จุดด่างดำ บางครั้งผู้หญิงเลือกใช้เครื่องสำอางราคาแพง รับประทานอาหารเสริมบำรุงมากมาย แต่อาจไม่คำนึงถึงฟิลม์กันแดด ใช้ฟิลม์อะไรก็ได้ที่ติดมากับของแถมรถยนต์ แต่ในความเป็นจริง เราทาครีมกันแดดกันในปริมาณที่เพียงพอ หรือไม่ ทาอย่างถูกต้องหรือไม่ เวลานั่งรถไปกับเด็ก เราได้ทาให้กับเด็กๆด้วยหรือไม่ ซึ่งจุดนี้ฟิลม์กันแดดอาจเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยปกป้องตัวเราและคนที่เรารัก

แสงแดดจ้าทำให้อาการไมเกรนกำเริบขึ้นได้ หากเป็นโรคไมเกรนเมื่อต้องออกแดด แพทย์แนะนำสวมแว่นกันแดด ส่วนผู้ที่ขับรถก็อาจจะติดฟิลม์ที่ป้องกัน UV400/UV A1 และเน้นในส่วนด้านบนกระจกหน้าให้มีความเข้มมากขึ้นเพื่อลดการกระตุ้นจากแสงแดด ชมสาธิตวิธีการทดสอบฟลิม์ป้องกันยูวี อย่างมีประสิทธิภาพ จะใช้ชีวิตอย่างไร เมื่อต้องเผชิญกับรังสีเกือบทุกช่วงคลื่นแทบจะตลอดเวลาที่คุณต้องใช้แสงสว่าง 3 จุดบอบบางที่ต้องระวังเป็นพิเศษริมฝีปาก ผิวตัว ผิวมือ และการปกป้องดวงตา ฟลิม์กันแดดที่มีประสิทธิภาพในการป้องกัน UV 400 และ UV A1 เป็นอีกทางเลือกที่คุณจะช่วยป้องกัน เพื่อผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่คนที่ 401 จะได้ไม่ใช่คุณ บางครั้งมะเร็งอาจเป็นสิ่งที่ใกล้ตัว แต่ความร้อนในรถ และฝ้ากระ อาจเป็นสัญญานให้คุณต้องดูแลสุขภาพมากขึ้น

มะเร็งผิวหนังพบปีละ 400 คน ทำอย่างไรไม่ให้เป็นคนที่ 401 มะเร็งผิวหนังพบปีละ 400 คน ทำอย่างไรไม่ให้เป็นคนที่ 401 มะเร็งผิวหนังพบปีละ 400 คน ทำอย่างไรไม่ให้เป็นคนที่ 401