ผู้ดำเนินการเสวนา เริ่มต้นถามด้วยคำถาม ทุกท่านเห็นว่าสถานการณ์สิทธิผู้หญิงในปัจจุบันเป็นอย่างไร และจะมีบทบาทต่อการปฏิรูปประเทศไทยอย่างไร
ดร.อรทัย เลียงจินดา รองคณบดีฝ่ายวิชาการ ม.อุบลราชธานี ตัวแทนสตรีด้านการบริหารราชการแผนดิน กล่าวว่าปัจจุบันสิทธิสตรีถูกบรรจุในรัฐธรรมนูญ ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แต่ในทางปฏิบัติ ผู้หญิงยังได้รับการยอมรับจากสังคมค่อนข้างน้อย ดูจากการดำรงตำแหน่งผู้บริหาร ทั้งภาครัฐ เอกชน และการเมืองท้องถิ่น ที่มีจำนวนน้อยมากเมื่อเทียบกับสัดส่วนผู้ชาย และตำแหน่งยิ่งสูง สัดส่วนผู้หญิงยิ่งมีน้อย สิ่งที่เสนอคือ ในระดับหน่วยงานให้เร่งทำแผนงานรองรับให้สอดคล้องกับนโยบาย เพื่อให้เกิดการทำงานจริง ส่วนระดับบุคคลผู้หญิงเองต้องมีความมั่นใจในตัวเอง พัฒนาศักยภาพตัวเอง ดูแลครอบครัวให้ดี และเข้าไปมีบทบาททางเศรษฐกิจและการเมืองให้มากขึ้น
คุณเพ็ญพักตร์ ศรีทอง อดีตสว.จังหวัดอุบลราชธานีตัวแทนสตรีด้านการเมืองการปกครอง เสนอว่าควรมีกฏหมาย พรบ.สตรี กำหนดสัดส่วนผู้หญิงเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองให้ชัดเจน ในสัดส่วนหญิงชาย 1:1โดยเฉพาะการเมืองท้องถิ่นระดับตำบล
คุณชูศรี กตัญญุตานันท์ รองประธานหอการค้าจังหวัดอุบลราชธานี ตัวแทนสตรีด้านเศรษฐกิจ กล่าวว่า เปรียบเทียบเศรษฐกิจการเมืองไทยกับสิงคโปร์ ซึ่งเป็นประเทศที่เจริญก้าวหน้ากว่าประเทศไทย ทั้งที่มีประชากรไม่มาก เพราะไม่มีการทุจริตคอรัปชั่นและรัฐบาลบริหารประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ ด้านการปฏิรูปประเทศในฐานะบทบาทผู้หญิงเมืองอุบล มีข้อเสนอให้รัฐบาลจำกัดนโยบายประชานิยมที่สร้างปัญหาให้กับระบบเศรษฐกิจ ยกตัวอย่างนโยบายประชานิยมที่ล้มเหลวที่ผ่านมา ได้แก่ จำนำข้าว ค่าแรง 300บาท และรถคันแรกคุณดารุณี ชาติน้ำเพชร ครูชำนาญการพิเศษและครูสอนดีท้องถิ่นสสส. ตัวแทนสตรีด้านการศึกษา กล่วว่าตนเองเชื่อว่าการศึกษาดี มีประสิทธิภาพ ปัญหาทุกอย่างจะลดลง เสนอการทำหลักสูตรการเรียนการสอนเพื่อให้ทุกคนมองเห็นสิทธิและคุณค่าของผู้หญิง การสื่อสารสู่สาธารณะอย่างต่อเนื่องเพื่อให้สังคมรับรู้และเข้าใจเรื่องนี้ การจัดทุนการศึกษาสำหรับกลุ่มแม่บ้านเพื่อเพิ่มโอกาสในการพัฒนาตัวเองในเรื่องต่างๆ รวมทั้งผู้หญิงเองต้องหมั่นเรียนรู้ในสิ่งใหม่ๆ เช่น เทคโนโลยี เป็นต้น
ดร.ชมพูนุท โมราชาติ คณบดีบัณฑิตม.ราชภัฏอุบลฯ ให้มุมมองด้านพลังงาน กล่าวว่าตนมีความเป็นห่วงเรื่องพลังงาน ทั้งเรื่องพ.ร.บ.ปิโตรเลียม ที่กรรมาธิการ 13คน เป็นคนของนายทุน มีแค่หญิงแกร่งหนึ่งเดียวที่ทำงานอย่างเป็นอิสระ คือ สว.รสนา รวมทั้งการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่อุบลราชธานี เสนอให้ผู้จัดงาน มูลนิธิพิทักษ์ธรรมชาติเพื่อชีวิตสร้างเครือข่ายผู้หญิงให้กว้างขวางเพื่อให้เกิดอำนาจในการต่อรอง ส่วนผู้หญิงเองต้องตระหนักถึงพลังอำนาจเชิงบวกในตัวเอง มีความตื่นรู้ เรียนรู้ข้อมูลข่าวสารเรื่องพลังงานเพื่อให้รู้เท่าทันคุณสุมนา ศรีชลาชัย ประธานวุฒิอาสาธนาคารสมอง จังหวัดอุบลราชธานี ตัวแทนสตรีด้านอื่นๆ เสนอกฏหมายคุ้มครองสิทธิ์สตรี ที่มีบทบาท ดูแล อบรม สอนทักษะชีวิตให้แก่ลูกๆและคนในครอบครัว รวมทั้งเป็นผู้ที่มีความใฝ่รู้ เรียนรู้ตลอดชีวิต
คุณถนอมศรี ปทุมบาล ทนายความ ตัวแทนสตรีด้านกฎหมาย กล่าวว่า เสนอให้เปลี่ยนพนักงานสอบสวนเป็นผู้หญิง จะทำให้การสอบสวนคดีมีมุมมองที่อ่อนโยน หลากหลายขึ้น
ด้านสื่อสารมวลชน คุณนิชรา บุญตะนัย ผจก.ร่วมด้วยช่วยกัน อุบลราชธานี ปัจจุบันข่าวผู้หญิงที่ปรากฏตามหน้าหนังสือพิมพ์ คือผู้หญิงถูกทำร้าย ถูกสามีตบตี ถูกข่มขืน เป็นส่วนน้อยที่จะเห็นข่าวผู้หญิงในมุมดีๆ หรือมองผู้หญิงมากกว่าการเป็นดอกไม้ ความสวยงาม เสนอผู้หญิงเองควรพัฒนาตัวเองให้มีความรู้ความสามารถ ลุกขึ้นมาทำงานเพื่อช่วยเหลือสังคม ส่วนกฏหมายควรเปิดโอกาสให้ผู้หญิงออกมาทำงานให้มากขึ้น เวที
ด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ภก.กาญจนา มหาพล หัวหน้ากลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภค สสจ.อุบลราชธานี กล่าวว่า ในภาพรวมระดับประเทศผู้หญิงมีมากกว่าผู้ชาย ส่วนในจังหวัดอุบล ผู้ชายมีมากกว่าผู้หญิง และในสสจ.อุบลราชธานี มีบุคลากรผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย งานสาธารณสุขผู้หญิงมามีส่วนร่วมทั้งในระดับชุมชน เช่น อสม. สิ่งที่อยากเสนอคือ ปัจจุบันแผ่นดินอาบยาพิษ เพราะนำเข้าสารเคมีทางการเกษตรในอันดับต้นๆของโลก อยากให้แม่บ้านตระหนักถึงความสำคัญเรื่องนี้ หันมาเป็นแม่บ้านเกษตรอินทรีย์ ซึ่งจะทำให้ปลอดภัยต่อทั้งสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
ทางด้านนายนิมิต สิทธิไตรย์ สปช.อุบลราชธานีได้เขียนลงใน facebook Nimit Sittitrai ว่าสิ่งที่สัญญา กับกลุ่มสตรี ที่เป็นคณะที่ผม เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็นในการมีส่วนร่วม ต่อการปฎิรูปชาติ ถือ เป็นครั้งแรกทีอุบลว่า จะไปเอาโจทย์จากสภา กลับ บ้าน และ จะเอาคำตอบจากบ้านกลับสภา มีผลสำเร็จแล้วครับ เพราะ สภา ให้มี และให้ตั้ง กรรมาธิการวิสามัญ การับฟังและการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยให้ตั้งอนุกรรมการด้านนี้ ทุกจังหวัด และ ยังมี ศูนย์รวบรวมการรับฟัง และ นำเสนอต่อ กรรมาธิการด้านนี้โดยตรง ถือ เป็นคณะแรกที่มีความสมบูรณ์ ด้านหนึ่งในการลงพื้นที่ ทำงาน งานด้านรับฟังและการมีส่วนร่วม......ถือ เป็หัวใจ การงานของ สปชอุบล ให้ความสำคัญอันดับหนึ่ง เพราะ ทุกด้านต้องมาเชื่อม ทำงานด้วยและ สิ่งที่ผมภูมิใจที่สุดคือ จังหวัดอุบล เป็นจังหวัดแรกที่ มีการทำ MOU ระหว่าง สปช กับภาคประชาชน
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit