ประธานมูลนิธิคุณแม่คุณภาพ
ดวงตานับเป็น 1 ในประสาทสัมผัสทั้งห้าที่สำคัญ เป็นอวัยวะที่ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ การสังเกต และการจดจำ รวมทั้งเป็นส่วนที่สามารถสื่อสารความรู้สึกต่างๆ ไปถึงคนรอบข้างได้อีกด้วย แต่กลับเป็นอวัยวะที่มักจะถูกมองข้ามไป จนไม่ได้รับการดูแล เอาใจใส่ให้มีสุขภาพที่ดี จนกระทั่งเกิดความผิดปกติเกิดขึ้น โดยเฉพาะในยุคดิจิตอล ที่การสื่อสารสามารถทำได้ง่ายมากเพียงปลายนิ้วในทุกที่ทุกเวลา ยิ่งทำให้ดวงตารับบทหนักต้องเพ่ง ต้องจ้องหน้าจอต่างๆ อยู่ตลอดเวลา
ข้อมูลล่าสุดจากการสำรวจพฤติกรรมของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ประจำปี 2014 โดยสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ ETDA กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ระบุว่า ค่าเฉลี่ยของการใช้อินเทอร์เน็ตต่อสัปดาห์ในปี 2557 เพิ่มสูงขึ้นมาก โดยค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 50.4 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ หรือใช้เวลาโดยประมาณ 7.2 ชั่วโมงต่อวัน (หรือคิดเป็น 1 ใน 3 ของวันเพื่อใช้งานอินเทอร์เน็ต) ขณะปี 2556 มีตัวเลขการใช้งานอินเตอร์เน็ตโดยเฉลี่ย 32.3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ หรือใช้เวลาโดยประมาณ 4.6 ชั่วโมงต่อวัน
สอดคล้องกับข้อมูลการใช้โซเซียลมีเดีย และสมาร์ทโฟน ก็มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น การเล่นเฟสบุ๊คของคนไทยที่มีมากถึง 28 ล้านราย คิดเป็นอัตราการเติบโตสูงถึงร้อยละ 53 เช่นเดียวกับยอดผู้ใช้ LINE คนไทยติดเป็นอันดับ 2 ของโลก ทะลุ 24 ล้านคน ส่วนอัตรการใช้มือถือ พบว่าชาวไทยกว่าร้อยละ 85 ติดมือถืออย่างหนักจนขาดไม่ได้ ยังไม่รวมถึงการใช้จอคอมพิวเตอร์สำหรับการทำงาน และการดูทีวี ล้วนเป็นพฤติกรรมที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพดวงตาถูกทำลายโดยไม่รู้ตัว
ข้อมูลจาก พญ.วฎาการ วุฒิศิริ ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี เปิดเผยว่า โรคตาที่เกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์ หรือ คอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม (Computer vision syndrome) เป็นกลุ่มอาการของตาและสายตาที่เกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์ อาการจะเพิ่มมากขึ้นเมื่อใช้เวลากับคอมพิวเตอร์นานมากขึ้น พบว่าคนต้องที่ทำงานกับคอมพิวเตอร์จะมีอาการเหล่านี้ได้ 75 ถึง 90 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียวอาการที่พบได้แก่ การปวดตา เมื่อยล้าตา ระคายเคือง ตาแห้ง ตาแดง น้ำตาไหล ตามัวมองไม่ชัด หรือเห็นภาพซ้อนกัน รวมถึงอาการปวดศีรษะ ปวดคอ ไหล่และหลัง
สาเหตุที่ทำให้กลุ่มอาการในโรคนี้แตกต่างจากการทำงานอื่นๆเนื่องจากมีปัจจัยทางด้านอุปกรณ์คอมพิวเตอร์มาเกี่ยวข้องได้แก่ ความสว่างและความคมชัดของจอภาพ การสะท้อน การกระจายของแสงจากจอภาพ การกระพริบของจอภาพ การจัดวางตำแหน่งของคอมพิวเตอร์ ล้วนส่งผลต่อกาเกิดอาการในโรคนี้
อาการปวดตาและเมื่อยล้าตา เกิดจากการใช้กล้ามเนื้อตาในท่าซ้ำๆเดิมเป็นเวลานานจนเกินความอดทนของกล้ามเนื้อตา เนื่องจากเวลามองคอมพิวเตอร์ เราจะต้องใช้กล้ามเนื้อตาเพื่อดึงให้ตาขยับเข้าใกล้กันเพื่อมองภาพใกล้ และต้องเพิ่งมากขึ้นเพื่อปรับโฟกัสของภาพให้ชัดขึ้นด้วยนอกจากนี้เวลามองคอมพิวเตอร์ เรายังต้องกลอกตาไปมาเพื่ออ่านข้อความ ทำให้กล้ามเนื้อตาทำงานตลอดเวลาพร้อมๆกัน จึงเกิดการอ่อนล้าได้ โดยเฉพาะหากใช้สายตาต่อเนื่องนานกว่า 3ชั่งโมงโดยไม่พักเลย จะทำให้เห็นภาพมัวหรือซ้อนได้ ปวดเบ้าตา และอาจมากจนปวดศีรษะร่วมด้วยก็ได้
อาการตาแห้ง จะมีอาการระคายเคืองตา แสบตา แพ้แสง เมื่อยล้าตา ตาแดง และมีน้ำตาไหล มักเกิดหลังการใช้งานมาระยะหนึ่ง โดยการใช้คอมพิวเตอร์ทำงานมีหลายปัจจัยในการก่อให้เกิดตาแห้งดังนี้สิ่งแวดล้อม ในสำนักงานส่วนใหญ่ใช้เครื่องปรับอากาศจึงทำให้อากาศแห้งการกระพริบจะลดกว่าปกติถึง 5 เท่า ในขณะที่ใช้คอมพิวเตอร์ ทำให้น้ำตาระเหยไปขณะเปิดตา ตาแห้งมากขึ้นลืมตากว้างขึ้น เนื่องจากการมองจอคอมพิวเตอร์ซึ่งตั้งอยู่ในระดับเท่ากับหรือ สูงกว่าตาเล็กน้อย(ต่างกับการอ่าน หนังสือที่มักมองลงต่ำ) ทำให้พื้นที่ในการระเหยของน้ำตามาก จึงระเหยได้เร็วขึ้น
อาการทางสายตาและการมองเห็น
การเห็นภาพไม่ชัดเจนหรือภาพซ้อน อาจความสามารถในการมองที่ใกล้ ซึ่งลดลงตามอายุที่เพิ่มขึ้น หรืออาจเกิดจากค่าสายตาที่ผิดปกติอยู่เดิมเช่น สายตาสั้น ยาว เอียง สายตาสูงอายุ แต่ไม่ได้รับการแก้ไขมาก่อน หรือจากการเมื่อยล้าจากการใช้งานดังที่กล่าวมาแล้ว นอกจากนี้การเพิ่งทำงานใกลๆนานพบว่าสามารถกระตุ้นให้เกิดภาวะสายตาสั้นแบบชั่วคราวได้ และจะค่อยๆลดลงเมื่อหยุดใช้สายตาอาการแพ้แสง อาจเกิดจากการที่มีแสงสว่างและแสงกระจายมากกว่าปกติจากจอคอมพิวเตอร์หรือสิ่งแวดล้อมรอบมีความสว่างมากเกินไปทำให้ไม่สบายตาเช่น การตั้งจอคอมพิวเตอร์ไว้หน้าต่อหน้าต่างทำให้แสงสว่างจากภายนอกเข้าตาผู้ที่ใช้จอคอมพิวเตอร์แนวทางการแก้ไข
เนื่องจากการเกิดภาวะนี้มีหลายปัจจัยเกี่ยวข้อง จึงต้องปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมและ ลักษณะนิสัยการทำงานไปพร้อมกัน การเลือกจอคอมพิวเตอร์มีผลต่อคุณภาพของการมองเห็นดังนี้1.การเลือกคุณภาพจอคอมพิวเตอร์:ควรเลือกที่มีความละเอียดสูง จะทำให้ภาพคมชัด ลดการเพ่ง และควรเป็นแบบที่มีอัตราการกระพริบของจอภาพ (refresh rate)ที่สูงมากกว่า 70Hz เพราะหากความถี่ของการกระพริบของหน้าจอน้อยจะทำให้มีการรับรู้ว่าภาพกระพริบจะทำให้ต้องใช้สายตามากขึ้นจอแบนจะมีการบิดเบือนของภาพและการสะท้อนของแสงจากจอภาพน้อยกว่าแบบโค้งทำให้สบายตากว่า2.การปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมอื่น และการรักษา:
ความสว่างของสิ่งแวดล้อม ให้เหมาะสมไม่น้อย หรือมากจนเกินไป เพราะที่สว่างมากๆจะทำให้ความสามารถในการเพ่งลดลงไม่ควรให้หน้าต่างอยู่หน้าหรือหลังต่อหน้าจอคอมพิวเตอร์เพราะจะเกิดแสง สะท้อนได้อาจใช้ อุปกรณ์กรองแสง anti-glare screen บนจอคอมพิวเตอร์ช่วยลดแสงจ้าและแสงสะท้อนทำให้ความคมชัดของภาพ (contrast) ดีขึ้น การใช้ตาสบายขึ้น
การจัดตำแหน่งการนั่งให้เหมาะสมในการใช้คอมพิวเตอร์ ตำแหน่งการนั่งที่ไม่เหมาะสมขณะใช้คอมพิวเตอร์ทำให้มีอาการปวดคอ หลังและไหล่ได้ ตำแหน่งที่แนะนำคือ จอคอมพิวเตอร์ควรอยู่ห่าง 20-28 นิ้วและให้ต่ำกว่าระดับสายตาทำมุม 10 ถึง 20 องศาหรือระดับกลางหน้าจอต่ำกว่าระดับสายตาในท่ามองตรง 5 ถึง 6 นิ้วฟุตส่วนแป้นพิมพ์ ควรให้อยู่ต่ำกว่าศอก ขณะพิมพ์ให้แขนขนานกับพื้น เข่าอยู่ระดับเดียวกับเก้าอี้ และเท้าวางราบพื้น
การพักสายตา เปลี่ยนอิริยาบถ เพื่อให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย พักการเพ่งมองที่ใกล้ช่วยลดอาการปวดตา โดยให้ตั้งใจกระพริบตาและ มองไกลออกไป 2 ครั้งต่อชั่วโมงหรือ ทุก 20 นาที อย่างน้อย 20 วินาที และมองไกลอย่างน้อย 20 ฟุต (20-20-20 rule) หรือใช้วิธีการหลับตาพัก แทนการมองไกลก็ได้เหมือนกัน ควรลุกยืน เดิน ขยับแขนขา หลัง คอ ไหล่และข้อ บ่อยๆ เพื่อเป็นการพักผ่อนทั้งตาและร่างกายการใช้น้ำตาเทียม เพื่อบรรเทาอาการตาแห้ง ชดเชยปริมาณน้ำตาที่สูญเสียไปจาการระเหยมากกว่าปกติ ทำให้สบายตาขึ้นการใช้แว่นตาการเลือกแว่นตาสำหรับใช้มองจอคอมพิวเตอร์ เราพิจารณาพิเศษกว่างานอื่นๆเนื่องจากระยะทางของจอคอมพิวเตอร์เป็นระยะกึ่งกลางระหว่างไกลกับใกล้
หากเป็นคนที่ไม่มีค่าสายผิดปกติเดิม แต่เริ่มมีปัญหากับการเพ่งแม้จะมีอายุไม่มาก ก็อาจใส่แว่นสายตายาวน้อยๆเพื่อลดการเพ่งเช่น แว่นสายตายาวประมาณ +1.00D. ถึง +1.50D.
หากสายตายาวผิดปกติหรือมีสายตายาวตามอายุ(อายุมากกว่า40ปี) ต้องแก้ไขให้พอเหมาะกับระยะทางของจอคอมพิวเตอร์ (20-28นิ้ว) การใช้แว่น2ชั้น คือใช้มองไกลอยู่ชั้นบน และมองใกล้อยู่ชั้นล่าง หากนำมาใช้กับจอคอมพิวเตอร์จะทำให้ต้องแหงนหน้ามองจอคอมพิวเตอร์ก่อให้เกิดอาการปวดเมื่อยต้นคอ ควรทำแว่นสำหรับมองจอคอมพิวเตอร็อยู่ชั้นบน และมองใกล้อยู่ชั้นล่าง
หากสายตาสั้นไม่มาก ไม่ได้มีสายตาเอียงมากๆ ก็ไม่จำเป็นต้องใส่แว่นขณะทำงานกับคอมพิวเตอร์เลย UV coatingถ้า ในห้องทำงานมี fluorescent light ซึ่งให้แสงสีฟ้าจำนวนมาก แสงสีฟ้ามีความกระจัดกระจายสูง การใช้ UV coating จะตัดแสงสีฟ้าที่เข้าตาได้ และการใช้Anti-reflective coating (AR) บนเลนส์จะลดจำนวนแสงจ้าและแสงสะท้อนจากเลนส์ที่จะเข้าสู่ตา
ในกรณีที่มีปัญหากล้ามเนื้อตาในการมองใกล้จนเห็นภาพซ้อนอาจใช้แว่นปริซึมช่วย เพื่อให้สบายตามากขึ้นเมื่อมีความรู้เรื่อง Computer Vision Syndrome เราก็สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และสภาพแวดล้อมเพื่อช่วยให้เราใช้คอมพิวเตอร์ทำงานได้อย่างมีความสุข
ข้อมูลจาก อ.วาลุกา พลายงาม วิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก ม.รังสิต ระบุว่า นอกจากการป้องกันปัจจัยเสี่ยงจากภายนอกแล้ว เราก็ควรจะบำรุงดวงตาจากภายในด้วยอาหารที่มีประโยชน์ต่อดวงตาควบคู่ไปด้วย เช่น การเลือกผักและผลไม้ที่มีวิตามิน เอ และมีสารต้านอนุมูลอิสระ สูง จะช่วยชะลอความเสื่อมและอาจช่วยป้องกันความผิดปกติต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับดวงตา ซึ่งสารต้านอนุมูลอิสระพบมากในผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ต่างๆ เช่น บิลเบอร์รี่ ราสเบอร์รี่ สตอเบอร์รี่ แครนเบอร์รี่ และแบล็คเคอร์แรนต์ เป็นต้น
ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ เช่น บิลบอร์รี่ (Bilberry, Vaccinium myrtillus ) เป็นผลไม้ที่อุดมด้วยวิตามินและแร่ธาตุ เช่น วิตามินซี อี และซีลีเนียม ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในกระบวนการต้านอนุมูลอิสระและยังมีสารสีที่เรียกว่า แอนโธไซยานิน (anthocyanin) เป็นสารสำคัญมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระได้สูง นอกจากนี้ยังช่วยส่งเสริมและป้องกันสุขภาพของดวงตา และช่วยให้ระบบไหลเวียนโลหิตให้ดีขึ้นได้ ด้วยเหตุนี้เองการทานผลไม้ในตระกูลเบอร์รี่ เช่น บิลเบอร์รี่สดหรือทานในรูปเบอร์รี่สกัดเข้มข้น จึงช่วยบำรุงและลดอาการเหนื่อยล้าของดวงตา ช่วยในการมองเห็นในที่ๆ มีแสงน้อย ป้องกันการเกิดความเสื่อมของจอประสาทตาเนื่องจากพฤติกรรมการใช้สายตาที่มากขึ้นหรือจากตัวกระตุ้นให้เกิดความเสื่อมของเซลล์ตาไม่ว่าจะเป็นการทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ การใช้สายตาอยู่กับสมาร์ทโฟนที่มากเกินไป ดังนั้นการดูแลสุขภาพตาโดยผลไม้ตระกูลเบอร์รี่จึงเป็นทางเลือกอีกทางให้แก่ผู้บริโภคที่ไม่ค่อยมีเวลาดูแลตัวเอง
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit