นายชูศักดิ์ ชื่นประโยชน์ ประธานคณะกรรมการสถาบันส่งเสริมคุณภาพเกษตรกรไทย สภาหอการค้า-แห่งประเทศไทย กล่าวว่า มาตรฐานภาคเอกชนของผักและผลไม้ ThaiGAP เป็นเครื่องมือในการพัฒนา และเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตให้กับผู้ประกอบการเพื่อยกระดับมาตรฐานการจัดการฟาร์ม ที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่การผลิตตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำให้มีความปลอดภัยในทุกกระบวนการผลิต เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภค และเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)
สำหรับการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ในฐานะเจ้าของมาตรฐาน ThaiGAP กับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ในการร่วมกันจัดทำ “โครงการความร่วมมือ : การยกระดับและพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการด้านสินค้าผักและผลไม้เพื่อเตรียมความพร้อมสู่ AEC ด้วย ThaiGAP” เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ประกอบการด้านสินค้าผักและผลไม้ผลิตสินค้าให้มีมาตรฐาน มีความรู้ ความเข้าใจ โดยการฝึกอบรม พัฒนาฟาร์มมาตรฐาน พร้อมขยายผลในการเพิ่มทักษะที่ปรึกษาฟาร์ม ผู้ตรวจประเมินภายในฟาร์มให้เป็นไปตามข้อกำหนด และให้ได้การรับรองมาตรฐาน ThaiGAP
นอกจากนั้น สินค้าที่ได้มาตรฐาน ThaiGAP จะมีระบบตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability ด้วย QR Code) ใช้ตรวจสอบถึงแปลงผู้ผลิต เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค โดยจะมีการลงนามหนังสือแสดงเจตจำนง ระหว่าง สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กับ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (สทอภ.) ในการร่วมมือพัฒนาผู้ประกอบการสู่ AEC ด้วยมาตรฐาน ThaiGAP ในการจัดทำ “โครงการระบบตรวจสอบแหล่งที่มาของสินค้าเกษตรด้วย QR Code” เพื่อจัดทำระบบตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) โดยใช้เทคโนโลยี QR Code เพื่อติดลงบนผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน ThaiGAP เกียรติทุกท่านรือนไทย ผู้แทนจากกรมส่งเสริมการส่งออก คณะอาจารย์จากสถาบันเทคโนโลยีเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ผู้เข้าร่วมอบรนางสุวิภา วรรณสาธพ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า สวทช. เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนามาตรฐานระบบการผลิตสำหรับภาคเกษตร ให้ตอบสนองความต้องการของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมด้านสินค้าผักและผลไม้ ซึ่งปัจจุบันผู้บริโภคมีความระมัดระวังในการเลือกบริโภคสินค้าที่ปลอดภัยและมีคุณภาพมากขึ้น ดังนั้นกระบวนการผลิตที่มีมาตรฐาน เป็นที่ยอมรับทั้งในและต่างประเทศ มีการตรวจสอบและรับรองโดยสถาบันที่น่าเชื่อถือ จึงเป็นสิ่งที่สร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคและสร้างคุณค่าให้กับตัวสินค้ามากขึ้น
อย่างไรก็ตาม สวทช. จะร่วมมือกับ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ขับเคลื่อนและผลักดันระบบการผลิตสินค้าเกษตรที่ปลอดภัยให้เป็นรูปธรรม โดยบูรณาการความรู้ตั้งแต่กระบวนการปลูกจนถึงการบรรจุเพื่อส่งออกให้กับเกษตรกรของไทย ความร่วมมือในวันนี้ นับเป็นจุดเริ่มต้นที่มุ่งไปสู่ความเชื่อมั่นในระบบการผลิตอาหารที่ปลอดภัยและถูกสุขอนามัย รวมถึงยกระดับคุณภาพการผลิตและคุณภาพชีวิตให้กับเกษตรกรของไทย ปัจจุบันมีบริษัทสนใจเข้าร่วมโครงการฯ กว่า 30 บริษัท
ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (สทอภ.) หรือ GISTDA กล่าวว่า GISTDA ในฐานะที่เป็นหน่วยงานหลักด้านการบริการภาพจากดาวเทียมและข้อมูลภูมิสารสนเทศของประเทศ โดย GISTDA และ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย มีเจตจำนงร่วมมือกันจัดทำ “โครงการระบบต้นแบบเพื่อตรวจสอบกระบวนการและแหล่งที่มาของสินค้าเกษตรด้วย QR Code” ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินงานภายในเวลา 6 เดือน โดยมีพิกัดเกษตรกรที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจาก ThaiGAP ของผู้ประกอบการด้านสินค้า โดยการยกระดับและพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการด้านสินค้าผักและผลไม้เพื่อเตรียมความพร้อมสู่ตลาด AEC ซึ่งจะเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในระบบตรวจสอบกลับในสินค้าผักและผลไม้
นอกจากนี้ GISTDA ยังให้การสนับสนุนภารกิจหลักของสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ในการให้คำปรึกษาและให้ความรู้เกี่ยวกับระบบบริการภูมิสารสนเทศเพื่อการเกษตร (GIS AGRO) รวมถึงการจัดฝึกอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากรของสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ในด้านการประยุกต์ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ การจัดทำระบบต้นแบบเพื่อตรวจสอบกระบวนการและแหล่งที่มาของสินค้าเกษตรด้วย QR Code เป็นต้น
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit